Grab ประเทศไทย เผยวิสัยทัศน์ตั้งเป้าเป็น One App Stop บน Platform ที่ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้และ Partner เชื่อมทุกไลฟ์สไตล์ให้ไร้รอยต่อ Grab Food และร่วมผลักดัน Cashless Society ในประเทศไทยผ่านระบบชำระเงิน Grab Pay เร็วๆ นี้
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา Grab ได้เชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมฟังวิสัยทัศน์และแนวทางในอนาคตโดยมีคุณธนินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ Grab ประเทศไทยเป็นผู้แถลง ซึ่ง Grab ได้เล่าถึงแนวทางการสร้างอนาคตของสังคมแบบไร้รอยต่อ รวมเอาบริการด้านคมนาคม ขนส่งทั้งสิ่งของและอาหาร ไปจนถึงบริการด้านการเงินเข้ามาอยู่ในที่เดียว
Grab เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2012 มียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นราว 95 ล้านครั้ง และมียอดการใช้งานสูงถึง 6 ล้านครั้งต่อวันใน 8 ประเทศ นอกจากนี้ ยังมีผู้ประกอบการที่ให้บริการบน Platform ของ Grab ซึ่งเรียกว่า Partner ประกอบด้วยทั้งผู้ขับขี่และร้านอาหารราว 6 ล้านผู้ใช้
ส่วนสถานการณ์ในไทยตั้งแต่เปิดตัวเมื่อเดือนตุลาคม 2013 ได้ขยายการให้บริการไปแล้ว 16 เมือง มีพนักงานราว 400 คน ซึ่งเป็นคนไทยถึง 95.5 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงสายงานที่ต้องการทักษะสูงอย่าง Data Science ด้วย
นอกจากนี้ เพื่อรองรับบริการใหม่ๆ Grab ประเทศไทยจะเปิดตัวโฉมใหม่ของแอปพลิเคชั่นในวันที่ 21 พฤษภาคมนี้
Grab ประเทศไทยได้ทดลองให้บริการ Grab Food ในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2017 ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับอาหารอย่างรวดเร็วและ Partner มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยปัจจุบัน Grab Food มีร้านอาหารในเครือข่ายราว 4,000 แห่ง และมียอดผู้ใช้เพิ่มขึ้นจากเมื่อต้นปี 2018 ถึงปัจจุบันราว 4.5 เท่า โดยมีคุณสมบัติการใช้งานดังนี้
ในอนาคต Grab Food จะรองรับระบบ Grab Pay และมีแอปพลิเคชั่นสำหรับร้านอาหารโดยเฉพาะ ซึ่งร้านสามารถส่งข้อมูลรายละเอียดอาหารหรือแจ้งบริการต่างๆ ด้วยตัวเองได้ ทั้งนี้ Grab Food จะเปิดให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้
จากการสอบถามผู้บริโภคถึงสิ่งที่อยากได้จาก Grab ในอนาคต 10 ปีข้างหน้า เสียงส่วนใหญ่ต่างตอบว่าต้องการให้ Grab เป็นแอปพลิเคชั่นที่ให้บริการเบ็ดเสร็จสำหรับชีวิตประจำวัน จึงทำให้ Grab ตั้งใจพัฒนา Platform รองรับบริการที่หลากหลายเพื่อให้เป็น Everyday App for Everyone ซึ่งยกระดับผู้บริโภคผ่านเทคโนโลยี กลายเป็น Platform O2O (Online to Offline) ที่แข็งแรง
จากวิสัยทัศน์ข้างต้น ผู้บริโภคและ Partner อันได้แก่ผู้ขับขี่ ผู้ส่งสินค้า และร้านอาหาร จะได้รับประโยชน์จากบริการเหล่านี้ดังนี้
นอกจากเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งแล้ว Grab ยังมีขยายบริการไปยังด้านการเงินเพื่อให้ Platform ของตัวเองแข็งแรงขึ้น ทั้งสองบริการนี้เตรียมจะให้บริการที่ประเทศไทยในอนาคต โดยประกอบด้วย
ไม่เพียงแต่การสร้าง Platform เพื่อให้เกิด Ecosystem ที่สมบูรณ์สำหรับการใช้งานเท่านั้น แต่ Grab ยังเล็งถึงการเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเมือง โดยพร้อมจะให้การร่วมมือกับภาครัฐฯ เพื่อให้ข้อมูลด้าน Traffic Data ช่วยจัดระบบคมนาคมในแต่ละเมือง อีกทั้ง Grab Pay ยังส่งเสริมให้เกิด Cashelss Society ด้วย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด