IBM เปิดตัว IBM Blockchain Worldwire เครือข่ายการชำระเงินทั่วโลก

IBM เปิดตัว IBM Blockchain Worldwire เครือข่ายการชำระเงินทั่วโลกใน 50 ประเทศ

IBM เปิดตัว “ไอบีเอ็มบล็อกเชนเวิลด์ไวร์” (IBM Blockchain World Wire) เครือข่ายการชำระเงินทั่วโลกแบบเรียลไทม์สำหรับสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล เตรียมเดินหน้าขยายการให้บริการไปสู่ประเทศต่างๆ  

เวิลด์ไวร์เป็นเครือข่าย Blockchain แห่งแรกที่รวมระบบข้อความการชำระเงิน (payment messaging) การหักบัญชี (clearing) และการชำระดุล (settlement) ไว้ในเครือข่ายเดียว ได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเร็วในการแลกเปลี่ยนเงินตรา การชำระเงินข้ามประเทศ และการโอนเงิน โดยเปิดให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกได้ว่าจะใช้สินทรัพย์ดิจิทัลสกุลใดในการชำระดุล

"เราได้พัฒนาเครือข่ายการชำระเงินรูปแบบใหม่ ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการโอนเงินและเปิดมิติใหม่ของการชำระเงินข้ามประเทศ อันจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับการเคลื่อนย้ายเงินในประเทศที่มีความจำเป็นต้องใช้ระบบนี้มากที่สุด" ปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว "ไอบีเอ็มคาดหวังว่าการสร้างเครือข่ายที่ช่วยให้สถาบันการเงินสามารถให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลได้หลากหลายประเภท จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินทั่วโลก"

ปัจจุบันเวิลด์ไวร์เปิดให้บริการใน 72 ประเทศ 47 สกุลเงิน และในธนาคาร 44 แห่ง โดยไอบีเอ็มกำลังเดินหน้าขยายเครือข่ายกับสถาบันการเงินทั่วโลก ภายใต้กฎข้อบังคับของแต่ละประเทศที่ทำหน้าที่กำหนดทิศทางในการเปิดใช้บริการ

เวิลด์ไวร์เป็นรูปแบบบริการการชำระเงินข้ามประเทศที่ช่วยลดความซับซ้อน โดยใช้โปรโตคอลของสเตลลาร์ (Stellar) เพื่อให้สามารถโอนเงินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แทนวิธีการโอนเงินผ่านธนาคารตัวแทนต่างประเทศแบบทั่วไปที่มีความซับซ้อน แนวทางนี้ช่วยลดตัวกลางในการโอนเงิน และช่วยให้ผู้ใช้สามารถดำเนินการชำระดุลได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ผ่านการส่งมูลค่าเงินในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัล หรือที่เป็นที่รู้จักในนามคริปโตเคอร์เรนซี (crytocurrency) หรือ "สเตเบิลคอยน์" (stable coin) วิธีนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการบริหารสภาพคล่อง เพิ่มความคล่องตัวในการตรวจสอบยอดชำระเงิน และลดต้นทุนการทำธุรกรรมโดยรวมให้แก่สถาบันทางการเงิน  

ปัจจุบันเครือข่ายเวิลด์ไวร์สามารถรองรับการชำระดุลโดยใช้สเตเบิลคอยน์สเตลลาร์ลูเมนส์และดอลลาร์สหรัฐได้แล้ว อันเป็นผลจากความร่วมมือระหว่างไอบีเอ็มและสตรองโฮลด์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ขณะนี้ยังมีธนาคารระหว่างประเทศ 6 แห่ง อาทิ ธนาคารบังโก บราเดสโก ธนาคารปูซาน ธนาคารพาณิชย์ริซัล (RCBC) ที่ลงนามในหนังสือแสดงเจตนารมณ์เพื่อจัดตั้งสเตเบิลคอยน์ของตนเองบนเวิลด์ไวร์ และกำลังรอการอนุมัติจากหน่วยงานที่ตรวจสอบและกํากับดูแลต่างๆ ซึ่งจะนำสู่การเพิ่มสเตเบิลคอยน์ในสกุลเงินยูโร รูเปียห์ (อินโดนีเซีย) เปโซ (ฟิลิปปินส์) วอน (เกาหลี) และเรียล (บราซิล) เข้าสู่เครือข่าย โดยไอบีเอ็มจะเดินหน้าขยายอิโคซิสเต็มของเวิลด์ไวร์ตามที่ลูกค้าได้แจ้งความประสงค์เข้ามาต่อไป

