Blockchain, AI, IBM

IBM Thailand เผยทิศทางกลยุทธ์ ชูจุดเด่นด้านเทคโนโลยี AI และ Blockchain

ข้อมูลที่เติบโตอย่างรวดเร็วในปริมาณมหาศาลได้กลายเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของโลก แต่กว่า 80% ยังคงเป็นข้อมูลแบบไร้โครงสร้าง..ที่คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันยังไม่มีความสามารถในการเข้าใจและนำมาใช้ และจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี AI หรือค็อกนิทิฟในการถอดรหัสให้ข้อมูลเหล่านั้นกลายเป็นมุมมองเชิงลึกเพื่อเป็นประโยชน์แก่การต่อยอดทางธุรกิจต่อไป

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเกิดขึ้นของ disruptive technology ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น AI,  IoT, Blockchain, Cloud หรือแม้แต่ Quantum computing เทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนแล้วกำลังสร้างผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตและธุรกิจมากมาย ส่งผลให้องค์กรต่างๆ ต้องหันมาปรับตัว ปรับวิธีคิดและแนวทางการทำงาน รวมถึงนำเทคโนโลยีเข้ามาสร้างคุณค่าใหม่ๆ ให้ผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อเป็นเครื่องมือเสริมความแข็งแกร่งให้องค์กรพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

การเติบโตของข้อมูลและบทบาทของเทคโนโลยี AI ข้อมูลที่เติบโตอย่างรวดเร็วในปริมาณมหาศาลได้กลายเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของโลก แต่กว่า 80% ยังคงเป็นข้อมูลแบบไร้โครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากภาพ เสียง เซ็นเซอร์ วิดีโอ ฯลฯ ที่คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันยังไม่มีความสามารถในการเข้าใจและนำมาใช้ และจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี AI หรือค็อกนิทิฟในการถอดรหัสให้ข้อมูลเหล่านั้นกลายเป็นมุมมองเชิงลึกเพื่อเป็นประโยชน์แก่การต่อยอดทางธุรกิจต่อไป

“ไอบีเอ็ม วัตสัน” ถือเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่มีศักยภาพสูง ปัจจุบันถูกนำไปใช้แล้วในกว่า 16,000 องค์กร ใน 20 อุตสาหกรรม ใน 80 ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการเงิน ค้าปลีก การดูแลสุขภาพ เหมืองแร่ การโรงแรม ฯลฯ และเป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังผลิตภัณฑ์และบริการที่ผู้บริโภคกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลกกำลังใช้อยู่ในทุกวันนี้

ตัวอย่างการนำวัตสันมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทย อาทิ

  • ปี 2016 ปตท. ได้ตัดสินใจนำเทคโนโลยี IBM Watson IoT มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการดำเนินการของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยนำร่องใช้กับชุดอุปกรณ์ Gas Turbine ของโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ระยอง ช่วยให้ ปตท. สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกจากเซ็นเซอร์หลายร้อยตัวจากหลายระบบ ร่วมกับข้อมูลประวัติจากระบบวัดประสิทธิภาพการทำงานและการบำรุงรักษา ช่วยให้ผู้บริหารตลอดจนวิศวกรของปตท. สามารถมองเห็นรูปแบบของ KPI และความเชื่อมโยงของข้อมูลต่างๆ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน พร้อมแจ้งเตือนผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะเกิดปัญหาความล้มเหลวของระบบขึ้น ส่งผลให้ ปตท. สามารถลดค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลที่เกิดจากการรีเซ็ทการทำงานของชุดอุปกรณ์ Gas Turbine หลังจากเกิดเหตุหยุดทำงาน
  • ปี 2018 กลุ่มสามารถจับมือ IBM Security ผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคามไซเบอร์ หรือ Cyber Security Operation Center (CSOC) นำระบบ Watson for Cyber Security ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาสาเหตุของภัยคุกคามเป็นรายแรกในประเทศไทย โดยใช้แนวทางเดียวกับศูนย์ CSOC ของ IBM ทั่วโลก รองรับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมง
  • ปี 2018 บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (PTTPM) นำระบบ AI ที่ชื่อว่า Watson มาใช้ในกระบวนการตรวจสอบ LC เป็นรายแรกในอาเซียน โดยบุคลากรของ PTTPM สามารถฝึกฝน Watson ให้ตรวจสอบข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ ของ LC ได้โดยปราศจากอคติเอนเอียง สามารถปรับรูปแบบการทำงานตามบริบทของอุตสาหกรรม โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมหรือใช้ทักษะทางเทคนิคเชิงลึกแต่อย่างใด ให้ผู้ตรวจสอบ LC ของ PTTPM สามารถลดเวลาการตรวจสอบลง แต่เพิ่มความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น และช่วยเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คุณปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ IBM

