Grab Financial Group กลุ่มธุรกิจด้านการเงินของ Grab ผู้นำด้านซูเปอร์แอปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในปี 2563 พร้อมมุ่งสู่การเป็นผู้ให้บริการ FinTech เต็มรูปแบบชั้นนำของไทย ผ่านการสนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนในประเทศ โดยหลังจากแกร็บเพย์ วอลเล็ต ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี แกร็บเดินหน้าให้บริการสินเชื่อผ่านแอปแก่พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ และสินเชื่อ SMEs แก่ผู้ประกอบการรายย่อย ตั้งเป้ายอดสินเชื่อใหม่ 3,000 ล้านบาท และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยกว่า 100,000 ครัวเรือน ผ่านบริการทางการเงินที่เข้าถึงได้และตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริงนายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า “แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาฟินเทคโซลูชันครบวงจร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย พร้อมตอบสนองวิสัยทัศน์ของแกร็บในการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันด้วยเทคโนโลยี ในปี 2562ที่ผ่านมา เราได้เปิดให้บริการ แกร็บเพย์ วอลเล็ต ในประเทศไทย เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยในการชำระเงินบน อีโคซิสเต็มของแกร็บ โดยยอดการใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า ภายใน 6 เดือนแรกที่เปิดตัว ส่งผลให้ปริมาณธุรกรรมบนแอปพลิเคชันกว่าครึ่งหนึ่งเป็นการชำระเงินแบบไร้เงินสด”
ในปี 2563 แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป จะเดินหน้านำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้และพาร์ทเนอร์อย่างเต็มรูปแบบยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และผลิตภัณฑ์ประกันที่เข้าถึงไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ โดยมีระบบการชำระเงินของแกร็บเพย์ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน
แกร็บ ไฟแนนซ์ ธุรกิจสินเชื่อภายใต้แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ถือเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลแบบครบวงจรรายแรกในประเทศไทยที่ใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อน รวมถึงออกแบบโมเดลวิเคราะห์เครดิต และได้รับใบอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลัง โซลูชันของแกร็บ ไฟแนนซ์ ซึ่งได้มีการทดลองให้บริการไปในช่วงปลายปี 2562 และดำเนินงานโดยบริษัท จีฟิน เซอร์วิสเซส (ที) จำกัด มีทั้งหมด 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่
นายวรฉัตร กล่าวเสริมว่า “พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ของแกร็บถือเป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยที่มักพบกับความ ยากลำบากในการเข้าถึงบริการทางการเงิน เนื่องจากไม่มีหลักฐานรับรองรายได้ที่เป็นทางการ และแผนการผ่อนชำระแบบรายเดือนทั่วไปก็ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนกลุ่มนี้ เพื่อเติมเต็มความต้องการดังกล่าว แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป จึงใช้ประโยชน์จากทั้งหลักฐานทางการเงิน และข้อมูลเชิงพฤติกรรมจากแพลตฟอร์มของแกร็บ เช่น ประวัติการขับรถ และเรตติ้งจากผู้โดยสาร ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการชำระเงินเช่นกัน การผสมผสานระหว่างโมเดลเครดิตรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่นี้ทำให้เราสามารถวิเคราะห์คุณสมบัติของพาร์ทเนอร์ได้อย่างแม่นยำ และช่วยให้พวกเขามีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้นได้ ยิ่งไปกว่านั้น เรายังออกแบบแผนการผ่อนชำระแบบรายวัน เพื่อสนับสนุนให้พาร์ทเนอร์มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นอีกด้วย”
นอกจากนี้ แกร็บ ไฟแนนซ์ ยังนำเสนอสินเชื่อ SMEs แก่ผู้ประกอบการรายย่อย ผ่านกระบวนการดิจิทัลเต็มรูปแบบ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ลูกค้ายื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์ โดยเริ่มให้บริการสินเชื่อแก่พาร์ทเนอร์ร้านค้าที่มี อัตราการเติบโตรวดเร็ว ก่อนจะนำเสนอโซลูชันสินเชื่อรูปแบบอื่นๆ ให้แก่ธุรกิจขนาดเล็กทั่วไปในอนาคต
“ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อม ควบคู่ไปกับแผนการขยายฐานการให้บริการของแกร็บจาก 20 จังหวัดเป็น 30 จังหวัดภายในปี 2563 เราจึงตั้งเป้ายอดสินเชื่อใหม่ทั้งหมดของแกร็บ ไฟแนนซ์ ไว้ที่ 3,000 ล้านบาท พร้อมส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการรายย่อยของไทยกว่า 100,000 ครัวเรือน เราเชื่อมั่นว่าฟินเทคโซลูชันครบวงจรของแกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป จะไม่เพียงแค่เติมเต็มอีโคซิสเต็มของแกร็บให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ยังเป็นอีกแรงขับเคลื่อนในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยผ่านการเข้าถึงบริการทางการเงินอีกด้วย”นายวรฉัตร กล่าวสรุป
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด