Grab Food วิสัยทัศน์พร้อมพัฒนาระบบให้ตอบรับผู้ใช้ยุคใหม่เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้บริการ | Techsauce

Grab Food วิสัยทัศน์พร้อมพัฒนาระบบให้ตอบรับผู้ใช้ยุคใหม่เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้บริการ

Grab สร้างสรรค์และพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดประสงค์เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้บริการเมื่อพวกเขาค้นหา สั่งซื้อและรอให้อาหารมาถึง โดยสิ่งที่เราคำนึงถึง เมื่อพัฒนาเทคโนโลยีในการจัดส่งอาหาร ได้แก่

  1. ออกแบบระบบที่สามารถปรับให้เข้ากับแต่ละท้องถิ่นได้ง่าย (Enable localisation at scale)
  2. สร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้บริโภคและสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนแก่ธุรกิจของพาร์ทเนอร์ (Delight eaters and drive sustainable demand for our merchant-partners)
  3. รักษามาตรฐานของประสบการณ์ของผู้บริโภค ในช่วงเวลาที่มีคนขับไม่เพียงพอ และมีจำนวนสั่งอาหารที่มาก (Protect eater experiences in crunch time)

การปรับโฮมเพจ Grab Food ให้เข้ากับแต่ละประเทศ    

  • ทีมในแต่ละประเทศมีความสามารถในการปรับแต่งส่วนต่างๆในโฮมเพจของ Grab Food เพื่อเน้นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้บริการในแต่ละตลาด โดยพิจารณาจากรูปแบบการบริโภคที่มาจากพฤติกรรมการสั่งซื้อ
  • การแสดงผลบนโฮมเพจที่แต่ละประเทศสามารถปรับแต่งได้ ได้แก่ การปรับคอนเทนต์บนแบนเนอร์ การจัดหมวดหมู่ และตัวเลือกแบบ Carousel

การนำเสนอตัวเลือกในการสั่งอาหารที่เหมาะสม  

ในกรณีที่ร้านอาหาร หรือเมนูอาหารที่ผู้ใช้งานค้นหามีน้อยกว่า 4 ตัวเลือก แอปพลิเคชันจะค้นหาตัวเลือกเพิ่มเติมจาก คีย์เวิร์ด ที่คล้ายคลึงกันในหมวดเดียวกัน ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับการพัฒนามาแมชชีนเลิร์นนิ่ง

 หลักเกณฑ์ในการจัดอันดับตัวเลือกอาหาร 

  • แอปพลิเคชัน Grab Food สามารถให้คำแนะนำอาหารที่เหมาะสม โดยอ้างอิงจากความชอบส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ 
  • หลักเกณฑ์ในการจัดอันดับตัวเลือกอาหารที่แนะนำให้แก่ผู้ใช้บริการประกอบไปด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 1.ปัจจัยทั่วไป เช่น ความนิยมของร้านอาหาร, การคำนวณเวลาที่ออเดอร์จะมาถึงมือ (Estimated Time of Arrival: ETA), ปริมาณคนขับที่พร้อมรับงาน ณ เวลาที่กดสั่งอาหาร ฯลฯ , 2. ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น ประวัติการสั่งและค้นหาเมนูอาหาร (เช่น ชนิดอาหาร / งบประมาณ / ตัวเลือกอาหารที่ชอบ)
  • ร้านค้าที่ตรงกับโปรไฟล์ของคุณมากที่สุดจะปรากฏเป็นอันดับแรก

การนำเสนอตัวเลือกอาหารแบบเรียลไทม์     

  • ตัวเลือก ‘แนะนำสำหรับคุณ’ ในหน้าแรกของแอปพลิเคชัน Grab Food สามารถนำเสนอตัวเลือกอาหารให้แก่ผู้ใช้บริการได้แบบเรียลไทม์ จากรูปแบบการค้นหา ยกตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ใช้บริการค้นหาร้านอาหาร Fast-Food ระบบจะทำการอัพเดทตัวเลือกร้านอาหาร/เมนูอาหารให้แสดงผล เป็นตัวเลือกร้านอาหาร Fast Food ที่ใกล้เคียงกันแทบจะในทันที 
  • การสั่งอาหาร: ตัวเลือกการสั่งซื้อหลายรายการ ด้วยเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร้านค้า สำหรับลูกค้า ปัจจุบันเรามีรูปแบบการสั่งอาหารทั้งหมด 5 รูปแบบในแอปพลิเคชัน: 
  • สำหรับพาร์ทเนอร์ร้านค้า เราพัฒนาระบบเทคโนโลยีหลังบ้าน เพื่อทำให้ประสิทธิภาพการรับงานดียิ่งขึ้น:

แพลตฟอร์มการรับออเดอร์    

เพื่ออำนวยความสะดวกในการรับคำสั่งอาหาร ทีมงานได้พัฒนาแพลตฟอร์มการรับออเดอร์ ซึ่งเชื่อมต่อระบบมากกว่า 10 ระบบ

สิ่งที่แพลตฟอร์มนี้ทำได้คือ

  • ร้านอาหารจะสามารถเห็นรูปแบบของการสั่งอาหารของลูกค้าทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของออนดีมานด์ การรับอาหารด้วยตัวเอง การสั่งอาหารล่วงหน้า การสั่งอาหารแบบกลุ่ม และมิกซ์แอนด์แมตช์ 
  • ร้านค้าสามารถอัปเดตข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง เช่น สินค้าหมด หรือมีการเปลี่ยนแปลงของเวลาทำการของร้านค้า
  • เสริมเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ไว้ในแอปพลิเคชั่น GrabMarchant สำหรับร้านค้า เพื่อให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้า และจัดแคมเปญที่เหมาะสม
  • เสริมเครื่องมือแบบ Open Platform เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และทำให้กระบวนการเชื่อมต่อให้ราบรื่นมากที่สุด

