ฟังคำตอบจากผู้สร้างระบบ ‘เราไม่ทิ้งกัน’ ลงทะเบียนรับเงิน 5,000 บาท ใช้ AI คัดกรองจริงหรือ ? | Techsauce

ฟังคำตอบจากผู้สร้างระบบ ‘เราไม่ทิ้งกัน’ ลงทะเบียนรับเงิน 5,000 บาท ใช้ AI คัดกรองจริงหรือ ?

หลังจากที่มีการเปิดให้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ผ่านทางเว็บไซต์เราไม่ทิ้งกัน ตั้งแต่วันที่  28 มีนาคมที่ผ่านมา และมีผู้ได้รับเงินเยียวยาครั้งแรกในวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมาวันแรก ได้เกิดปัญหาขึ้นหลายอย่าง และประชาชนได้เกิดการตั้งข้อสงสัยถึงความแม่นยำของระบบคัดกรองว่ามีการใช้ AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ จริงหรือไม่ อย่างไร  ?

Techsauce จึงได้มีการติดต่อคุณสมคิด จิรานันตรัตน์ ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในเบื้องหลังของผู้สร้างเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน มาพูดคุยกันสดๆ  ผ่านทาง Techsauce Live โดยคุณสมคิดได้เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า "คำนิยามว่า AI  มันกว้างมาก เมื่อก่อนเป็นการนิยามว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีแทนคน แต่ในตอนนี้มันพัฒนาไปไกลถึงการทำ Machine Learning หรือ Deep Learning แล้ว แต่ในกรณีเราไม่ทิ้งกัน ทางทีมไม่สามารถใช้ Machine Learning หรือ Deep Learning ได้ เพราะต้องใช้ข้อมูลมหาศาล จึงใช้ AI แบบขั้นพื้นฐาน อีกทั้งจาการที่คนอาจจะคาดหวังเมื่อได้ยินคำว่า AI ซึ่งจะต้องฉลาดมาก แต่ในกรณีนี้ทางทีมไม่ได้ให้ AI นั้นคิดเอง ต้องมีคนกำหนดและป้อนข้อมูลให้ คือการใช้ AI แบบเบสิค"

ขณะที่ระบบการคัดกรอง ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่กลายเป็นปัญหาที่มีการพูดถึงนั้น ข้อมูลมีความซับซ้อนในหลายด้าน เช่น เรื่องอาชีพ ซึ่งในบางอาชีพพิสูจน์และตรวจสอบได้ แต่ในบางอาชีพพิสูจน์ไม่ได้ และยังมีบางส่วนที่เป็น Negative List คือคนที่อยู่ในลิสต์เกษตรกร นักศึกษา และประกันสังคม โดยข้อมูลที่ใช้จะมี 2 ส่วน คือข้อมูลที่ประชาชนระบุมา และข้อมูลฐาน Negative List ของภาครัฐ เมื่อตรวจสอบแล้วตกอยู่ในฐาน Negative List ก็ต้องไปตรวจสอบอีกที อาจจะมีการขอข้อมูลเพิ่มเติม และประชาชนก็สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ โดยไม่มีปัญหาว่าจะถูกตัดสิทธิ์ถาวร เพราะจะมีรอบให้ยื่นอุทธรณ์อีกเรื่อย ๆ

คุณสมคิดกล่าวต่อไปว่า ปัญหาเลขบัตรประชาชนนั้นหลากหลายมาก ๆ เช่น บัตรประชาชนเคยถูกแจ้งว่าหาย, ไม่ใช่ใบล่าสุด, มีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล และสะกดไม่ถูก ซึ่งอาจจะทำให้ข้อมูลนั้นผิดพลาดได้ ซึ่งหลังจากได้ชี้แจงกับประชาชนไปบ้างแล้วข้อผิดพลาดนี้ก็ลดลงค่อนข้างมาก

ขณะเดียวกันปัญหาในส่วนของเลขบัญชีสลับ คือประชาชนจะต้องตรวจสอบชื่อบัญชีจะต้องตรงกับชื่อลงทะเบียน โดยประชาชนควรตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งประชาชนสามารถเข้าไปเปลี่ยนเลขบัญชีได้แต่ก็ต้องตามเงื่อนไขเดิมคือ หนึ่ง ชื่อบัญชีนั้นต้องตรงกับชื่อผู้ลงทะเบียน และสอง คือผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนกับบัตรประชาชน

สำหรับกรณีที่มีกระแสการโพสต์จากประชาชนที่ได้รับเงินเยียวที่แสดงการสื่อสารออกมาไปในแนวทางที่ทำให้หลายฝ่ายเกิดความสับสนนั้น  โดยเฉพาะกรณีการระบุอาชีพซึ่งเป็นเรื่องที่อ่อนไหวและตรวจสอบได้ยากมาก เช่น อาชีพอิสระ แต่ถ้าสิ่งที่เขาลงทะเบียนมามันเป็นไปตามเงื่อนไขที่ภาครัฐกำหนดเขาก็ควรจะได้รับสิทธินั้น แต่ถ้าจะไปดูจริง ๆ ว่าแต่ละคนนั้นมีความลำบากหรือไม่ลำบากจริง ๆ ก็คงเป็นเรื่องยากที่จะทำ

คุณสมคิดกล่าวทิ้งท้ายว่า อย่างไรก็ตาม เป้าหมายหลักของโครงการ เราไม่ทิ้งกัน ก็คือภาครัฐมีความประสงค์ที่จะช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และจัดการให้เงินช่วยเหลือไปถึงคนที่เดือดร้อนให้ได้มากที่สุด

สามารถติดตามฟังการสัมภาษณ์สดฉบับเต็มได้ที่ Techsauce Live

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

10 Tech Event ในเอเชีย ที่สายเทคฯ ธุรกิจ ไม่ควรพลาด ปี 2024

เพราะเทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง องค์กรจึงต้องหมั่นอัปเดตเทรนด์ความรู้ใหม่ ๆ วันนี้ Techsauce คัดสรร 10 งานประชุมเทคโนโลยีระดับเอเชีย ที่สายเทคไม่ควรพลาดในปี 2024 รวมไว้ในบทความเดียวก...

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

เปิดตัว Meta AI ใหม่ ถามได้ทุกเรื่อง สร้างภาพได้ทุกอย่าง ใช้ได้ทุกแอปฯ​ โซเชียลของ Meta

สำหรับ Meta AI เป็นแชทบอทที่เคยเปิดตัวให้เห็นครั้งแรกในงาน Connect 2023 ขับเคลื่อนด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) อย่าง Llama 2 แต่ล่าสุดได้มีการอัปเกรดไปใช้โมเดลภาษาใหม่ Llama 3...