แม้ว่าปี 2565 แกร็บ ประเทศไทย (Grab Thailand) ยังคงขาดทุน แต่บริษัทกลับประสบความสำเร็จในด้านสัดส่วนการใช้บริการที่เติบโตอย่างมากและมีลูกค้าที่กลับมาใช้บริการซ้ำเพิ่มขึ้น รวมถึงการมียอดการใช้จ่ายต่อครั้งเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น บริการเรียกรถ ที่มีอัตราการเรียกรถผ่านแอปในกลุ่มนักท่องเที่ยว เพิ่มสูงขึ้นกว่า 152% ในปี 2565 เมื่อเทียบกับปี 2564 บริการเดลิเวอรี ที่มียอดการสั่งซื้อผ่านบริการเดลิเวอรีของแกร็บในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เติบโตกว่า 15% ในปี 2565 เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยปัจจัยสำคัญคือ แกร็บนำเสนอบริการที่หลากหลายและแต่ละบริการยังสามารถเสริมศักยภาพของกันและกันเป็นอีโคซิมเต็ม จึงเพิ่มความแข็งแกร่งให้ซูเปอร์แอป พร้อมกับทำให้ผู้บริโภคมีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Loyalty) มากยิ่งขึ้น
มาในปี 2566 แกร็บ ประเทศไทย ตั้งเป้าก้าวข้ามภาวะขาดทุน ภายใต้แนวคิด “Building Sustainable Growth through Innovation” หรือ สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยนวัตกรรม โดย นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย ชู 2 กลยุทธ์หลักในการขับเคลื่อนองค์กร นั่นคือ Power of Superapp และ Operational Efficiency โดยมี 4 ธุรกิจที่เป็นเสาหลักสร้างรายได้ให้แกร็บ ได้แก่
หลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง นายวรฉัตรเผยว่า เห็นสัญญาณบวกและแนวโน้มการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในทุกธุรกิจของแกร็บในประเทศไทย ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้* โดยเฉพาะบริการขนส่งและบริการส่งอาหารออนไลน์ ที่ยังคงมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
"ไม่ว่าจะเป็น บริการการเดินทาง ซึ่งในปีที่ผ่านมาแกร็บได้รับการรับรองแอปพลิเคชันจากกรมการขนส่งทางบก ส่งผลต่อยอดใช้บริการที่กลับมามากกว่าช่วงก่อนโควิด และหลังจากที่มีการเปิดประเทศ ยอดใช้บริการการเดินทางในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติก็พุ่งขึ้นถึง 152%**
"ขณะที่ บริการเดลิเวอรี ยังคงได้รับความนิยมและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้สถานการณ์โควิดจะดีขึ้นตามลำดับ แต่พฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปเนื่องจากมีความคุ้นชินกับการสั่งอาหารรวมถึงสินค้าหรือของใช้แบบออนดีมานด์ ทั้ง บริการแกร็บฟู้ด ที่ยังคงเติบโต โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัด ซึ่งในปีที่ผ่านมาเติบโตสูงกว่าในกรุงเทพฯ ถึง 3 เท่า*** และ บริการแกร็บมาร์ท ซึ่งเทรนด์การสั่งสินค้าประเภทของสดยังคงเติบโต โดยมีสัดส่วนเป็น 1 ใน 3 ของสินค้าทั้งหมด
ทุกคนยังเห็นตรงกันว่า Food Delivery จะยังโตต่อไปในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยจะโตจาก 17 พันล้านดอลลาร์ ไปเป็น 24 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2025 ที่สำคัญ เรามองว่า 'Quick Commerce' จะโตเร็วกว่า e-Commerce ซึ่งจะเข้ามาเสริมศักยภาพบริการจัดส่งของแกร็บให้มากขึ้นไปอีก
