ใช้ AI ช่วยทำธุรกิจยังไงได้บ้าง? โดย Techsauce จากงาน GroupM FOCAL 2023 | Techsauce

ใช้ AI ช่วยทำธุรกิจยังไงได้บ้าง? โดย Techsauce จากงาน GroupM FOCAL 2023

ช่วงนี้อีเวนต์หนาแน่น ผู้เข้าร่วมงานก็คับคั่ง งานสัมมนา GroupM FOCAL 2023 ที่ กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) กลุ่มบริษัทบริหารจัดการการลงทุนสื่อชั้นนำของโลกในเครือ ดับบลิวพีพี (WPP) จัดขึ้นก็เช่นกัน โดยปีนี้มีนักการตลาดชั้นนำและพันธมิตรคู่ค้ามาร่วมอัปเดตภาพรวมและทิศทางการตลาด ทั้งยังมี CEO ของบริษัทเอเยนซี่ในเครือ WPP อาทิ GroupM, Ogilvy, Wunderman Thompson, VMLY&R, GREYnJ United, Kantar, นักการตลาด รวมไปถึงคอนเทนต์ครีเอเตอร์ชั้นแนวหน้าของไทย มาร่วมแชร์ประสบการณ์ พร้อมอัปเดตประเด็นสำคัญสำหรับนักการตลาดในอีก 12 เดือนข้างหน้า

GroupM FOCAL 2023 AI

GroupM FOCAL เป็นงานที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และปีนี้เป็นปีที่ 13 ภายใต้ชื่อ ‘FOCAL 2023 – Know Ahead the Secrets of Marketing Mastery’ ส่วนไฮไลต์สำคัญของงาน คือ การเผยผลวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคกับการใช้สื่อภายหลังยุคโควิด-19 เพื่อให้นักการตลาดกำหนดทิศทางการสื่อสาร และออกแบบกลยุทธ์การใช้สื่อล่วงหน้า โดยมีผู้บริหารจากกรุ๊ปเอ็มและวิทยากรผู้เชี่ยวชาญกว่า 30 คน ร่วมกันนำเสนอ 6 ประเด็นสำคัญสำหรับนักการตลาด ได้แก่

  1. STEP AHEAD OF CONSUMERS - Deep dive for the untold insights

  2. AHEAD THE SECRETS OF BRAND & STRATEGY - Accelerating success

  3. AHEAD IN THE FUTURE – Meet the changemakers: data, tech & innovation

  4. AHEAD THE SECRETS OF COMMERCE - The future of commerce

  5. AHEAD THE SECRETS OF CREATIVITY - The power of content & personalisation

  6. AHEAD THE SECRETS OF MEDIA - Media and performance marketing

กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย)

คุณปัทมวรรณ สถาพร ประธานกรรมการบริหาร กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานสัมมนา FOCAL ครั้งที่ 13 ว่า “กรุ๊ปเอ็ม ในฐานะกลุ่มบริษัทพันธมิตรทางธุรกิจการบริหารจัดการสื่ออันดับหนึ่งของโลก เรามีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาและสร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นในระบบ Ecosystem ของอุตสาหกรรมโฆษณา และด้วยบทบาทของการเป็นผู้นำในวงการการสื่อสารทางการตลาดและการลงทุนในสื่อ งานสัมมนาการตลาดประจำปี ภายใต้ชื่อ GroupM FOCAL จึงถูกจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะยกระดับความรู้ทั้งด้านเทรนด์ผู้บริโภคและเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ๆ รวมถึงให้ความรู้ทางการตลาดให้กับลูกค้า พันธมิตรสื่อและสื่อมวลชนมามากกว่า 10 ปี

"ปีนี้เราจัดงาน FOCAL ด้วยนโยบายที่สอดคล้องกันกับ GroupM Global ว่า 'Make Advertising Better for People' เพื่อนำเสนอแง่มุมของคำว่า ‘BETTER’ ผ่านพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ตั้งแต่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีผลต่อการเลือกเสพคอนเทนต์ สู่การผันตัวเองมาเป็น CONTENT CREATOR และแง่มุมด้านดี-ร้ายของการใช้สื่อ Online/Offline เพื่อเปิดทางให้นักการตลาดได้เข้าถึงผู้บริโภค งาน FOCAL 2023 ครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการปลดล็อกให้นักการตลาดได้รู้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมความพร้อมในการวางแผน กำหนดทิศทางการตลาดในอีก 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาที่ได้นำเสนอในครั้งนี้ จะพาอุตสาหกรรมก้าวไปข้างหน้าสู่การพัฒนาที่เหมาะสมกับผู้บริโภคได้อย่างดียิ่งขึ้น”

