เสริมสร้าง Startup Ecosystem ด้วยมาตรการใหม่ ก้าวต่อไปของอนาคตธุรกิจไทย | Techsauce

เสริมสร้าง Startup Ecosystem ด้วยมาตรการใหม่ ก้าวต่อไปของอนาคตธุรกิจไทย

เมื่อการระบาดของไวรัส COVID-19 ได้สร้าง Spotlight ให้กับบทบาทของ Startup ในสังคม จากความสำคัญของเทคโนโลยีที่มากขึ้นในยุคนี้ Startup นั้นก็ได้เข้ามาเป็นสื่อกลางในการทำให้บริการต่าง ๆ นั้นสามารถเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น ซึ่งทางงานสัมมนา Angel Investor Forum นั้นก็ได้มีการพูดคุยกับคุณธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (TVCA), คุณ ภทัรพร โพธิ์สวุรรณ์ นายกสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (TTSA), คุณประพันธ์ เจริญประวัติผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai), ดร. นภนวลพรรณ ภวสันต์ ผู้อํานวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และคุณนุสติ คณีกุล ผู้จัดการอาวุโสศูนย์เพื่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ ‘How to Build a Better Startup Ecosystem’

ภาพรวมการเติบโต Startup ไทยในปัจจุบัน

ทางคุณธนพงษ์ได้เผยว่า วงการ VC ในประเทศไทยนั้นถือว่ามีเอกลักษณ์มาก เนื่องจาก VC ที่อยู่ในสมาคมกว่า 80% นั้นเป็น CVC (Coporate Venture Capital) หรือเป็น VC ที่สร้างโดยกลุ่ม Corporate และอีก 20% ที่เหลือนั้นจะเป็น Traditional VC ซึ่งแตกต่างกับประเทศอื่นมาก ตรงที่ในประเทศอื่นนั้น Traditional VC นั้นจะค่อนข้างมีสัดส่วนที่มากกว่า CVC ทำให้การลงทุนส่วนใหญ่ในไทยที่ผ่านมานั้นจะเกิดจาก Corporate 

สำหรับในส่วนของทาง Startup การลงทุนใน Startup นั้นจะแบ่งออกเป็น 4 Stages 

  1. Idea Stage: เป็นแค่ไอเดีย
  2. Product Development: เริ่มมีผลิตภัณฑ์
  3. Market Testing: เริ่มเข้าทดลองตลาด
  4. Commercialised: สามารถทำรายได้จากผลิตภัณฑ์

ซึ่งสำหรับในประเทศไทย Startup จำนวนกว่า 45% นั้นยังอยู่ใน Idea Stage และกว่า 35% นั้นอยู่ในกลุ่ม Product Development ในส่วนของ Market Testing นั้นมีอยู่ 15% และ Startup ที่ได้ Commercialised แล้วมีอยู่เพียง 5% เท่านั้น

ซึ่งจะเห็นได้ว่าการลงทุนจาก CVC ส่วนมากนั้นจะอยู่ใน Stage ของการ Commercialise เนื่องจากบริษัท Coporate เหล่านี้นั้นต้องการที่จะลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์และอยู่ในตลาดแล้ว เพื่อนำไปต่อยอดกับบริการของบริษัท และจากภาพ สามารถพูดได้ว่าวงการ Startup และ VC ไทยนั้นมี Low Supply และ High Demand จะเห็นได้ว่าแหล่งเงินทุนจำนวนมากในระดับ Commercialised นั้นจะค่อนข้างเยอะกว่า Startup ที่อยู่ใน Stage นี้ ถ้าหาก Startup ใดสามารถที่จะอยู่รอดจนมาถึง Stage สุดท้ายได้ ก็สามารถที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตาม Startup ไทยนั้นถือว่ายังมีสัดส่วนการได้รับเงินทุนจาก VC ระดับโลกค่อนข้างน้อย เนื่องจากทาง VC ระดับโลกนั้นต้องการที่จะลงทุนในกลุ่ม Startup ที่มีการจดทะเบียนบริษัทในประเทศอย่าง สิงคโปร์ หรือฮ่องกงมากกว่า 

โดยในประเทศไทย Startup ที่มีการเติบโตค่อนข้างเร็วนั้นจะเป็น Startup ในกลุ่มที่ได้เข้าไปแก้ปัญหาในสังคมด้วยโซลูชันที่ทำให้ชีวิตของผู้คนนั้นรวดเร็วและมีความสะดวกสบายมากขึ้น ยกตัวอย่างเมื่อ 3-4 ปีก่อนที่ประเทศไทยนั้นมีปัญหาเรื่องของการเดินทาง ทำให้ Grab นั้นเห็นโอกาสตรงส่วนนี้และได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเพื่อจัดหาโซลูชันในส่วนนี้ให้ หรือปัญหาในส่วนของ Logistic ก็ได้มีบริษัทอย่าง Kerry เข้ามา รวมถึงการช้อปปิ้ง ไม่ว่าจะเป็น Market Place จำพวกสินค้าทั่วไป สินค้ามือสองหรืออาหารสด ก็ทำให้มีบริษัทหลาย ๆ เจ้านั้นได้ก้าวเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

เสริมสร้าง Startup Ecosystem ไทยอย่างไรให้ดียิ่งขึ้น?

ทางคุณนภนวล จากสำนักงานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต) ได้เผยถึงการทำงานของก.ล.ต.ในฐานะผู้ที่คอยสงเสริมและสนับสนุน Startup และ SME ซึ่งหลัก ๆ แล้วทางก.ล.ต.จะดูแลในเรื่องของกฎเกณฑ์ Crowdfunging ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เรื่องของ Private Placement เปิดโอกาสให้บริษัทจำกัดสามารถเข้ามาระดมทุนได้มากขึ้น รวมถึงกฎเกณฑ์ทางด้านของ Public Offering & SMEs Board 

โดยทางก.ล.ต.ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับ Crowdfunding เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่าน Funding Portal ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ก.ล.ตนั้นได้เข้าไปกำกับดูแล โดยสามารถระดมทุนได้ใน 2 รูปแบบคือ หุ้นและหุ้นกู้ ซึ่งในตอนนี้ได้ โดย Funding Portal ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในตอนนี้นั้นมีอยู่ 4 บริษัทคือ Sinwattana, LIVE, Dreamaker Equity และ Peer Power จากแต่ก่อนที่บริษัทต่าง ๆ นั้นจะต้องไปยื่นกับทางก.ล.ต.โดยตรง แต่ในตอนนี้บริษัทสามารถที่จะเข้าไปที่ Funding Portal เพื่อเสนอโปรเจค โดยทาง Funding Portal นั้นจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการดูว่าโปรเจคนั้นน่าสนใจในการลงทุนเท่าใด แล้วนำโปรเจคขึ้นเว็บไซต์ เพื่อที่จะให้นักลงทุนนั้นเข้ามาดูโปรเจคและมีตัวเลือกมากขึ้นในการลงทุน

ในส่วนของตัว Private Placement จะใช้ได้เฉพาะบริษัทจํากัดเท่านั้น ทําให้สามารถเสนอขายหุ้นและหุ้นกู้ได้ และสำหรับ PO SME จะสำหรับบริษัทขนาดกลางที่มี Proven Track Record หรือ Startup ระดับ Post-series A และบริษัทที่กำลังเตรียมความพร้อมจดทะเบียนในตลาดหรือ mai หรือ SET โดยจะมีเกณฑ์ที่ยืดหยุ่นมากขึ้นในทั้งฝั่งของ SME และฝั่งของผู้ลงทุน

ซึ่งในตอนนี้ทางก.ล.ต.ก็ได้มีการจัดทำแพลตฟอร์มขึ้นมาเพื่อให้ความรู้กับผู้สนใจในเรื่องของการระดมทุน มีการทำสื่อออนไลน์เพื่อสร้างความเข้าใจในหมู่ผู้ประกอบการและผู้ลงทุน มีการจัดทำคาราวานก.ล.ต. จัดกิจกรรมอบรม SMEs, Seminar และ Webinar รวมถึงยังมีการเข้าพบผู้ประกอบการเพื่อทำความเข้าใจถึงปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน พร้อมให้ความรู้ช่องทางการระดมทุนที่เหมาะสม


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Apple ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 55% ตั้งเป้าสู่ Net Zero ในปี 2030

Apple เผยรายงานความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อม และประกาศปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ประจำปี 2024...

Responsive image

สร้างวิดีโอสมจริง ใช้แค่รูปนิ่งกับคลิปเสียง รู้จักโมเดล VASA-1 ที่ Microsoft กำลังวิจัย

แค่ใช้รูปถ่ายกับคลิปเสียง ก็สามารถสร้างวิดีโอของเราได้แบบสมจริง ด้วยโมเดล VASA-1 ตัวใหม่จาก Microsoft ที่ต้องบอกว่าทั้งน่าทึ่ง น่าประทับใจ และน่ากลัวด้วย...

Responsive image

เข้าสู่ยุค AI TV ซัมซุงตอกย้ำผู้นำตลาดทีวีทั่วโลก เปิดตัว​ Samsung AI TV เจาะกลุ่มพรีเมี่ยม

ซัมซุง เปิดตัว Samsung AI TV จัดเต็ม 6 ไลน์อัป อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมเจาะเซกเมนต์พรีเมี่ยม...