Silicon Valley จะเป็นอย่างไร ในสมัยของ Donald Trump ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่ | Techsauce

Silicon Valley จะเป็นอย่างไร ในสมัยของ Donald Trump ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่

ผ่านมา 3 วันแล้วกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาฯ ซึ่งผลการเลือกตั้งก็อย่างที่ทุกคนทราบกันดี คือนาย Donald Trump เป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งและได้เป็นว่าที่ผู้นำคนที่ 45 ของอเมริกา หลายคนสงสัยถึงกระแสในวงการสตาร์ทอัพเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ โดยเฉพาะในซิลิคอนวัลเลย์ แหล่งเทคโนโลยีของอเมริกา ซึ่งกระแสก็ถือว่าไม่สู้ดีนัก โดยวันนี้เราได้นำการวิเคราะห์ของ Gregory Autry ผู้ช่วยศาสตราจารย์แห่ง USC’s Marshall School of Business ว่านโยบายของทรัมป์น่าจะมีผลต่อบริษัทเทคโนโลยีในซิลิคอนวัลเลย์อย่างไรบ้าง

us-election

ต้นทุนการผลิตของบริษัทที่เน้นด้านฮาร์ดแวร์อาจสูงขึ้น

ด้วยนโยบายการตั้งกำแพงภาษีนำเข้าจากประเทศอื่นของทรัมป์ โดยเฉพาะประเทศจีน และย้ายฐานการผลิตกลับมาที่สหรัฐฯ คงจะไม่ส่งผลดีต่อซิลิคอนวัลเลย์ซึ่งเป็นแหล่งบริษัทเทคโนโลยีในอเมริกาที่ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาโซ่อุปทานหรือ Supply chain ของโลกเท่าไหร่นัก อย่างเช่น บริษัทที่เน้นผลิตฮาร์ดแวร์ต่างๆ อาจต้องคิดหนักและวางแผนปรับเปลี่ยนเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้

ผลกระทบด้านวีซ่าของบุคลากรชาวต่างชาติในซิลิคอนวัลเลย์จากนโยบายจำกัดคนเข้าเมือง

นอกเหนือจากกำแพงภาษีที่น่าจะทำให้โปรดักต์ด้านเทคโนโลยีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมมากแล้ว รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะบังคับให้ฐานการผลิตทั้งหมดกลับมาอยู่ที่สหรัฐฯ ยังมีผลกระทบใหญ่ๆ อีกอันหนึ่งก็คือนโยบายเรื่องการเข้าเมืองของทรัมป์นั่นเอง

ในขณะที่ซิลิคอนวัลเลย์สนับสนุนและต่อวีซ่าทำงานประเภท H-1B ให้กับผู้มีความสามารถจากต่างประเทศให้ได้เข้ามาทำงานและอยู่อาศัยในอเมริกา รวมถึงช่วยเหลือในการขอกรีนการ์ดเพื่อรองรับความต้องการบุคลากรที่มีทักษะสูงของซิลิคอนวัลเลย์ แต่ว่าที่ประธานาธิบดีคนนี้อาจจะตัดโปรแกรมนี้ออกไป ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญในการนำเข้าพนักงานสำหรับบริษัทเทคโนโลยี

ธุรกิจพลังงานทดแทนอาจได้รับผลกระทบ

ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ผลิตสายเทคโนโลยีเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากการบริหารงานที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตของรัฐบาลทรัมป์ ตลาดพลังงานทดแทนในสหรัฐฯ เองก็เช่นกัน

จากนโยบายที่ไม่สนับสนุนการลงทุนในพลังงานทดแทนนี้ มีรายงานของบริษัทวิเคราะห์ด้านพลังงาน S&P Global Platts ยกตัวอย่างให้เห็นถึงผลกระทบว่า หากเงินลดหย่อนภาษี (Investment Tax Credit) ถูกตัดเหลือ 10% จากปัจจุบัน 30% แล้ว อาจจะส่งผลให้ความต้อง (Demand) ในการติดตั้งเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ลดลงถึง 60% เป็นต้น

ยังไม่มีนโยบายจริงจังเพื่อรับมือ Cybersecurity 

Cybersecurity คือการรักษาความปลอดภัยของโลกไซเบอร์ ซึ่งที่ผ่านมา ตั้งแต่ข่าวเกม Sony โดนแฮ็คเมื่อปี 2014 มาจนถึงการโจมตีด้วย DDos ล่าสุดเมื่อเดือนก่อนซึ่งทำให้อินเทอร์เน็ตของสหรัฐฯ บางส่วนถูกตัดขาด รวมถึงประเด็นเรื่องความปลอดภัยของระบบอีเมลที่เป็นที่ถกเถียงอย่างหนักระหว่างการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่เมื่อมองแผนนโยบายของทรัมป์ต่อ Cybersecurity ดู กลับยังไม่มีแผนรับมือที่ชัดเจนเท่าที่ควร

สำหรับบริษัทในซิลิคอนวัลเลย์ การป้องกันระบบเครือข่ายอาจจะถือเป็นเรื่องวิกฤตที่สุดที่ต้องจัดการ ยิ่งโดยเฉพาะเมื่อเครือข่ายเหล่านั้นเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายในซิลิคอนวัลเลย์ซึ่งติดอันดับ Top 10 ของบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดในเศรษฐกิจโลก ดังนั้นแผนยุทธศาสตร์ของผู้นำที่ยังไม่มีทีท่าจะจริงจังนี้ จึงอาจส่งผลโดยตรง

ตลาดขายหุ้น IPO ของสตาร์ทอัพอาจชะงัก และผู้นำยังมีแนวโน้มคัดค้านการควบรวมกิจการ (M&A) บริษัทใหญ่ๆ

ในช่วงนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กำลังเริ่มเสื่อมถอย สตาร์ทอัพและบริษัททั้งในประเทศและทั่วโลกอาจกังวลถึงความไม่แน่นอนด้านกฎข้อบังคับต่างๆ ที่จะออกมาใหม่ และยังคงไม่มั่นใจในแนวทางของทรัมป์ (ที่อาจจะสวมบทบาทฮีโร่ผู้ได้รับคะแนนนิยมอย่างสูง หรือ มหาเศรษฐีในวงการอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้รับความไว้ใจเท่าไรนัก)  ซึ่งอาจะส่งผลให้ตลาดขายหุ้น IPO หยุดชะงักชั่วคราว

ไม่เพียงแค่นั้น ในช่วงหาเสียง ทรัมป์ยังออกมาคัดค้านการควบรวมกิจการของบริษัทใหญ่ๆ อย่างการที่ AT&T เข้าซื้อ Time Warner ในช่วงตุลาคม ว่านี่คือตัวอย่างของโครงสร้างอำนาจซึ่งอาจจะไม่ได้รับการอนุมัติในสมัยของตน เพราะเห็นว่าเป็นการรวบรวมอำนาจมหาศาลไปอยู่ในมือคนเพียงไม่กี่คน

นี่ยังไม่รวมถึงกระแสต่างๆ ที่ในวงการไอทีที่มองว่านโยบายด้านเทคโนโลยีของทรัมป์อาจเป็นหายนะของการพัฒนาด้านนวัตกรรม อย่างไรก็ตาม ผู้วิเคราะห์ยังเล็งเห็นว่าผลดีจากนโยบายบางอย่าง เช่น การลดภาษีนิติบุคคล น่าจะส่งผลดีต่อบริษัทต่างๆ และความต้องการที่จะกลับมาลงทุนกับการเติบโตของงานในประเทศที่น่าจะเพิ่มขึ้น แต่สุดท้ายแล้ว นโยบายที่แท้จริงของทรัมป์จะออกมาเป็นอย่างไร ก็คงเป็นเรื่องของอนาคตที่ทุกวงการต้องจับตาดูกันต่อไป...

เรียบเรียงจาก Techcrunch

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Willow ชิปควอนตัมจาก Google แรงทะลุจักรวาล ประมวลผลเรื่องยากได้ในเวลา 5 นาที เร็วกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ล้านล้านเท่า

Willow คือชื่อชิปควอนตัมใหม่ที่ Google พัฒนาสำเร็จ โดยแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่สำคัญในเทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวติ้ง ชิปตัวนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเป้าหมายในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้เร็ว...

Responsive image

ไทยตื่นตัวเซมิคอนดักเตอร์ ปิดดีลไปแล้วกว่า 22,000 ล้าน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนสิ้นปี

ไทยก้าวสู่ยุคเซมิคอนดักเตอร์เต็มตัว! 4 เดือนก่อนสิ้นปี ปิดดีลลงทุนไปกว่า 22,000 ล้านบาท เสริมฐานการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูง พร้อมผลักดันบุคลากรสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต...

Responsive image

ลิซ่า ซู จาก AMD คว้า CEO แห่งปี 2024 จากนิตยสาร TIME

ลิซ่า ซู ซีอีโอ AMD ได้รับเลือกให้เป็นซีอีโอแห่งปี 2024 จากนิตยสาร TIME โดยได้รับการยกย่องในวิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำที่สามารถพลิกฟื้น AMD จากการเกือบล้มละลายเมื่อ 10 ปีก่อน กลายเ...