Consumers Untold : สิ่งที่ผู้บริโภคไม่ได้บอก แต่รับรู้ได้จากผลวิจัย 

ภายในงาน กรุ๊ปเอ็ม ได้นำเสนอผลการศึกษางานวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคประจำปีภายใต้ชื่อ Consumers Untold เป็นการศึกษาแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงบริมาณผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริโภค กลุ่มผู้นำชุมชน ผู้นำทางความคิด และแบบสอบถามเพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทัศนคติ การเลือกที่จับจ่ายซื้อของ และความสำคัญของอินเทอร์เน็ตกับผู้บริโภคชาวไทย 

กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย)

คุณณัฐวีร์ ณีวมาวิจักขณ์ ผู้บริหารแผนกพัฒนาและการตลาด และแพน จรุงธนาภิบาล รองผู้อำนวยการแผนกพัฒนาและการตลาด กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) ร่วมกันเผยอินไซด์ล่าสุดของคนไทยว่า ปี 2023 ถือเป็นปีที่สถานการณ์ต่างๆ คลี่คลาย ผู้บริโภคเริ่มมีความหวังและไม่กังวลเรื่องการใช้เงินเพื่อซื้อความสุขให้กับตัวเอง นอกจากนี้ผู้บริโภคยังมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประชาชนที่อยู่ห่างไกล หรือกลุ่มคนท้องถิ่นที่มีวิถีชีวิตแตกต่างจากในเมืองมากๆ ก็เข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น เกิดเป็น Target ใหม่ให้นักการตลาด ซึ่งบางคนที่มีความสามารถด้านการเล่าเรื่อง ผลิตคอนเทนต์เองได้ก็สร้างคอนเทนต์ที่มีความ Variety มากขึ้น กลายเป็น Digital Power แต่ขณะเดียวกันด้านมืดของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต คือ การที่ผู้บริโภคถูกมิจฉาชีพหลอกก็เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นคนที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันจึงควรใช้อย่างมีสติ มีความระมัดระวังตัว  

ด้านภาพรวมการใช้ชีวิตของผู้บริโภคนับว่าดีขึ้น คนจะเริ่มใช้เงินเพื่อซื้อสิ่งที่ใช่สำหรับพวกเขาจริงๆ ทั้งนี้ พบว่าผู้บริโภคมีความผ่อนคลายเริ่มออกไปหาความสุขนอกบ้านมากขึ้น ไม่ได้ใช้ชีวิตเฉพาะบนออนไลน์ หรือพึ่งพาการจับจ่ายบนโลกออนไลน์เหมือนใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคเลือกเสพเฉพาะคอนเทนต์ที่ตนชอบจริงๆ ไม่แบ่งแยกเป็น Generation อีกต่อไป หากแต่เน้นไปที่ความสนใจเฉพาะตัว ส่วนการเห็นแอดโฆษณาซ้ำๆ คนจะรู้สึกว่าถูกยัดเยียด ไม่เชื่อมั่นในแพลตฟอร์มรวมถึงแบรนด์ และเริ่มรู้สึกว่าโฆษณาที่ส่งมาให้มีความไม่จริงใจ ดังนั้นแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่ง จึงไม่สามารถทำให้คนเชื่อได้อีกต่อไป เพราะคนจะสลับการใช้งานระหว่างแพลตฟอร์มเพื่อหาข้อมูลตลอดเวลา 

สำหรับคนโฆษณาและนักการตลาด ทางกรุ๊ปเอ็มมองว่า ปีนี้เป็นโอกาสที่นักโฆษณาและการตลาดควรจะยกระดับโฆษณาและการสื่อสารของแบรนด์ให้ดีพอสำหรับความต้องการของผู้บริโภคด้วยการไม่ยัดเยียด การสร้างแบรนด์อย่างยั่งยืนด้วยคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ ควบคู่ไปกับการเข้าถึงอย่างเหมาะสมด้วยการใช้สื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์จะสร้างความความคุ้นเคยกับแบรนด์ได้อย่างมีความหมาย

