รัฐบาลยกระดับ COVID-19 เป็นวาระแห่งชาติ อนุมัติมาตรการเยียวยาชุด 3 วงเงินกว่า 1.9 ล้านล้านบาท | Techsauce

รัฐบาลยกระดับ COVID-19 เป็นวาระแห่งชาติ อนุมัติมาตรการเยียวยาชุด 3 วงเงินกว่า 1.9 ล้านล้านบาท

วันนี้ (7 เมษายน 2563)  ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติการยกระดับการแก้ไขปัญหาโรคระบาด COVID-19 เป็น ‘วาระแห่งชาติ’

โยกงบรายจ่ายประจำปี เติมงบกลางแสนล้าน

ปรับ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 โดยตัดงบของหน่วยงายังไม่จำเป็นต้องใช้เงินมาใส่ในงบกลาง คาดว่าจะมีวงเงินประมาณ 80,000 - 100,000 ล้านบาท คาดใช้ได้ช่วงต้นเดือนมิถุนายน

ก.คลังอนุมัติมาตรการดูแลและเยียวยาระยะ 3 วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท

พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อการเยียวยาและดูแลเศรษฐกิจ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น

  • วงเงิน 6 แสนล้านบาท ใช้จัดทำแผนงานด้านสาธารณสุขและแผนงานเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ได้แก่ เยียวยาประชาชนในกลุ่มลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน และผู้ประกอบอาชีพอิสระ 9 ล้านคน ที่เดิมกำหนดไว้จ่ายเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ก็จะมีการต่ออายุเป็น 6 เดือน ถึงเดือนกันยายน 2563 จากวงเงินรวมรายละ 15,000 บาท เพิ่มเป็น 30,000 บาท, เยียวยาเกษตรกร และดูแลด้านสาธารณสุข 
  • วงเงิน 4 แสนล้านบาท ใช้สำหรับแผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม โดยครอบคลุมโครงการดูแลสนับสนุนเศรษฐกิจในพื้นที่ ทั้งสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจชุมชน และสนับสนุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับพื้นที่

พ.ร.ก.ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยออก Soft Loan เพื่อดูแลภาคธุรกิจโดยเฉพาะ  SMEs วงเงิน 5 แสนล้านบาท

  • สินเชื่อใหม่ 5 แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2% สำหรับ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท
  • ธนาคารพาณิชย์ และ SFls พักชำระหนี้(ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย) 6 เดือน ให้ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท

ขยายความเพิ่มเติม

มาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือ SMEs  และดูแลเสถียภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 

มาตรการที่การเลื่อนกำหนดการชำระหนี้สำหรับธุรกิจ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อช่วยให้ SMEs มีสภาพคล่อง

ดยธุรกิจ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ธนาคาร) แต่ละแห่งไม่เกิน 100 ล้านบาท ได้รับสิทธิ์เป็นการทั่วไป ไม่ต้องชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 6 เดือน และในช่วงที่ผ่อนปรนนี้ไม่ถือว่าเสียประวัติข้อมูลเครดิต

ธปท. หวังว่ามาตรการนี้จะช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการ SMEs ทำให้ SMEs มีเงินสดในมือ เพื่อรองรับรายจ่ายจำเป็น โดยเฉพาะค่าจ้างพนักงาน 

มาตรการการสนับสนุนสินเชื่อใหม่ (soft loan) ให้แก่ธุรกิจ SMEs วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษ 2% ต่อปี โดยไม่คิดดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก

โดย ธปท. จะจัดสรร soft loan อัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ให้ธนาคารวงเงินรวม 5 แสนล้านบาท เป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้ธนาคารนำไปให้สินเชื่อแก่ธุรกิจ SMEs ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศ และมีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารแต่ละแห่งไม่เกิน 500 ล้านบาท และมีสถานะผ่อนชำระปกติ หรือค้างชำระไม่เกิน 90 วัน (ยังไม่เป็น NPL) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562

ในช่วง 2 ปีแรก ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษ 2% ต่อปี โดยในช่วง 6 เดือนแรก รัฐบาลจะรับภาระดอกเบี้ยแทนลูกหนี้ ส่งผลให้ลูกหนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ย 

