การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลสุขภาพภายใต้ระบบนิเวศสาธารณสุขของไทย | Techsauce

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลสุขภาพภายใต้ระบบนิเวศสาธารณสุขของไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประกวด Tech Saucier of The Year 2018 โดยเภสัชกรวิรุณ  เวชศิริ  ภาพโดย QSwownews.com

ในปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งในรูปแบบของอินเตอร์เน็ต เครื่องมือสื่อสารส่วนบุคคล สมาร์ทโฟน หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ได้เข้ามามีส่วนสำคัญต่อชีวิตประจำวันของเราจนแทบจะเรียกได้ว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะใช้มัน ในปัจจุบันคนไทยใช้อินเตอร์เน็ตเฉลี่ย เกือบ 10 ชั่งโมงต่อวันในวันทำงานหรือเรียน และ 11 ชั่วโมงในวันหยุด

หรือกล่าวให้เห็นภาพคือ ประมาณ 1 ใน 3 ของชีวิตประจำวันนั้นอยู่กับอินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงคน Gen Y ที่เป็นวัยแรงงานรุ่นใหม่และใช้เวลากับอินเตอร์เน็ตมากที่สุด แต่ยังรวมไปถึงวัยปู่ย่าตายายยุค Baby Boomber ก็ยังใช้เวลาอยู่กับโลกออนไลน์กันไม่น้อยที่ 8 ชั่วโมงกว่าๆ ต่อวันเลยทีเดียว ซึ่งตัวเลขนี้เป็นสิ่งสะท้อนถึงวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งไม่ใช่แค่เพียงวิธีการสื่อสารระหว่างกันเท่านั้น หลายท่านถึงกับให้ความเห็นว่า โลกดิจิทัลน่ากลัวกว่าที่คิด เปรียบการมาของเครื่องมือทางดิจิทัลเสมือนกับคลื่นยักษ์ที่พร้อมทำลายล้างทุกสิ่งที่ขวางหน้า ตั้งแต่ธุรกิจฟิล์มถ่ายรูป

ธุรกิจเพลงที่เคยจำหน่ายผ่านซีดีหรือดีวีดี ธุรกิจสิ่งพิมพ์และสื่อทีวี ซึ่งทุกวันนี้คนต่างหันไปใช้สื่อดิจิทัลกันหมด หรือแม้แต่ธุรกิจการเงินที่ได้เริ่มเห็นการลดจำนวนสาขาให้บริการลงเพราะการทำธุรกรรมออนไลน์สามารถทำได้ง่ายมากขึ้น มีความจำเป็นต้องพึ่งพาคนเป็นผู้ให้บริการลดลง แนวโน้มของการใช้ทักษะและแรงงานคนในยุคข้างหน้าจึงดูเหมือนจะบังคับให้ทุกคนต้องมุ่งไปสู่งานที่ต้องใช้ทักษะที่สูงขึ้นที่ยากในการทดแทนด้วยระบบอัตโนมัติ

ด้านวงการสุขภาพเองก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นวงการที่มีระเบียบปฏิบัติค่อนข้างสูง เน้นการใช้ทักษะเฉพาะด้านวิชาชีพสุขภาพในการเป็นผู้ให้บริการหลัก ทั้งแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และวิชาชีพเกี่ยวเนื่องอื่นๆ รวมทั้งมีข้อกฎหมายและข้อพึงระวังมากมาย แต่ก็เป็นอีกวงการที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเข้ามาของคลื่นดิจิทัลยักษ์ หรือ digital disruption ไปได้เลย โดยการมาของ digital disruption ในวงการสุขภาพจะส่งผลต่อวิถีแห่งการดูแลรักษาสุขภาพทั้งในระดับส่วนบุคคล ในระดับองค์กร หรือในระดับประเทศเปลี่ยนแปลงไปเลยทีเดียว

คำถามที่ตามมาก็คือ แล้ววงการสุขภาพจะเปลี่ยนแปลงไปได้เพียงใด และเมื่อไหร่คือช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ บทความนี้จะนำทุกท่านไปทำความรู้จักกับการเข้ามาของคลื่นดิจิทัลและผลกระทบต่อการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนไทยในช่วงปลายปี พ.ศ. 2561 และนำเสนอให้เห็นถึงผู้เล่นรายสำคัญที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดูแลรักษาสุขภาพในประเทศไทยโดยการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว

ประชาชนมีวิธีการดูแลรักษาสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป

สิ่งที่เป็นที่พึ่งพิงของประชาชนในอดีตเมื่อเรามีปัญหาด้านสุขภาพคือการเข้ารับบริการทางสุขภาพจากผู้ให้บริการทางสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ เภสัชกร พยาบาล หรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้ออื่นๆ โดยในตอนนั้นบุคลากรในวิชาชีพทางสาธารณสุขเหล่านี้อยู่ในสถานะที่มีข้อมูลที่มากกว่าผู้รับบริการ ทำให้อำนาจในการเลือกวิธีการรักษาพยาบาลตกอยู่กับผู้ให้บริการเป็นหลัก ทำให้ภาพออกมาในลักษณะที่ว่า “ก็แล้วแต่หมอจะว่าอย่างไร” ซึ่งหมอเป็นทั้งผู้ชี้นำและคนไข้เป็นผู้ปฏิบัติตาม