"บราเดสโกได้ปรับใช้นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้แก่ลูกค้า รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการ" ลูอิซ คาร์ลอส บรานเดา คาวาลคานติ จูเนียร์ กรรมการบริหารฝ่ายนวัตกรรมและช่องทางดิจิทัลแห่งธนาคารบังโก บราเดสโก กล่าว "เครือข่ายเวิลด์ไวร์ตอบโจทย์เป้าหมายของเราทั้งสองด้าน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธนาคารบราเดสโก รวมถึงลูกค้าของธนาคารในบราซิล"

"RCBC มีความยินดีที่ได้เป็นหนึ่งในผู้นำนวัตกรรมรายแรกๆ ที่วางแผนที่จะออกสเตเบิลคอยน์สกุลเงินเปโซของตัวเองบนเวิลด์ไวร์ โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างรอการอนุมัติขั้นสุดท้ายจากหน่วยงานที่กำกับดูแล" แมนนี ที. นาร์ซิสโค รองประธานอาวุโสแห่งธนาคารพาณิชย์ริซัล (RCBC) กล่าว "เราให้ความสำคัญกับนวัตกรรมที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้าของเรา และเวิลด์ไวร์ก็ได้แสดงให้เห็นโอกาสมากมายในการพลิกโฉมและเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่โครงสร้างพื้นฐานด้านการชำระเงินของเรา"

ปัจจุบันเวิลด์ไวร์ยังคงเปิดให้ใช้งานในวงจำกัด และกำลังขยายการใช้งานเพิ่มขึ้นในประเทศต่างๆ  สำหรับองค์กรที่สนใจ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ibm.com/blockchain/solutions/world-wire

เกี่ยวกับไอบีเอ็ม

ไอบีเอ็มได้รับการยอมรับในฐานะผู้ให้บริการบล็อกเชนชั้นนำสำหรับองค์กร ผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัย ไอที และธุรกิจของไอบีเอ็ม ได้ทำงานร่วมกันเพื่อทลายข้อจำกัดในแง่ความเร็วของการประมวลผลธุรกรรม รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีการเข้ารหัส (Cryptography) ที่ก้าวล้ำที่สุด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับการทำธุรกรรม นอกจากนี้ไอบีเอ็มยังมีส่วนร่วมในการมอบโค้ดแบบโอเพ่นซอร์สจำนวนหลายล้านบรรทัดเพื่อพัฒนาบล็อกเชนสำหรับธุรกิจ

ไอบีเอ็มเป็นผู้นำโซลูชันบล็อกเชนแบบโอเพ่นซอร์สสำหรับองค์กร นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 เป็นต้นมา ไอบีเอ็มได้ทำงานร่วมกับลูกค้าหลายร้อยรายในอุตสาหกรรมการเงิน ซัพพลายเชน ภาครัฐ ค้าปลีก การจัดการสิทธิ์ดิจิทัล และการดูแลสุขภาพ เพื่อนำบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้ และบริหารจัดการการทำงานของเครือข่ายจำนวนมากทั้งที่ใช้งานจริงแล้วและยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา แพลตฟอร์มไอบีเอ็มบล็อกเชนบนคลาวด์ให้บริการที่ครอบคลุมและจำเป็นสำหรับลูกค้าในการนำมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งพัฒนา ดำเนินการ ควบคุม และรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายธุรกิจของตน

ไอบีเอ็มเป็นสมาชิกรายแรกๆ ของไฮเปอร์เลดเจอร์ ซึ่งเป็นความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ภายใต้รูปแบบโอเพ่นซอร์ส

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกี่ยวกับไอบีเอ็มบล็อกเชนได้ที่ https://www.ibm.com/blockchain/

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...