INTOUCH ประกาศกำไรจากการดำเนินงานปี 62 อยู่ที่ 11,775 ลบ. โดย AIS-High Shopping-InVent ยังโตต่อเนื่อง | Techsauce

INTOUCH ประกาศกำไรจากการดำเนินงานปี 62 อยู่ที่ 11,775 ลบ. โดย AIS-High Shopping-InVent ยังโตต่อเนื่อง

INTOUCH ประกาศผลประกอบการปี 62 กำไรจากการดำเนินงาน 11,775 ล้านบาท โดยกำไรยังคงมาจาก เอไอเอส เป็นหลัก ขณะที่ไทยคมยังคงขาดทุน  ส่วนไฮ ช็อปปิ้ง และอินเว้นท์ ยังคงเติบโตต่อเนื่อง

INTOUCH เป็นบริษัท holding company ที่ถือหุ้นในธุรกิจสื่อสารและโทรคมนาคมเป็นหลัก ซึ่งจะถือหุ้นอยู่ใน บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) อยู่ 40.45% ถือหุ้น บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) อีกทั้งยังมีโครงการอินเว้นท์ ที่เป็น Venture Capital ลงทุนใน  start up เช่น ookbee wongnai eventpop choccocrm เป็นต้น

โดยบริษัท อินทัช โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช เปิดเผยว่า ในปี 2562 อินทัชได้สร้างผลตอบแทนรวมให้แก่ผู้ถือหุ้นร้อยละ 25 โดยเป็นผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และผลตอบแทน จากเงินปันผลรับร้อยละ 5 ซึ่งมากกว่าผลตอบแทนจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯที่อยู่เพียงร้อยละ 1 ทั้งนี้ อินทัชมุ่งหวังที่จะสร้างผลตอบแทนเพื่อสร้าง ความมั่งคั่งให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืน 

ซึ่งในปี 2562 ที่ผ่านมา เทคโนโลยี 5G ได้มีการกล่าวถึงอย่างแพร่หลาย พร้อมกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปิดรับการ ใช้งานดิจิทัลมากขึ้น อินทัชจึงแสวงหาการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดังกล่าวตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายในการดําเนินธุรกิจที่ได้กําหนดไว้ภายใต้ โครงการอินเว้นท์เป็นจํานวน 3 บริษัท และสนับสนุนให้บริษัทร่วมและบริษัทย่อยได้ทดลอง ค้นคว้า เพื่อหาธุรกิจที่จะมาส่งเสริมการเกิดขึ้นของ เทคโนโลยี 5G และรองรับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค

ผลประกอบการในปี 2562 อินทัชมีกําไรสุทธิจากการดําเนินงาน 11,083 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4 จากปี 2561 เนื่องจากในปี 2561 มีการบันทึก กําไรจากการขายซีเอสแอลของไทยคม ถึงแม้ว่าอินทัชจะรับรู้ผลขาดทุนจากการบันทึกรายการด้อยค่าของดาวเทียมไทยคม แต่รายการดังกล่าวมีจํานวน น้อยกว่าผลขาดทุนที่บันทึกในปี 2561 ซึ่งหากไม่รวมรายการพิเศษดังที่กล่าวมา อินทัชมีผลกําไรจากการดําเนินงานปกติที่ 11,775 ล้านบาท ใกล้เคียง กับปี 2561 เนื่องจากการรับรู้ผลกําไรที่ดีขึ้นร้อยละ 3 จากเอไอเอส มาอยู่ที่ 12,401 ล้านบาท  

ขณะที่รับรู้ผลขาดทุนจากไทยคม 233 ล้านบาท จากการ รับรู้ผลกําไร 59 ล้านบาท ในปี 2561ซึ่งผลประกอบการของเอไอเอสและไทยคมสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้

เอไอเอส มีผลกําไรสุทธิ (ที่ไม่รวมผลกระทบจาก TFRS15) ในปี 2562 ที่ 31,051 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีรายได้ จากการให้บริการหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ตามที่ได้คาดการณ์ไว้ ซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจํานวนลูกค้าจากการให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบรายเดือนและลูกค้าธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทั้งนี้ การแข่งขันการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี 2562 ปรับตัวดีขึ้น เหลือเพียงการแข่งขันเพื่อแย่งชิงลูกค้าระบบเติมเงิน จึงทําให้รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายต่อเดือน ณ ไตรมาส 4 ของปี 2562 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 260 บาท จาก 255 บาท ณ ไตรมาส 4 ของปี 2561