ซึ่งอาจถือเป็นข้อดี เพราะในแง่หนึ่งหากบริการทางการแพทย์เข้าถึงคนไข้ทุกคนได้ก็ถือว่าทุกคนจะได้รับบริการทางการแพทย์ที่ปลอดภัยเพราะได้รับการพิจารณาอย่างพอสมควรแล้วจากผู้ให้บริการทางการแพทย์ แต่ในความเป็นจริงจำนวนการให้บริการทางการแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์นั้นมีจำกัด ทำให้ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยต้องไปใช้บริการทางสุขภาพจากผู้ให้บริการนอกระบบที่ไม่ปลอดภัย

แต่มื่อเทคโนโลยีลูกใหญ่นี้ผ่านเข้ามา ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศสามารถเข้าเข้าถึงเครื่องมือดิจิทัลและสื่อดิจิทัล ทำให้ประชาชนสามารถหาข้อมูลเองได้ไม่จำกัด ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลทางการแพทย์ จำนวนสื่อที่เกี่ยวข้องกับด้านการแพทย์ ด้านสุขภาพ มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกๆ วัน ทั้งจากแหล่งข้อมูลสถาบันที่น่าเชื่อถือ หรือแม้แต่สื่อให้ความรู้กล่าวอ้างอย่างไม่มีที่มาที่ไป บ้างก็มีการเผยแพร่ความเชื่อส่วนบุคคลที่มีการแนะนำวิธีการรักษาโรคซึ่งไม่เพียงจะไม่มีผลต่อการรักษา แต่ยังส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อร่างกายจนถึงชีวิตเลยก็มี

www.google.com เป็น search engine หรือเครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาลำดับต้นๆ ของคนไทย และเมื่อมีปัญหาสุขภาพ google ก็กลายมาเป็นที่พึ่งลำดับต้นๆ ของคนไทยเช่นเดียวกัน ซึ่งผลการค้นหาที่เกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือสูง แต่เป็นหน้าเวปที่ได้จัดทำระบบข้อมูลสอดคล้องตามเกณฑ์ที่ google ได้ออกแบบไว้ เช่น มีแนวทางด้านเนื้อหา ด้านโครงสร้าง เป็นไปตามที่ google กำหนด ซึ่งหลายๆ เวปไซต์ทางวิชาการที่ไม่ได้จัดวางเนื้อหาตามแนวทางดังกล่าวจึงไม่ได้ถูกค้นพบในลำดับต้นๆ

ความเป็นจริงที่ประชาชนไทยสืบค้นเจอเกี่ยวกับข้อมูลทางสุขภาพหลายครั้งจึงเป็นข้อมูลที่อันตราย เช่น ข้อมูลจากเวปไซต์พันทิป ที่ข้อมูลเกิดจากการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว จากประสบการส่วนตัว ซึ่งอาจไม่ได้สอดคล้องกับสาเหตุความเจ็บป่วยที่แท้จริงของผู้สืบค้น ประชาชนในประเทศไทยจึงต้องการระบบการให้ข้อมูลทางการแพทย์ที่มีความน่าเชื่อถือในระดับพอที่จะใช้เป็นที่พึ่งทางสุขภาพได้ ซึ่งโดยเบื้องต้น จึงจำเป็นที่จะต้องช่วยกันเผยแพร่แหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถืออย่างเหมาะสมให้กับประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นแหล่งข้อมูลจากสถาบันทางการแพทย์หลักๆ ของไทย หรืออีกทางหนึ่งที่จะทำให้คนไข้ได้เข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

โดยผ่านเครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องมือดิจิทัลทางการแพทย์ หรือ Digital healthจบตอนที่ 1 สำหรับตอนที่ 2 จะขอนำเสนอรูปแบบของการนำเครื่องมือทาง Digital Health มาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพและการแพทย์

สามารติดตามตอนต่อไปได้โดย คลิกที่นี่ 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

จีนสั่งค่ายรถไฟฟ้าในประเทศไม่ให้เทคโนโลยี EV รั่วไหล! ใช้โรงงานต่างประเทศแค่ประกอบขั้นสุดท้าย

รัฐบาลจีนได้ส่งสัญญาณเตือนให้บริษัทรถยนต์ในประเทศเก็บรักษาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ขั้นสูงไว้ภายในประเทศ แม้ว่าบริษัทเหล่านี้กำลังสร้างโรงงานในต่างประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าท...

Responsive image

'บ้านปู' สื่อสาร Purpose-driven CSR ผ่านนิทรรศการภาพถ่าย 'Portrait of Passion' โดย Vin Buddy

บ้านปู (Banpu) จับมือ ภูริต เนติมงคลชัย (Vin Buddy) ช่างภาพแนวหน้าของเมืองไทย จัดนิทรรศการภาพถ่าย 'Portrait of Passion' เปิดตัวแนวคิด 'Embracing Potential, Energizing People' ยกระด...

Responsive image

ยกระดับ AI ให้ใกล้เคียงมนุษย์ OpenAI เปิดตัวโมเดล o1 ฉลาดขึ้น คิดวิเคราะห์เป็น แถมปลอดภัยขั้นสูง

OpenAI ได้เปิดตัวโมเดล AI ชุดใหม่ในซีรีส์ OpenAI o1 ซึ่งออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นผ่านความสามารถในการใช้เหตุผลที่ทำให้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากยิ่งขึ้น ถือเป็นกาวสำคัญในการ...