และเพื่อสนับสนุนให้ธนาคารเร่งปล่อยสินเชื่อใหม่ในภาวะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคCOVID-19 ยังมีความไม่แน่นอนสูง รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจะชดเชยความเสียหายบางส่วนให้แก่ธนาคารในส่วนที่ปล่อยกู้เพิ่มเติมด้วย 

สำหรับกรณีที่หนี้กลายเป็นหนี้เสียเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา 2 ปี โดยรัฐบาลจะชดเชยความเสียหายให้ไม่เกิน 70% ของสินเชื่อที่ปล่อยเพิ่มสำหรับลูกหนี้ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 50 ล้านบาท และชดเชยให้ไม่เกิน 60% ของสินเชื่อที่ปล่อยเพิ่มสำหรับลูกหนี้ที่มีวงเงินสินเชื่อ 50-500 ล้านบาท

มาตรการลดเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (สถาบันการเงิน) เพื่อลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ของภาคธุรกิจและประชาชน

ธปท. ปรับลดอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ (Financial Institutions Development Fund: FIDF) จากเดิมอัตรา 0.46% เหลือ 0.23% ของฐานเงินฝาก เป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อให้สถาบันการเงินไปปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มเติมให้กับประชาชนและภาคธุรกิจในทันที

พ.ร.ก.ดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน วงเงิน 4 แสนล้านบาท

ปัจจุบันตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนของไทย มียอดคงค้างประมาณ 3.6 ล้านล้านบาท หรือกว่า 20% ของ GDP

โดยธปท.และกระทรวงการคลังจึงเห็นควรจัดตั้ง "กองทุนเสริมสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน" (Corporate Bond Stabilization Fund: BSF) เพื่อเป็นแหล่งเงินสำรองชั่วคราว (bridge financing) สำหรับเข้าไปซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทที่มีคุณภาพดีที่มีตราสารหนี้ครบกำหนดชำระในช่วงปี 2563–2564

ทั้งนี้ บริษัทที่ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนฯ จะต้องชำระอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราตลาด ต้องระดมทุนส่วนใหญ่ได้จากแหล่งเงินทุนอื่น เช่น การกู้เงินธนาคารพาณิชย์หรือการเพิ่มทุน ต้องมีแผนการจัดหาทุนในระยะยาวที่ชัดเจน รวมทั้งต้องผ่านเกณฑ์และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำกับกองทุนกำหนด ทั้งนี้ หากผู้ออกตราสารหนี้เสนอขายตราสารหนี้ต่อนักลงทุนทั่วไปและมีการให้หลักประกันแก่ผู้ถือ ตราสารหนี้ที่กองทุน BFS จะลงทุนในคราวเดียวกัน ต้องมีหลักประกันไม่ด้อยกว่าหลักประกันที่ให้แก่ผู้ถือตราสารหนี้อื่น



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

3 การเปลี่ยนแปลงสำคัญในวงการ AI จากมุมมอง Andrew Ng ต่อ DeepSeek-R1

DeepSeek-R1 โมเดล AI ใหม่จากจีน กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในแวดวงเทคโนโลยี หลังเปิดตัวในรูปแบบ Open Weight ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนนำไปพัฒนาต่อได้ พร้อมประสิทธิภาพที่เทียบเคียงกับ Ope...

Responsive image

OR แต่งตั้ง 'หม่อมหลวงปีกทอง' เป็น CEO คนใหม่ เดินหน้าปั้นไทยสู่ศูนย์กลางธุรกิจน้ำมันในภูมิภาค

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ประกาศแต่งตั้ง หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) คนใหม่ พร้อมเปิดวิสัยทัศน์ขับเคลื่อนองค์กรผ่าน...

Responsive image

ธปท. ออก 3 มาตรการใหม่ กวาดล้างบัญชีม้า ปิดช่องโหว่ภัยมิจฉาชีพ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เดินหน้ายกระดับมาตรการป้องกันภัยทุจริตทางการเงิน โดยเฉพาะการจัดการบัญชีม้า เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการฉ้อโกงทางการเงิน...