 ขณะที่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงยังคงมีการแข่งขันทางด้านราคาเพื่อแย่งชิงลูกค้าใหม่พร้อมทั้งรักษาฐาน ลูกค้าเดิมไว้ จึงทําให้เอไอเอสมีลูกค้าเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่กว่า 1 ล้านราย เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้คาดการณ์ไว้ แต่รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายต่อเดือนลดลง เหลือ 533 บาท ณ ไตรมาส 4 ของปี 2562 สําหรับรายได้อื่นยังคงเติบโตต่อเนื่อง จากการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์แก่ลูกค้าองค์กร ทางด้านต้นทุนและ ค่าใช้จ่ายยังมีการเพิ่มขึ้นจากการขยายโครงข่าย 4G และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ค่าใช้จ่ายทางการตลาด

รวมทั้ง ค่าใช้จ่ายพิเศษจาก พ.ร.บ.คุ้มครอง แรงงานฉบับใหม่ และการฉลองครบรอบ 30 ปี เอไอเอส จึงทําให้ EBITDA ในปี 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 และอัตรา EBITDA margin อยู่ที่ 42.8 ใกล้เคียงกับประมาณการที่คาดไว้ ทั้งนี้ อินทัชยังคงสัดส่วนการถือหุ้นเอไอเอสที่ ร้อยละ 40.45 และรับรู้ผลกําไรจากเอไอเอสตามสัดส่วนการถือหุ้นนั้น

ไทยคม มีผลขาดทุนสุทธิ 2,250 ล้านบาท ในปี 2562 พลิกจากผลกําไร 230 ล้านบาทในปี 2561 เนื่องจากในปี 2561 ไทยคมรับรู้กําไรจากการขาย ซีเอสแอลจํานวน 1,950 ล้านบาท ทั้งนี้ในปี 2562 ไทยคมได้บันทึกด้อยค่าของดาวเทียมและอุปกรณ์เป็นจํานวน 1,623 ล้านบาท จากเหตุขัดข้องทาง เทคนิคของระบบแจ้งสถานะของดาวเทียมไทยคม 5 และภาวะอุตสาหกรรมดาวเทียมที่ชะลอตัวลง 

พร้อมทั้งการแข่งขันที่รุนแรง จึงทําให้อัตราการใช้งาน ดาวเทียมแบบทั่วไปลดลงจากร้อยละ 59 ณ สิ้นปี 2561 มาอยู่ที่ร้อยละ 55 และดาวเทียมบรอดแบนด์ลดลงจากร้อยละ 30 มาอยู่ที่ ร้อยละ 23 โดยผล ขาดทุนจากการดําเนินงานปกติของไทยคมอยู่ที่ 432 ล้านบาท จากผลกําไร 82 ล้านบาทในปี 2561 ซึ่งเป็นผลจากรายได้จากการให้บริการดาวเทียมและ บริการที่เกี่ยวข้องลดลงเป็นหลัก จากการให้ส่วนลดแก่ลูกค้าหลักในประเทศไทยเพื่อต่อสัญญาระยะยาวและการยุติการใช้บริการของทีวีดิจิทัลบางช่องบน ดาวเทียมแบบทั่วไป ขณะที่ดาวเทียมบรอดแบนด์มีการใช้บริการลดลงจากลูกค้าต่างประเทศ 

ทางด้านต้นทุนในการให้บริการได้ปรับลดลงตามรายได้ที่ ลดลงแต่ในสัดส่วนที่น้อยกว่า เนื่องจากต้นทุนดาวเทียมส่วนใหญ่เป็นต้นทุนคงที่ ถึงแม้ว่าผลประกอบการของไทยคมจะลดลงทั้งในด้านรายได้และกําไร แต่สถานะทางการเงินยังคงแข็งแกร่ง โดยมีเงินกู้ยืมสุทธิ 4,203 ล้านบาท ลดลง จาก ณ สิ้นปี 2561 ที่ 7,023 ล้านบาท ขณะที่มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเป็นจํานวน 5,703 ล้านบาท และมีอัตราส่วนเงินกู้ยืมสุทธิต่อส่วนทุน เพียง 0.38 เท่า ลดลงจาก 0.53 เท่า ณ สิ้นปี 2561