การเชื่อมต่อระบบ ณ จุดขาย (POS)      

ตัวอย่างของเครื่องมือแบบ Open Platform ที่ Grab  พัฒนาขึ้นมา ได้แก่ การเชื่อมต่อระบบ ณ จุดขายของพาร์ทเนอร์ร้านค้า ให้เข้ากับระบบของ GrabMerchant อย่างไร้รอยต่อ 

  • ก่อนหน้าการเชื่อมต่อระบบ ณ จุดขาย พนักงานร้านอาหาร จะทำการใส่ข้อมูลออเดอร์ Grab Food จากแอปพลิเคชัน GrabMerchant เข้าไปยังระบบ ณ จุดขายที่ร้านอาหารด้วยตนเอง
  • ด้วยการเชื่อมต่อระบบ ออเดอร์อาหารจาก Grab Food จะถูกส่งตรงไปยังระบบ ณ จุดขายของร้านอาหาร และส่งต่อเข้าไปในครัว  และเมื่อใดก็ตามที่ร้านค้าอัปเดตสถานะเมนูในระบบ ณ จุดขาย จะมีการแสดงผลบนแอปพลิเคชัน Grab Food ในทันที 
  • ฟีเจอร์นี้ทำให้ร้านอาหาร สามารถจัดการออเดอร์ได้ภายในระบบเดียว อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มความแม่นยำในการทำงานได้อีกด้วย
  • เพื่อส่งเสริมและเปิดให้พาร์ทเนอร์ร้านอาหรสามารถรวมระบบ ณ จุดขาย เข้ากับ GrabMerchant ทีมงานยังได้มีการพัฒนาระบบแบบ Self-Serve ที่ให้คำแนะนำการใช้งานระบบทีละขั้นตอน การทดสอบและแก้ไขจุดบกพร่อง เพื่อช่วยให้ร้านค้าสามารถตั้งค่าการเชื่อมต่อระบบ ณ จุดขายได้ด้วยตนอง 
  • ทีมงานพร้อมให้การช่วยเหลือพาร์ทเนอร์ร้านค้า เมื่อประสบปัญหาทางเทคนิค

การรอ: เวลาการเตรียมอาหารและปริมาณคนขับ

เวลาการเตรียมอาหาร (On-Time Preparation)    

  • การประเมินเวลาในการเตรียมอาหารที่แม่นยำมีความสำคัญต่อการคำนวณเวลาที่ออเดอร์จะมาถึงมือผู้สั่ง (ETA: estimated time of arrival)
  • โดยเฉลี่ยแล้ว คนขับมักใช้เวลารออาหารที่ร้านประมาณ 6-11 นาที เพื่อให้ร้านอาหารเตรียมอาหารเสร็จ
  • เนื่องจากพฤติกรรมการเตรียมอาหารของร้านมักแตกต่างกันไปในแต่ละตลาด Grab จึงได้ทดสอบฟีเจอร์หลากหลายรูปแบบเพื่อกระตุ้นให้ร้านจัดเตรียมอาหารให้ทันเวลา และเพื่อลดเวลาที่คนขับต้องรอที่ร้านอาหาร

เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานของคนขับ

 - ระบบงานแบบหลายคำสั่งซื้อ (Batching)    

  • ระบบ batching จะทำการจ่ายออเดอร์ 2 คำสั่งซื้อหรือมากกว่าให้แก่คนขับ 1 คน โดยมีเงื่อนไขว่า คำสั่งซื้อสั่งนั้นๆ ต้องมีจุดรับ (pick-up) ใกล้เคียงกัน หรือมีจุดส่ง (drop-off) ใกล้เคียงกัน With 
  • ระบบ batching พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของคนขับ โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วนและในช่วงเวลาที่มีปริมาณคนขับไม่เพียงพอ เช่น เมื่อมีฝนตกหนักในช่วงมื้อเย็น

– การลดรัศมีการส่ง

  • ในช่วงเวลา crunch time หรือเวลาที่มียอดออเดอร์จำนวนมาก หรือมีจำนวนคนขับในพื้นที่ไม่เพียงพอ ผู้ใช้บริการอาจต้องรออาหารเป็นระยะเวลานาน รวมถึงยังมีโอกาสสูงขึ้นที่ร้านอาหารจะกดยกเลิกออเดอร์ เนื่องจากมีปริมาณงานล้นมือแล้ว
  • เมื่ออัตราการจ่ายงานแก่คนขับ (driver allocation rate) และอัตราการจบงานของคนขับ (order completion rate) ลดต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ ระบบจะค่อยๆ ปรับลดรัศมีการส่งงานโดยอัตโนมัติ
  • ระบบนี้จะรวมคนขับให้มาอยู่ในรัศมีพื้นที่ที่แคบลง เพื่อเพิ่มอัตราการจบงาน
  • ระบบจะเปิดอยู่จนกว่าอัตราการจบงานจะกลับมาอยู่ในระดับปกติ และเมื่อมีจำนวนคนขับเพิ่มขึ้นในพื้นที่นั้นๆ 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...