Blockchain เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนโลกเช่นเดียวกับเมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตเข้ามาพลิกรูปแบบการทำธุรกิจในอดีต รายงานของการ์ทเนอร์ระบุว่ามูลค่าเพิ่มที่ Blockchain จะก่อให้เกิดสำหรับธุรกิจทั่วโลกจะสูงถึงกว่า 6 ล้านล้าน บาท ($176 billion) ในปี พ.ศ. 2568 และสูงถึงกว่า 108 ล้านล้านบาท ($3.1 trillion) ภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งการเติบโตลักษณะนี้เป็นแพทเทิร์นที่มักเกิดขึ้นกับเทคโนโลยีเกิดใหม่ (emerging technology) ที่สำคัญๆ

ปัจจุบันบริการ Blockchain ของไอบีเอ็มได้รับการจัดอันดับโดย Juniper Research ให้เป็นอันดับ 1 ของโลก โดยBlockchainจะทำให้รูปแบบการทำธุรกรรมที่เราคุ้นเคยในทุกวันนี้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง จากความยุ่งยากซับซ้อนอันเกิดจากการผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย การส่งต่อข้อมูล เอกสารที่เป็นกระดาษ กระบวนการหลายขั้นตอน หรือระยะเวลาในการทำข้อตกลงที่มักจะยาวนานถึง   20 วันหรือมากกว่านั้น สู่การเก็บข้อมูลอ้างอิงแบบเรียลไทม์ มีการตรวจสอบ และแชร์ข้อมูลให้เฉพาะบุคคลหรือหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น จึงเป็นระบบข้อมูลจริงที่มีความเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้การดำเนินการที่กินเวลาและใช้ต้นทุนสูงหมดไป มีการตรวจสอบความถูกต้องหรือประวัติเครดิตและติดตามได้ในทันที สร้างความเชื่อถือและความโปร่งใสให้กับข้อมูลและธุรกรรมต่างๆ ซึ่งทำให้ธุรกรรมที่ผิดพลาดหรือการฉ้อโกงหมดไป พร้อมกับต้นทุนการทำธุรกรรมที่ลดลงเมื่อเทียบกับระบบการทำธุรกรรมแบบเดิม

รายงานของการ์ทเนอร์ระบุว่ามูลค่าเพิ่มที่ Blockchain จะก่อให้เกิดสำหรับธุรกิจทั่วโลกจะสูงถึงกว่า 6 ล้านล้าน บาท ($176 billion) ในปี พ.ศ. 2568 และสูงถึงกว่า 108 ล้านล้านบาท ($3.1 trillion) ภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งการเติบโตลักษณะนี้เป็นแพทเทิร์นที่มักเกิดขึ้นกับเทคโนโลยีเกิดใหม่ (emerging technology) ที่สำคัญๆ

ตัวอย่างการนำ Blockchain มาใช้ในประเทศไทย

  • ในปี 2017 ธนาคารกสิกรไทยร่วมกับไอบีเอ็มในการนำเทคโนโลยี Blockchain สร้างระบบต้นแบบใช้รับรองเอกสารต้นฉบับ นอกจากนี้ ได้ทำการทดสอบบริการบน Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย และจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล และบจก. พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง ร่วมพัฒนาบริการหนังสือค้ำประกันบนเทคโนโลยี Blockchain (Enterprise Letter of Guarantee on Blockchain) เพื่อยกระดับการจัดการเอกสารหนังสือค้ำประกันแก่หน่วยงานผู้รับหนังสือค้ำประกัน และคู่ค้าผู้วางหนังสือค้ำประกัน ต่อมาในปี 2018 ภายใต้การนำของธนาคารแห่งประเทศไทย 14 ธนาคารในไทย ได้จับมือรัฐวิสาหกิจและองค์กรธุรกิจใหญ่ 7 แห่ง ก่อตั้ง Thailand Blockchain Community Initiative บนแพลตฟอร์ม IBM Blockchain เพื่อนำเทคโนโลยี Blockchain ยกระดับประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจของประเทศ โดยเริ่มต้นด้วยโครงการบริการหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์บนระบบ Blockchain สร้างโครงข่ายหนังสือค้ำประกันที่สะดวกปลอดภัยบน Blockchai nเป็นครั้งแรกของไทย นำระบบหนังสือค้ำประกันวงเงิน 1.35 ล้านล้านบาท สู่ยุคเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ 100% ซึ่งจะนำสู่การลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 2 เท่า
  • ในปี 2017 กรุงศรีและไอบีเอ็มประกาศความสำเร็จของโครงการนำร่องใช้เทคโนโลยี Blockchain เพื่อบริหารกระบวนการจัดการเอกสารสัญญาต่างๆ ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัย การทำธุรกรรมมีความโปร่งใส ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดระยะเวลาในการดำเนินงาน
  • ปี 2018 ธนาคารแห่งประเทศไทยจับมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และธนาคารตัวแทนจำหน่าย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยและ IBM ร่วมพัฒนาระบบบนเทคโนโลยี Blockchain สำหรับงานจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์รัฐบาล โดยผลจาก Proof of Value พบว่าระบบดังกล่าวช่วยให้ประชาชนได้พันธบัตรเร็วขึ้น จากเดิมใช้เวลา 15 วัน เหลือเพียง 2 วัน และยังสามารถเลือกซื้อเต็มสิทธิผ่านธนาคารใดก็ได้ อีกทั้งยังช่วยลดขั้นตอนการทำงานของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องลง ช่วยให้ผู้ออกพันธบัตรสามารถบริหารจัดการวงเงินได้เร็วขึ้น : นำสู่การลดต้นทุนการดำเนินงานของทั้งระบบที่มีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น

ไอบีเอ็มในวันนี้

ในปี 2017 ไอบีเอ็มได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 3 องค์กรไอทีชั้นนำของโลก โดยปัจจุบันเทคโนโลยีของไอบีเอ็มอยู่เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรชั้นนำมากมาย อาทิ

  • 95% ของบริษัทใน Fortune 500 เป็นลูกค้าของไอบีเอ็ม
  • ไอบีเอ็มบริหารจัดการข้อมูลถึง 75% ของข้อมูลธุรกิจทั่วโลก
  • ธนาคารชั้นนำ 10 ใน 10 แห่ง ธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ 9 ใน 10 แห่ง และสายการบินชั้นนำ 8 ใน 10 แห่ง ใช้ไอบีเอ็มคลาวด์
  • ธนาคารชั้นนำ 10 ใน 10 แห่ง ธุรกิจประกันภัยชั้นนำ 9 ใน 10 แห่ง ธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ 8 ใน 10 แห่ง และธุรกิจการดูแลสุขภาพชั้นนำ 8 ใน 10 แห่ง ใช้ IBM Power Systems เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
  • ปัจจุบันไอบีเอ็มมีโครงการด้านบล็อกเชนกับลูกค้ากว่า 400 รายทั่วโลก
  • ไอบีเอ็มถือเป็นองค์กรแห่งเดียวที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมขนาด 50 คิวบิทที่สามารถใช้งานได้จริง และมีการร่วมพัฒนาโครงการกับลูกค้าแล้ว อาทิ เจพีมอร์แกนเชส (การบริหารจัดการความเสี่ยง) เดมเลอร์ (รถไร้คนขับ) และเจเอสอาร์ (การคิดค้นวัสดุใหม่ๆ)​ เป็นต้น

พันธกิจของไอบีเอ็ม ประเทศไทย

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย มีพันธกิจสำคัญ 3 ประการ คือ

1.การช่วยให้ธุรกิจสามารถก้าวนำด้วย Digital Transformation โดยมุ่งเน้น 4 ด้านสำคัญ ประกอบด้วย