ทางด้านผลการดําเนินงานของบริษัทอื่น ๆ ประกอบด้วย

ส่วนแบ่งกําไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้า: เป็นการรับรู้ผลกําไรจากบริษัทร่วมค้า ได้แก่ แอลทีซี และไฮ ช็อปปิ้ง ตามสัดส่วนการถือหุ้น

แอลทีซี เป็นการร่วมค้าทางอ้อมที่ลงทุนโดยไทยคม โดย ณ สิ้นปี 2562 แอลทีซียังสามารถรักษาการเป็นที่หนึ่งในด้านจํานวนผู้ใช้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ร้อยละ 55.3 ลดลงเล็กน้อยจากสิ้นปี 2561 ที่ร้อยละ 56.1 เนื่องจากการแข่งขันด้านราคาใน อุตสาหกรรม

 ไฮ ช็อปปิ้ง มีรายได้ปี 2562 ที่ 937 ล้านบาท หรือยอดขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 2.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากปีก่อน โดยได้ขยายฐานรายได้ ผ่านหลายช่องทาง เช่น การทําธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการช่องโทรทัศน์ต่างๆ การเก็บเงินค่าจัดส่งสินค้าจากลูกค้า และการนําเสนอสินค้าใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้าโดยตรง อย่างไรก็ตาม รายได้ในปี 2562 เติบโตต่ํากว่าที่คาดการณ์ไว้เนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โดยเฉพาะการออกอากาศบนช่องดาวเทียมที่เป็นแพลตฟอร์มหลัก

โครงการอินเว้นท์ ในปี 2562 อินเว้นท์ได้ลงทุนในบริษัทใหม่ทั้งสิ้น 3 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท เพียร์ พาวเวอร์ จํากัด บริษัท ด็อกเตอร์เอทูแซด จํากัด และบริษัท นินจา โลจิสติกส์ พีทีอี ลิมิเต็ด โดยใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 111 ล้านบาท 

นอกจากนี้ ยังได้ขายหุ้นที่ลงทุนในบริษัท ดิจิโอ (ประเทศ ไทย) จํากัด และได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ร้อยละ 30 (อัตรากําไรจากการลงทุน) ทําให้มูลค่าพอร์ตการลงทุนภายใต้โครงการอินเว้นท์ปี 2562 เติบโตขึ้นเป็น 1,058 ล้านบาท คิดเป็น 34% เพิ่มขึ้นจาก 791 ล้านบาท  ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2562 มีบริษัทที่อยู่ ภายใต้โครงการอินเว้นท์ทั้งสิ้น 15 บริษัท

ทิศทางการลงทุนของโครงการอินเว้นท์ในปี 2563 

อินเว้นท์ยังคงนโยบายการลงทุนในกลุ่มโทรคมนาคม สื่อเทคโนโลยี และธุรกิจดิจิทัล โดยเน้นการลงทุนในกลุ่ม เทคโนโลยีเกิดใหม่หรือมีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมทั้งแสวงหาการลงทุนที่สามารถต่อยอดการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี 5G ได้ในอนาคต ภายใต้ งบประมาณการลงทุนที่ 200 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ การลงทุนของอินเว้นท์มิได้จํากัดการลงทุนแค่ในประเทศไทย แต่ยังแสวงหาโอกาสการลงทุนใน ต่างประเทศด้วย โดยอินทัชรับรู้กําไรขาดทุนจากการลงทุนของแต่ละบริษัทสตาร์ทอัพตามสัดส่วนการถือหุ้น ซึ่งมีนโยบายการลงทุนในแต่ละบริษัทไม่ เกินร้อยละ 30 อย่างไรก็ตาม การลงทุนในบางบริษัททําในรูปแบบของเงินกู้แปลงสภาพ ซึ่งอินทัชพิจารณาลักษณะการลงทุนในแต่ละบริษัทตามวัฏ จักรธุรกิจและระดับความเสี่ยงของธุรกิจนั้นๆ

ทั้งนี้ อินทัชประกาศจ่ายเงินปันผลจากผลประกอบการครึ่งปีหลังของปี 2562 ที่ 1.30 บาทต่อหุ้น โดยจะขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 23 เมษายน 2563


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...