และในส่วนของ บริการทางเงิน แกร็บออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ที่มุ่งให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในอีโคซิสเต็ม อาทิ บริการสินเชื่อรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับพาร์ทเนอร์คนขับ เพื่อเป็นช่องทางในการหารายได้ในแบบที่ช่วยรักษ์โลก และบริการ PayLater เพื่อเพิ่มทางเลือกในการบริหารจัดการด้านการเงินให้กับผู้ใช้บริการ
หลังจากดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาเป็นเวลา 10 ปี แกร็บยังคงเดินหน้าสานต่อพันธกิจ GrabForGood เพื่อมุ่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยในปี 2566 นี้ นายวรวัฒน์กล่าวย้ำว่า แกร็บมุ่งเน้นไปที่ 2 กลยุทธ์สำคัญ นั่นคือ Power of Superapp ที่มุ่งผสานความร่วมมือและการทำงานของทุกธุรกิจในอีโคซิสเต็มของแกร็บให้เกิด Synergy และเอื้อประโยชน์ต่อกัน และ Operational Efficiency ที่จะดึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในทุกกระบวนการทำงานของแกร็บในการขับเคลื่อน 4 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่
สำหรับแผนกลยุทธ์ธุรกิจในระยะยาวนั้น แกร็บ ประเทศไทย มุ่งขับเคลื่อนองค์กรและสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยจะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ภายใต้แนวคิด ‘Building Sustainable Growth through Innovation’ ซึ่งจะครอบคลุมการพัฒนาใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
อย่างไรก็ดี การทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืน ต้องสร้างผลกำไรได้ด้วย นายวรฉัตรบอกว่า "อันดับแรก เราต้องไม่ขาดทุน"
"จากที่สังเกตแพลตฟอร์มขนาดใหญ่อยู่ไม่รอด เมื่อปิดตัวก็สร้างอิมแพ็กต่อสังคมอย่างคาดไม่ถึง เช่น ทำให้คนตกงานเป็นหมื่น เราก็ต้องมาดูสเกลธุรกิจที่ทำอยู่ ซึ่งนั่นคือความเสี่ยง ปีนี้เราจึงต้องไม่ขาดทุนและเริ่มมีกำไรอย่างเหมาะสม ด้วย 3P ได้แก่ Profit สร้างอีโคซิมเต็มที่ยั่งยืน ทำให้บริษัทมีกำไร ไม่ขาดทุน Planet เรามีรถวิ่ง เราปล่อยคาร์บอนมากมาย ต้องลดการปล่อยคาร์บอน ร่วมลดขยะจากแพ็กเกจจิงอาหาร และ People เราใส่ใจบุคลากร พาร์ทเนอร์ คนขับ ร้านอาหาร ถ้าคนรักเรา เขาจะรักบริษัทของเราด้วย"
"สิ้นปีนี้ เราต้องหยุดการขาดทุนให้ได้ แต่จะโตยังไงแบบไม่ขาดทุน ไม่ใช้เงินของนักลงทุน ใช้เงินของเราเอง และไม่สร้างปัญหาในอนาคต แนวทางคือ จากนี้เราไม่อัดโปรโมชันหนักๆ อีกต่อไปแล้ว เมื่อลดงบที่ใช้กับโปรโมชันลงได้ ก็จะเพิ่มรายได้เพื่อไปสู่กำไร แต่ช่วงแรกที่เราทำ หวังว่าจะขาดทุนน้อยลง โดยเน้นให้ลูกค้ามี loyalty สั่งอาหารต่อครั้งมากขึ้น ถี่ขึ้น คือทำให้ GrabFood ขาดทุนน้อยลงเรื่อยๆ ก่อน" นายวรฉัตรเผยในตอนท้าย
...................................................
หมายเหตุ
* อ้างอิง รายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปี 2022 (e-Conomy SEA Report 2022) โดยบริษัท Google, Temasek, Bain & Company
** ยอดการใช้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน Grab ในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติระหว่างปี 2565 และ 2564
*** ยอดการใช้บริการสั่งอาหารผ่าน GrabFood ระหว่างปี 2565 และ 2564
**** ข้อมูลจาก ttb analytics
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด