หัวเว่ยเปิดฉาก HUAWEI CONNECT 2022 งานมหกรรมประจำปีระดับโลกด้านเทคโนโลยีไอซีที ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 โดยเริ่มขึ้นวันนี้ ณ กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด ‘ปลดปล่อยพลังแห่งดิจิทัล’ (Unleash Digital) โดยรวบรวมผู้นำอุตสาหกรรมไอซีที รวมถึงผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรทั่วโลกกว่า 10,000 คนร่วมหารือแนวทางปลดล็อคศักยภาพด้านดิจิทัล, ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, และพัฒนาอีโคซิสเต็มดิจิทัลให้แข็งแกร่ง
ภายในงาน หัวเว่ยได้ร่วมแบ่งปันกลยุทธ์เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าด้านดิจิทัลในหลากหลายอุตสาหกรรม และเปิดตัวนวัตกรรมบริการคลาวด์ขั้นสูงใหม่กว่า 15 รายการสำหรับตลาดโลก
นายเคน หู ประธานกรรมการบริหารหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวปาฐกถาพิเศษเปิดงานโดยเน้นย้ำบทบาทสำคัญ 3 ประการของอีโคซิสเต็มด้านไอซีทีในการช่วยขจัดอุปสรรคระหว่างการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล
• สนับสนุนและผลักดันโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลรวมถึงเทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่มีเสถียรภาพและทรัพยากรด้านการประมวลผลที่เสถียรและมีความหลากหลาย
• ส่งเสริมองค์กรรุดหน้าไปกว่าการใช้ระบบคลาวด์พื้นฐาน โดยดึงประโยชน์สูงสุดจากคลาวด์มาใช้ และมุ่งเน้นการบริการด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาแบบก้าวกระโดด
• สร้างอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลในท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาพันธมิตร การเสริมความแข็งแกร่งของกลุ่มบุคลากรด้านดิจิทัล และให้การสนับสนุนเพิ่มเติมสำหรับเอสเอ็มอี
ในช่วงสองปีที่ผ่านมา การเติบโตของจีดีพีทั่วโลกไม่คงที่ มีเพียงเศรษฐกิจดิจิทัลเท่านั้นที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระดับโลก หรือมากกว่า 15% ในปี พ.ศ. 2564 หลายองค์กรจึงพลิกโฉมการดำเนินงานและการให้บริการด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลล้ำสมัย
“การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลเป็นตัวเลือกที่ถูกต้อง เพราะมีความต้องการในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็พร้อมแล้ว ขณะนี้ ทั้งโลกพร้อมแล้วที่จะปลดปล่อยศักยภาพแห่งดิจิทัลออกมา” นายเคน หู กล่าวเสริม
นาย จาง ผิงอัน ประธานกรรมการบริหาร ธุรกิจ หัวเว่ย คลาวด์ ประกาศเปิดตัวหัวเว่ย คลาวด์ ระดับภูมิภาค (Huawei Cloud Regions) ในอินโดนีเซียและไอร์แลนด์ และภายในสิ้นปีพ.ศ. 2565 หัวเว่ย คลาวด์จะเปิดใช้งาน ศูนย์ข้อมูล (Availability Zone - AZ) 75 แห่งใน 29 ภูมิภาคทั่วโลก พร้อมให้บริการในประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ กว่า 170 แห่ง
นอกจากนี้ หัวเว่ย คลาวด์และพันธมิตรยังได้เปิดตัวแผนพัฒนาอีโคซิสเต็ม ‘ก้าวไปกับคลาวด์ ก้าวสู่ระดับโลก’ (Go Cloud, Go Global) โดยมุ่งเน้นกลยุทธ์ ‘นวัตกรรมบริการรอบด้าน’ (Everything as a Service) โดยแผนการดำเนินงานนี้จะเร่งการพัฒนาอีโคซิสเต็มของอุตสาหกรรมดิจิทัลทั่วโลกเพื่อผลักดันนวัตกรรมและความสำเร็จร่วมกัน
สืบเนื่องจากความร่วมมือนี้ แจ็กเกอลีน ซือ ประธานฝ่ายการตลาดและการขายระหว่างประเทศของหัวเว่ย คลาวด์ ประกาศเปิดตัวนวัตกรรมบริการขั้นสูงกว่า 15 รายการเป็นครั้งแรกในโลก รวมถึงคลัสเตอร์คลาวด์ความเร็วสูง (CCE Turbo), บริการคลาวด์เนทีฟแบบทุกหนทุกแห่ง (Ubiquitous Cloud Native Service - UCS), ตลอดจนโมเดล AI Pangu เพื่อประยุกต์ใช้กับการพยากรณ์คลื่นลมทะเล (Pangu wave model), รวมถึงบริการขั้นสูงอื่น ๆ อาทิ DataArts LakeFormation, Virtual Live, CodeCheck, CloudTest, KooMessage, KooSearch, และ KooGallery
ภายในงาน หัวเว่ยตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน โดยจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อปลูกฝังอีโคซิสเต็มดิจิทัลในท้องถิ่นให้แข็งแกร่ง โดยการสร้างพันธมิตรด้านเทคโนโลยี, ส่งเสริมทักษะบุคลากรด้านดิจิทัล, และผลักดันธุรกิจสตาร์ทอัพ
นายไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวปาฐกถาหัวข้อ ‘ระบบเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นดิจิทัลเป็นหลัก’ (Digital First Economy) โดยให้ข้อมูลเชิงลึกในข้อเสนอแนะด้านนโยบายการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่า “ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคือผู้นำของภูมิทัศน์ดิจิทัลทั่วโลก หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สนับสนุนหลักด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก และพร้อมผลักดันการเข้าเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลตลอดจนส่งเสริมนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนและร่วมสร้างอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้”
นอกจากนี้ แขกผู้มีเกียรติผู้แทนรัฐบาลจากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ร่วมปราศรัยเพื่อแบ่งปันความคืบหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในแต่ละประเทศให้รุดหน้า อาทิ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม, นายอัยลางกา ฮาตาโต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประสานงานด้านเศรษฐกิจสาธารณรัฐอินโดนีเซีย, นายมูฮัมหมัด อับดุล มานนาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนแห่งบังกลาเทศ, นาย เดวิด อัลมิรอล ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์, กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประเทศฟิลิปปินส์ และ ดร. หยาง มี เอง กรรมการบริหารมูลนิธิอาเซียน
1. การประกาศสร้าง Startup 10,000 เจ้า ภายใน 3 ปี และการเผยกลยุทธ์ของ Huawei Cloud เป็นครั้งแรก
2. ใน 3 ปีข้างหน้า หัวเว่ยจะลงทุนกว่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนพาร์ทเนอร์ทั่วโลก พร้อมเปิดตัวโปรดักส์ใหม่ 26 ตัว
3. ประกาศเปิดตัว Cloud Region อย่างเป็นทางการ ณ อินโดนีเซีย และไอร์แลนด์ มุ่งสู่ระบบดิจิทัลระดับโลกอย่างสมบูรณ์
4. การสร้างแบบจำลองยาระดับโมเลกุล โดยใช้ AI ภายใต้โมเดล Pangu ซึ่งเป็นยาปฎิชีวนะ กลุ่มแรกของโลกในรอบ 40 ปี ช่วยลดต้นทุน R&D ราว 70%
5. มีการเปิดตัว Whitepaper งาน 'การก้าวไปสู่โลกอัจฉริยะ'
6. การแถลงแนวคิด Unleash Digital เพื่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ยั่งยืน ใน Exhibitoin พร้อมกรณีศึกษา ธนาคาร Unionbank ฟิลิปปินส์, เว็บไซต์ Detik อินโดนีเซีย, โรงพยาบาลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประเทศกัมพูชา และ Rural Star ประเทศมาเลเซีย
7. เปิดตัวโปรดักส์ และโซลูชั่นจาก 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ พร้อมกรณีศึกษา หัวเว่ย คลาวด์ ในธนาคารดิจิทัล กรีนลิงก์จากสิงคโปร์, ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเทศไทย, Giti Tire - Gtech อินโดนีเซีย และกลุ่มธุรกิจฟูลเลอร์ตัน สิงคโปร์
8. ความก้าวหน้าของหัวเว่ย คลาวด์เพื่อความยั่งยืน และโครงการ Spark Accelerator
9. แคมปัสอัจฉริยะ มศว. ตัวอย่างการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของมหาวิทยาลัย
10. งานสัมมนา Asia Digital Talent Summit
นอกจากการเปิดฉากมหกรรมเทคโนโลยีไอซีที ‘HUAWEI CONNECT 2022’ ที่กรุงเทพฯ แล้ว HUAWEI เตรียมเดินสายจัดงานทั่วโลก โดยเริ่มที่กรุงเทพฯ เป็นเวลา 3 วัน ภายในงานดังกล่าวมีการกล่าวปาฐกถา 2 ครั้ง การประชุม 6 ครั้ง และการอภิปรายย่อยพร้อมการสาธิตเทคโนโลยีอีกมากมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเจาะลึกความท้าทายที่รัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ ต้องเผชิญตลอดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล รวมถึงการความรุดหน้าด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของหัวเว่ย และการจัดแสดงเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของบริการหัวเว่ย คลาวด์รวมถึงโซลูชันจากเหล่าพันธมิตรอย่างเต็มรูปแบบ สำหรับรายละเอียดในงานเพิ่มเติมที่ Huawei
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด