ส่องนโยบาย ‘ไทยรักษาชาติ’ ชูเทคโนโลยีขับเคลื่อนประเทศ

ส่องนโยบาย ‘ไทยรักษาชาติ’ ชูเทคโนโลยีขับเคลื่อนประเทศ

เป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันประเทศ แต่พรรคการเมืองส่วนใหญ่ไม่ได้นำส่วนนี้มาชูเป็นจุดขายเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม หนึ่งในพรรคที่มีการชูประเด็นเรื่องเทคโนโลยี ก็คือพรรคไทยรักษาชาติ เรามาดูกันว่าประเด็นที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง

ประเด็นเทคโนโลยีของพรรคไทยรักษาชาติ

พรรคไทยรักษาชาติ ได้ประกาศ 4 นโยบายเศรษฐกิจ ชูประเทศก้าวไกล เพิ่มรายได้ประชาชน โดย นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว. พลังงาน ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) กล่าวว่า พรรคไทยรักษาชาติ พร้อมเสนอ 4 นโยบายเศรษฐกิจ ในเบื้องต้นมีดังนี้

  1. ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส
  2. สร้างนโยบายโค้ดประเทศไทย เหมือนในสหรัฐฯ เพื่อนำมาใช้ในการให้บริการประชาชน เช่น การต่อคิวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ การขอใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าว การจ่ายค่าใบสั่ง เป็นต้น
  3. แก้ไข พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมเยาวชน และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยี
  4. นโยบายการปฏิรูปโครงสร้างราคาพลังงานและการกำจัดการผูกขาดในธุรกิจพลังงาน ทำการปรับปรุงอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันในอัตราที่เหมาะสม ปรับปรุงแผนการผลิตไฟฟ้าให้เข้ากับทิศทางของโลก เพื่อให้ประชาชนได้ใช้พลังงานในราคาที่ถูกและยุติธรรม

1. ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ขยายโอกาส

จริงๆ แล้วการใช้เทคโนโลยีมาเป็นนโยบายหลักนั้น เป็นนโยบายเดิมของพรรคไทยรักไทย แต่ปรับให้ทันสมัยมากกว่าเดิมเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยป้องกันการตกยุค

มุ่งการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ เพื่อนำประเทศให้ทันโลก ผู้นำที่ต้องมีความคิดก้าวไกล ไม่คิดแบบถอยหลัง ตัวอย่างนโยบาย เช่น การพัฒนา App ต่างๆ เข้ามาช่วยสนับสนุนนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์ และโดรน รวมถึง Big Data เข้ามาใช้พัฒนาในทุกด้าน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการ

2. นโยบายโค้ดประเทศไทย

นโยบายนี้เป็นรูปแบบจากสหรัฐ โดยจะเปิดกว้างให้ผู้มีความสามารถมาร่วมปฏิรูปประเทศไทย ผ่านการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาเขียนโค้ด (coding) เพื่อนำมาใช้ในการให้บริการประชาชน

นับว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทย เปิดกว้างให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถร่วมกันพัฒนาประเทศในแบบที่คนส่วนใหญ่อยากเห็น การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาเขียนโค้ดเป็นรูปแบบจากประเทศสหรัฐ โดยมีความเชื่อว่า หากเราทำการช่วยกันแก้ไขในหลายๆ จุด จากเรื่องเล็กไปสู่เรื่องใหญ่แล้ว ประเทศจะพัฒนาขึ้นเอง ตัวอย่างเช่น การลดเวลารอคิวเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลรัฐ การขอใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าว และการจ่ายค่าใบสั่ง เป็นต้น

คิดใหม่ ทำใหม่ กล้าเปลี่ยนแปลง

3. แก้ไข พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมเยาวชน และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยี

การสร้างสภาวะเหมาะสม เพื่อส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนด้านเทคโนโลยี โดยเริ่มจากการส่งเสริมและพัฒนากรอบความคิดของเยาวชน การส่งเสริมให้เกิด Co-working space ขึ้นหลายแห่ง ด้วยหลักการ 3I คือ Innovation, Inclusive, Interconnect

เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกระดับมีส่วนร่วม โดยเฉพาะประชาชนผู้มีรายได้น้อย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนทั้งหมด สร้างระบบ security ที่ปลอดภัย เร่งการพัฒนาแบบก้าวกระโดดโดยการเปิดกว้างให้ผู้มีความรู้ความสามารถทั้งใน และต่างประเทศได้เข้ามาร่วมคิดร่วมพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ยังรวมถึงการแก้ไขกฏระเบียบต่างๆ เพื่อเพิ่มความสะดวก และเกิดความคล่องตัวในการดำเนินการ ตัวอย่างเช่นการจดทะเบียนบริษัททำธุรกิจดิจิทัลได้ภายใน 1 วัน เป็นต้น และที่สำคัญที่สุดคือการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา ไม่ใช่นำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเหมือนที่เห็นกันในปัจจุบัน

4. นโยบายการปฏิรูปโครงสร้างราคาพลังงานและการกำจัดการผูกขาดในธุรกิจพลังงาน

การทำลายการผูกขาดในธุรกิจพลังงานทั้งหมด ซึ่งเรื่องนี้ได้เคยมีการเสนอไว้แล้ว ทั้งเรื่องราคาหน้าโรงกลั่น ราคาเอทานอล ราคาค่าการตลาด ตลอดจนการปรับปรุงอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม การปรับปรุงแผนการผลิตไฟฟ้าให้เข้ากับทิศทางของโลก รวมถึงการกำจัดการผูกขาดทางด้านพลังงานที่ต้องส่งเสริมให้มีการแข่งขัน ไม่ใช่เสมือนว่าแข่งขันแต่แท้จริงแล้วผูกขาดเหมือนในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้ใช้พลังงานในราคาที่ถูกลงและยุติธรรม การกำจัดการผูกขาดยังรวมถึงการผูกขาดธุรกิจในด้านอื่นๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้มีโอกาสเติบโตและพัฒนา

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...