  • การเปิดตัวเครื่องมือด้าน AI ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์แต่ละอุตสาหกรรม ทั้ง 9 อุตสาหกรรม ได้แก่ การเกษตร การบริการลูกค้า งานทรัพยากรบุคคล การตลาด การโฆษณา เครื่องมือทางอุตสาหกรรม อาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก ยานยนต์ และซัพพลายเชนส์
  • การนำแพลตฟอร์ม Blockchain จากความร่วมมือกับองค์กรระดับโลกเข้าต่อยอดธุรกิจในประเทศไทย อาทิ แพลตฟอร์ม Tradelens สำหรับการขนส่งและระบบลอจิสติกส์ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างไอบีเอ็มและเมอส์ก แพลตฟอร์ม Food Trust เพื่อการตรวจสอบที่มาและความปลอดภัยของอาหารทั่วทั้งซัพพลายเชนจากฟาร์มสู่ผู้บริโภค อันเกิดจากความร่วมมือระห่างไอบีเอ็ม วอลมาร์ท และบริษัทอาหารชั้นนำระดับโลก เป็นต้น
  • การนำเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มไฮบริดคลาวด์-มัลติคลาวด์เข้าตอบโจทย์ความท้าทายการใช้คลาวด์ ปลดล็อคปัญหาขององค์กรที่เผชิญข้อจำกัดจากการใช้คลาวด์จากผู้ให้บริการหลายเจ้า ช่วยให้องค์กรสามารถย้ายไปสู่คลาวด์ขณะที่ยังสามารถใช้แอพสำคัญๆ (mission-critical applications) และข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนบนระบบ on-premise ได้ พร้อมรองรับการพัฒนาโซลูชันบล็อกเชน ดาต้าไซน์ส อินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ ฯลฯ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • การนำเทคโนโลยี AI เพิ่มศักยภาพงานด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้

2.การถ่ายทอดองค์ความรู้และจับมือกับพันธมิตร รวมถึงการสร้าง Ecosystem รองรับ เพื่อช่วยองค์กรไทยเร่งการนำเทคโนโลยีมาใช้ต่อยอดธุรกิจ อาทิ การร่วมสร้างศูนย์เทคโนโลยีด้านคลาวด์ ซิเคียวริตี้ ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที และบริการด้านไอที เป็นต้น

3.การขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศอินโดจีน ครอบคลุมพม่า ลาว และกัมพูชา

ทั้งนี้ สิ่งที่ไอบีเอ็มให้ความสำคัญควบคู่ไปด้วยคือการสร้างทักษะของบุคลากรให้พร้อมสำหรับธุรกิจและเทคโนโลยีต่างๆ ที่เปลี่ยนไปและพร้อมเป็นกำลังสำคัญของบริษัทในการขยายตลาดสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน รวมถึงการสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านไอทีแห่งอนาคต ผ่านความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และโครงการด้านการศึกษาของไอบีเอ็ม อาทิ PTECH (Pathways in Technology Early College High School) เป็นต้น

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Gartner คาดการณ์ความท้าทายองค์กรยุค AI พนักงานอาจเจอปัญหาเสพติดดิจิทัล โครงสร้างองค์กรอาจเปลี่ยนไป

Gartner บริษัทวิจัย และให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เผยการคาดการณ์กลยุทธ์สำคัญสำหรับปี 2025 โดยชี้ให้เห็นว่า Generative AI กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญ และจะส่งผลกระทบต่อการทำงา...

Responsive image

จุดสีส้มบน iPhone และจุดสีเขียวบน Android หมายความว่าอย่างไร ?

รู้หรือไม่? จุดสีส้มบน iPhone และจุดสีเขียวบน Android บ่งบอกว่ากล้องหรือไมโครโฟนกำลังทำงาน ควบคุมความเป็นส่วนตัวของคุณด้วยเคล็ดลับง่ายๆ ที่ต้องรู้!...

Responsive image

สรุปอนาคตงานปี 2025-2030 จาก World Economic Forum งานไหนมาแรง ทักษะใดสำคัญ

World Economic Forum ออกรายงานประจำปีในหัวข้อ Future of Jobs Report 2025 เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดแรงงานในอนาคตโดยอ้างอิงข้อมูลจากนายจ้างกว่า 1,000 รายทั่วโลก ซึ่งเป็นตัวแทนของพ...