อินโดนีเซียพร้อมท้าไทย ชิงตำแหน่งงดีทรอยต์แห่งเอเชีย ในยุคที่รถ EV เป็นที่นิยม | Techsauce

อินโดนีเซียพร้อมท้าไทย ชิงตำแหน่งงดีทรอยต์แห่งเอเชีย ในยุคที่รถ EV เป็นที่นิยม

อินโดนีเซียกำลังก้าวขึ้นมาเพื่อท้าชิงตำแหน่ง “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” จากไทย หลังทั่วโลกหันไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ก็มาจากความได้เปรียบในด้านทรัพยากรพลังงานของอินโดนีเซีย 

ศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ของอินโดนีเซีย

ในการประชุมสุดยอดผู้นำ G-7 เมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น Joko Widodo ประธานาธิบดีของอินโดนีเซียได้เข้าหารือและเชิญชวนผู้นำระดับโลก ให้มาลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ของอินโดนีเซีย ขณะที่คู่แข่งอย่างประเทศไทยยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่

ผลวิจัยจาก Marklines ระบุว่า กำลังการผลิตยานยนต์ของไทยลดลงต่อเนื่องนับตั้งแต่ ปี 2556 ที่ผลิตได้มากที่สุด 2.45 ล้านคัน เหลือเพียง 1.88 ล้านคัน ในปี 2565 ที่ผ่านมา เท่ากับลดลง 23% โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการย้ายฐานการผลิตของบริษัทต่างๆ และวิกฤตน้ำท่วมในปี 2553 

ในขณะที่การผลิตรถยนต์ในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยกำลังผลิตได้มากถึง 1.47 ล้านคันในปี 2565 คาดว่าอาจเพิ่มขึ้นไปถึง 1.6 ล้านหน่วยในปีนี้

หากนับเฉพาะการผลิตรถยนต์ส่วนบุคคล อินโดนีเซียมีกำลังการผลิตที่มากกว่าไทยในปี 2557 และกำลังเพิ่มกำลังการผลิตอีก 2 เท่า 

การส่งเสริมในอุตสาหกรรม EV ที่เพิ่มขึ้นของอินโดนีเซีย

ตอนนี้กระแสการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก และนี่ถือเป็นโอกาสครั้งใหญ่ของอินโดนีเซีย หนึ่งในประเทศที่มีปริมาณสำรองนิกเกิลมากที่สุดในโลก ซึ่งนิกเกิลเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่รถ EV 

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมารัฐบาลอินโดนีเซีย ประกาศว่า Volkswagen และ Ford กำลังพิจารณาการลงทุน ในโครงการผลิตนิกเกิล ซึ่งสำหรับรายหลังถือเป็นการลงทุนครั้งแรกในภูมิภาคนี้ด้วย 

แบตเตอรี่ EV มีน้ำหนักหลายร้อยกิโลกรัมและโดยทั่วไปจะถูกผลิตใกล้กับโรงงานประกอบรถยนต์ การดึงดูดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ก็จะดึงดูดการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าด้วยเช่นกัน

ในอินโดนีเซียมีการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องผ่านนโยบายของรัฐบาล เช่น การลดภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในบางรุ่นจาก 11% เป็น 1% ซึ่งเริ่มในเดือนเมษายน รัฐบาลตั้งเป้าที่จะส่งเสริมการผลิตในประเทศพร้อมกับการขายไปด้วย โดยจำกัดสิทธิ์ไว้ที่รถยนต์ 1 คันที่ทำจากส่วนประกอบในประเทศอย่างน้อย 40%

ผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกให้การตอบรับในเชิงบวก Hyundai Motor ของเกาหลีใต้และ SAIC-GM-Wuling ของจีนเริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอินโดนีเซียในปี 2565 และมีการกล่าวกันว่า Tesla ใกล้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นในการสร้างโรงงานที่นั่น

LG Energy Solutions ของเกาหลีใต้กำลังสร้างโรงงานแบตเตอรี่ร่วมกับ Hyundai Motor โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในปี 2567 , CAL ของจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ EV รายใหญ่ที่สุดในโลกก็วางแผนที่จะสร้างโรงงานแห่งใหม่ในอินโดนีเซียเช่นกัน

ฝั่งไทยก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ

ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญตั้งแต่ปี 1960 โดยเฉพาะรถญี่ปุ่น และกลายเป็นฐานส่งออกสำหรับประเทศในภูมิภาค รวมถึงออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา 

แต่วันนี้เกมเปลี่ยนไปแล้ว รถยนต์ไฟฟ้ากำลังเข้ามา และผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นก็ขยับช้ากว่าฝั่งจีนและยุโรป ทำให้ไทยอาจจะต้องดิ้นรนเพื่อรักษาฐานการผลิตไว้ 

สำหรับในฝั่งของประเทศไทยเองก็ได้นิ่งนอนใจ เพราะมีการตั้งเป้าหมายสนับสนุนอุตสาหกรรม EV ให้รถยนต์ที่ผลิตออกมาภายในปี 2573 ต้องเป็น EV ถึง 30%

มีการสร้างแรงจูงใจด้วยการสนับสนุนสูงถึง 150,000 บาท สำหรับผู้ผลิตรถยนต์ EV ที่มีแผนในการตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย 

การเสียภาษีที่สินค้าหลักๆที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าจะลดลงจาก 8% เป็น 2% และรถกระบะ จะได้รับการยกเว้นภาษี และ รัฐบาลก็ยังประกาศยุทธศาสตร์การลงทุน 5 ปี โดยเริ่มต้นในปีนี้รวมถึงการยกเว้นภาษีสำหรับการ ผลิตรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงเป็นเวลา 10-13 ปี นอกจากนี้ผู้ผลิตเชื้อเพลิงทางชีวภาพยังมีสิทธิ์ ได้รับการลดหย่อนภาษีด้วยเช่นกัน

รถยนต์ไฟฟ้าของจีนปกติ 1 คันจะมีราคาไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท จะลดราคาประมาณ 200,000 บาท รวมถึงได้เงินสนับสนุนและการลดภาษีสินค้าโภคภัณฑ์ ตามข้อมูลของ Japan External Trade Organization โดยภาพรวมแล้วประเทศไทยจะพิจารณาทั้งภาพการผลิตและการขาย

ในเดือนกันยายน BYD ยักษ์ใหญ่ด้านรถยนต์ไฟฟ้าของจีนประกาศว่าจะสร้างโรงงานรถยนต์ไฟฟ้า ในจังหวัดระยองซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ผู้ผลิตรถยนต์สร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้านอกประเทศจีน

ในเดือนเมษายน Changan Automobile ของจีนประกาศว่าจะลงทุนถึง 9.8 พันล้านบาทกับโรงงานผลิต รถยนต์ EVในประเทศไทย อีกทั้งยังมี SAIC Motor และ Great Wall Motor ที่มีแผนในการผลิตรถยนต์ EV ในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

ไม่ใช่แค่กลุ่มผู้ผลิต EV จากประเทศจีน ฝั่งญี่ปุ่นก็มีด้วยเช่นกัน โดยในเดือนธันวาคม Toyota ประกาศว่าจะร่วมมือกับกลุ่มบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ของไทย เพื่อใช้ก๊าซชีวภาพที่ได้จากมูลสัตว์ เพื่อเป็นผลิตไฮโดรเจน โดยอาจนำไปใช้กับรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง

ประเทศไทยกำลังพัฒนาอุตสาหกรรม EV อย่างเป็นลำดับ ซึ่งแน่นอนว่ายังสนใจในรถยนต์พลังงานอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ทำให้ตอนนี้การแข่งขันระหว่างอินโดนีเซียและไทยเพื่อที่จะเป็น “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” จึงกำลังระอุขึ้นอย่างร้อนแรง 

ที่มา : Nikkei

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ Nike เผย 3 สิ่งที่ทำบริษัทพลาดมาตลอดจนทำให้ไนกี้ไม่เหมือนเดิม

ปลายปี 2024 ที่ผ่านมา Nike เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั่นคือ การลาออกของ John Donahole ในตำแหน่งซีอีโอ และได้ลูกหม้ออย่าง Elliott Hill ที่เริ่มทำงานกับ Nike มาอย่างยาวนานขึ้นมารับ...

Responsive image

กูเกิลปรับนิยาม "Googleyness" ใหม่ ซีอีโอเน้นกล้าคิด กล้าทำ มีเป้าหมาย เป็นคุณสมบัติที่มองหา

"Googleyness" คำที่เคยใช้อธิบายความเป็นกูเกิล ได้รับการปรับความหมายใหม่ในปี 2024 โดย Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลเอง เพราะที่ผ่านมาคำนี้ค่อนข้างกว้างและไม่ชัดเจน ในการประชุม Pich...

Responsive image

ญี่ปุ่นคิดค้น ‘เครื่องอาบน้ำมนุษย์’ อาบและเป่าแห้งเพียง 15 นาที

หมดข้ออ้างขี้เกียจอาบน้ำแล้ว บริษัท Science Co. ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตหัวฝักบัวจากญี่ปุ่น ได้เปิดตัว “เครื่องซักมนุษย์แห่งอนาคต” หรือ Mirai Ningen Sentakuki...