การบินไทยเข้าศาลล้มละลาย ครม. อนุมัติให้ ยื่นขอฟื้นฟูกิจการ พร้อมพ้นสภาพรัฐวิสาหกิจ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะรับมนตรีมีมติเห็นชอบให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย โดยการยื่นขอฟื้นฟูกิจการจะดำเนินการทั้งศาลล้มละลายไทยและศาลล้มละลายสหรัฐ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ

พร้อมกันนี้ได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลังลดสัดส่วนการถือหุ้นให้ต่ำกว่า 50% และมีสภาพพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ

การบินไทย

โดยมีรายละเอียดแผนการฟื้นฟูกิจการดังนี้ 

เริ่มจากการให้การบินไทยพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ 

กระทรวงการคลังจะต้องขายหุ้นการบินไทย 3% ให้กองทุนวายุภักดิ์ เพื่อเป็นการลดสัดส่วนการถือหุ้นให้เหลือเพียง 47% จากเดิมกระทรวงการคลังถือหุ้นการบินไทยรวม 1,113.93 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 51.03% 

การบินไทยจะต้องปรับโครงสร้างการบริหาร โดยให้กรรมการลาออกจนเหลือ 3 คน 

ตอนนี้ยังไม่ได้มีการกำหนดว่าจะคงใครไว้ หรือจะเลือกใครใส่เข้าไปใหม่ แต่มีข่าวออกมาว่าที่วางตัวไว้มี 3  คนที่จะสามารถเข้าไปนั่งบอร์ดได้ คือ คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช อดีตซีอีโอ ปตท. คุณชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และคุณจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ และอดีต ดีดีการบินไทย

การบินไทยต้องร้องขอต่อศาลล้มละลายเพื่อขอฟื้นฟูกิจการ 

เมื่อศาลรับฟื้นฟูกิจการ หนี้ของการบินไทยจะผิดนัดชำระหนี้ทันที ดังนั้นทีมบริหารจะต้องดูแลในส่วนนี้ โดยอาจะต้องมีการยืดหนี้ออกไป จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มให้กับเจ้าหนี้ โดยเฉพาะในส่วนหนี้สหกรณ์

เลิกคิดเรื่องที่ต้องการให้ การบินไทย เป็น Holding Company 

เพราะหลังจากนี้ธุรกิจในเครือทั้งหมดจะถูกยกเลิกการตัดขายออกไป

เดินเรื่องคู่ขนานกับศาลไทยและศาลอเมริกา เพื่อดูแลเจ้าหนี้ต่างประเทศ 

โดยศาลอเมริกาจะต้องใช้ Chapter 11 ตามกฎหมายล้มละลายของสหรัฐ เพราะการบินไทยต้องดำเนินกิจการต่อไป หากบินไปในต่างประเทศอาจจะโดนยึดเครื่องบินไทย รวมทั้งการดูแลเจ้าหนี้ลิสซิ่งเครื่องบินด้วย ซึ่งมีสหรัฐ อังกฤษ และเยอรมัน เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่

การบินไทยแจงยังประกอบธุรกิจตามปกติแม้เข้าศาลล้มละลาย

คุณจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองประธานกรรมการคนที่ 2 รักษาการแทนกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) เปิดเผยผ่านทาง Facebook Fanpage ของการบินไทยว่า ในวันนี้ (วันที่ 19 พฤษภาคม 2563) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ดําเนินการตามแผนฟื้นฟูธุรกิจภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการของศาลล้มละลายกลาง โดยให้บริษัทฯ ดําเนินกิจการตามปกติ

การเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการแม้จะเป็นการดําเนินการภายใต้พระราชบัญญัติล้มละลาย แต่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการเลิกหรือชําระบัญชีบริษัทฯ หรือไม่ได้มุ่งหมายให้บริษัทฯ ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลายแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม การเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้กฎหมายในครั้งนี้ จะส่งผลให้บริษัทฯ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนฟื้นฟูธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพตามขั้นตอนต่างๆ ซึ่งมีกฎหมายรองรับและให้ความคุ้มครองอย่างเป็นธรรมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งบริษัทฯ ยังสามารถประกอบธุรกิจปกติต่อไปได้ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการขนส่งผู้โดยสารไปยังจุดหมายปลายทางของการบินไทยทั่วโลก หรือการขนส่งสินค้าไปรษณียภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะดําเนินการควบคู่ไปกับการฟื้นฟูองค์กรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการดําเนินงานและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

อนึ่ง ท่านผู้โดยสารที่ถือบัตรโดยสารการบินไทยยังคงสามารถใช้เดินทางได้ต่อไป หากท่านต้องการเปลี่ยนแปลงด้านบัตรโดยสารสามารถดําเนินการผ่านเว็บไซต์ thaiairways.com หรือติดต่อได้ที่ THAI Contact Center โทร.02-356-1111

อ้างอิงข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำไมดุสิตธานีขาดทุน 5 ปี เปิดเบื้องหลังที่คนไม่รู้ กับแผนยอมเจ็บเพื่อ Reset ธุรกิจ

เปิดเบื้องหลัง 5 ปีที่ดุสิตธานีขาดทุนและไม่จ่ายปันผล กับแผนรีเซตองค์กรครั้งใหญ่ สู่การเติบโตระยะยาวผ่านโครงการ Dusit Central Park และกลยุทธ์กระจายความเสี่ยง...

Responsive image

เทคโนโลยีใหม่! แค่ตรวจเลือดก็รู้ผลอัลไซเมอร์ได้แบบไม่ต้องสแกน

การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์อาจไม่ต้องพึ่ง PET scan หรือการเจาะน้ำไขสันหลังอีกต่อไป! เพราะตอนนี้มีการตรวจเลือดแบบใหม่ ที่ใช้วัดสัดส่วนของโปรตีนในเลือด ที่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยมีแนวโน้...

Responsive image

งานเข้า! งานวิจัย Stanford ชี้ Chatbot 'นักบำบัด' ไม่ได้ฮีลใจ แต่กำลังพาไปสู่หายนะ

ผู้คนหันมาใช้ Chatbot เป็น 'นักบำบัด' มากขึ้น แต่เทคโนโลยีพร้อมสำหรับบทบาทนี้แล้วหรือยัง? งานวิจัยล่าสุดจาก Stanford ฟันธงว่า 'ยังไม่พร้อมอย่างสิ้นเชิง' สำหรับความรับผิดชอบนี้...