ซีอีโอ Techsauce ร่วมแชร์ไอเดียการใช้ประโยชน์จาก AI ในภาคธุรกิจ

งานนี้ คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ Techsauce ได้รับเกียรติเป็นหนึ่งใน Speaker โดยขึ้นกล่าวในหัวข้อ Unleashing the Potential of AI: Empowering Humanity Through Innovation (ปลดปล่อยศักยภาพ AI: เพิ่มความสามารถของมนุษย์ผ่านนวัตกรรม)

"ถ้าเราจะนำ AI มาประยุกต์ใช้เพื่อทำให้เกิดไอเดียใหม่ๆ จะใช้ในด้านใดได้บ้าง" 

Generative AIคุณอรนุชเปิดด้วยคำถามชวนคิด หลังจากนั้นเล่าถึงประสบการณ์ที่ไปดูเทรนด์ต่างๆ ทั่วโลก เช่น ต้นปีที่ผ่านมาได้ไปร่วมงานที่ MIT Media Lab สหรัฐอเมริกา และได้รับฟัง Pattie Maes นักวิจัยที่เป็น Speaker ในรายการของ TED กล่าวถึง AI ว่า "ตลอดการทำงาน 30 กว่าปี ไม่มีช่วงเวลาไหนที่ AI เข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการมากที่สุดเท่ากับช่วงเวลานี้" ซึ่งก็คือ ช่วงเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา และจริงๆ แล้ว AI มีมานาน 70 กว่าปี แต่ตอนนี้เป็นเทคโนโลยีที่ใกล้ตัวอย่างมาก

ข้อมูลจาก Mckinsey บอกไว้ว่า เทคโนโลยีมีหลากหลายรูปแบบ เช่น Blockchain, Web 3, Clean Energy แต่ไม่มีเทคโนโลยีตัวไหนที่กระทบภาคธุรกิจมากเท่ากับ AI นั่นหมายความว่า ทุกธุรกิจต้องนำ AI มาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะ Generative AI เช่น ChatGPT ที่เน้นในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ โดย generate คอนเทนต์จากแอ็คชันในลักษณะของ คำสั่ง  (Prompt) ต่างๆ ที่ป้อนเข้าไป แล้วตอบออกมาเป็น Text ผ่านการแชต

หรือ Midjourney ที่สร้างคอนเทนต์ในรูปแบบภาพตามคำสั่ง โดยคุณอรนุชแชร์ภาพนักแสดงฮอลลีวูด Keenu Reeves ที่สร้างสรรค์บน Midjourney โดยใช้คำสั่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ให้มาอยู่กรุงเทพฯ, ขอภาพที่หนุ่มขึ้นได้ไหม, ทำบะหมี่ให้หน่อย, ทำบะหมี่ที่เยาวราช  และคนที่ไม่รู้ก็จะดูไม่ออกเลยว่า เป็นภาพที่สร้างจาก AI อีกกรณีคือ ใส่คำสั่งสร้างภาพ ผู้ชายใช้ตะเกียบกินบะหมี่ด้วยวิธีที่ถูกต้อง แต่ภาพที่ได้นั้น ผู้ชายคีบตะเกียบผิดด้าน นั่นหมายความว่า AI ยังมีข้อผิดพลาดอยู่ หรือยังไม่ได้เรียนรู้รูปแบบการใช้งานสิ่งต่างๆ อย่างถูกต้อง

คุณอรนุชยกตัวอย่างการใช้เครื่องมือ AI ของ Google ลบภาพพื้นหลัง เพิ่มภาพแมวเข้าไป ระบุสายพันธุ์ที่อยากได้ และเผยว่า ยังคัสตอมได้อีกเรื่อยๆ หรือจะนำคลิปน้องแมวที่เป็นวิดีโอมาใช้ Tool ใส่ Text เข้าไปได้ และสั่งได้ว่า ต้องการ feeling แบบไหน

AI

ดังนั้น การทำงานกับ AI ให้มอง AI ว่าเป็น 'เพื่อนคู่คิด' เหมือนกับ Co-pilot แต่มันยังไม่สมบูรณ์ เพราะขึ้นอยู่กับ Data ที่ป้อนเข้าไป อย่างไรก็ตาม สามารถนำ AI มาใช้ในเชิงธุรกิจหรือการตลาดได้ เช่น

  • นำมาสร้าง Business Model Canvas โดยใส่คำสั่งลงไปใน ChatGPT เช่น สร้าง Business Model Canvas ของธุรกิจ Fine Dining ให้หน่อยว่าต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง, ทำธุรกิจ Fine Dining อยู่แล้ว แต่อยากได้ Revenue เพิ่มในมิติที่แปลกใหม่ ทำอย่างไรได้บ้าง ระบบอาจให้ลองทำ Wine Pairing, Co-campaign ร่วมกับพาร์ตเนอร์ 

  • นำมาทำ Personalization คุณอรนุชยกแคมเปญของ Coca-Cola ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้บริโภคจำนวนมาก โดย Coca Cola ร่วมมือกับ OpenAI และ Dall-E เปิดเว็บให้ผู้บริโภคเข้าไปสร้างภาพขวดโค้กแข่งกันด้วยการใส่คำสั่งต่างๆ แล้วภาพที่ได้รับคัดเลือกจะนำไปโชว์ที่ไทม์สแควร์ นิวยอร์ก หรือนำมาทำ Ad ในเชิง Marketing Campaign โดยเลือกใช้ได้จากเครื่องมือ Generative AI ที่มีอยู่เป็นร้อย อาทิ ธุรกิจประกัน ใส่คำสั่งลงไปว่าต้องการคอนเทนต์เพื่อสื่อสารกับ Segment ที่ต้องการ วัยที่ต้องการ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างในด้านการใช้ประโยชน์จาก AI ที่ผู้คนยังคงถกเถียงกันในเรื่องความถูกต้องเหมาะสม นั่นคือ ภาพถ่ายที่คนถ่ายใช้ AI ช่วยสร้างภาพ ส่งประกวด แล้วได้รับรางวัลชนะเลิศ โดยที่คณะกรรมการดูไม่ออก ดังนั้น การใช้ AI ในเชิงพาณิชย์ (Commercial) จึงต้องมีการตรวจสอบเพื่อยืนยันความถูกต้อง (Validation) ก่อน

ซีอีโอ Techsauce กล่าวปิดท้ายด้วยการให้ Key takeaways กุญแจสำคัญ 5 ข้อที่ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้บริหาร นักการตลาด ต้องคำนึงถึงในการทำธุรกิจยุคที่มีการแข่งขันด้าน AI สูง

  1. 'กลยุทธ์' และเป้าหมายทางธุรกิจ ต้องมาก่อนเทคโนโลยี อย่าให้เทคโนโลยีมานำ
  2. ต้องมี Growth Mindset เรื่องนี้สำคัญมาก
  3. อย่ากลัว AI แต่จงกลัว 'คนที่ใช้ AI เก่ง'
  4. จงใช้ AI เป็นเครื่องมือสร้างสรรค์และถ่ายทอดความสามารถของมนุษย์ออกมา
  5. ทุกนวัตกรรมที่คิดขึ้นมา ไม่ต้องมุ่งสร้างอิมแพ็กขนาดใหญ่ เริ่มทำจากเล็กๆ ก่อนได้ 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

'บ้านปู' ประกาศกลยุทธ์ใหม่ Energy Symphonics เตรียมมุ่งสู่ปี 2030 เปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน พร้อมเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลาย ประกาศกลยุทธ์ใหม่ 'Energy Symphonics' หรือ “เอเนอร์จี ซิมโฟนิกส์” เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ปี 2030 เน้นการเปลี่ยนผ่านพลังงานอ...

Responsive image

Google เผยเศรษฐกิจดิจิทัลไทย โตอันดับ 2 ใน SEA มูลค่า 1.61 ล้านล้านบาท ขับเคลื่อนด้วยอีคอมเมิร์ซและการท่องเที่ยวเป็นหลัก

เศรษฐกิจดิจิทัลไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว คาดว่าในปี 2567 มูลค่ารวมของสินค้าดิจิทัลหรือ GMV จะเพิ่มขึ้นถึง 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.61 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566...

Responsive image

AMD ประกาศลดพนักงาน ราว 1,000 คนทั่วโลก หวังเร่งเครื่องสู่ตลาดชิป AI

AMD ผู้ผลิตชิปรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ประกาศแผนปรับโครงสร้างองค์กรครั้งสำคัญ โดยจะปลดพนักงานประมาณ 1,000 คน หรือคิดเป็น 4% ของพนักงานทั้งหมด 26,000 คนตามข้อมูลที่บริษัทยื่นต่อสำนักง...