ทำไมญี่ปุ่นยังตามหลังเรื่อง AI ปัญหาขาดแคลนวิศวกรและ Supercomputer | Techsauce

ทำไมญี่ปุ่นยังตามหลังเรื่อง AI ปัญหาขาดแคลนวิศวกรและ Supercomputer

การแข่งขันด้านเทคโนโลยี Generative AI ยังคงร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ OpenAI เปิดตัว ChatGPT จนทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ ต่างแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยีตัวนี้ รวมไปถึงประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เช่น จีน ประเทศต่างๆในยุโรป แต่ทำไมญี่ปุ่นที่กำลังเป็นประเทศที่ตามหลังในเรื่องนี้

AI

ทำไมญี่ปุ่นถึงตามหลังด้าน AI 

สิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาเทคโนโลยี Generative AI คือ โมเดลภาษาขนาดใหญ่หรือ LLM ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาอัลกอริทึม เพื่อให้ AI แสดงผลออกมา ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ ChatGPTและ Bard 

ความเห็นจาก Noriyuki Kojima CEO ของ Kobota Technology สตาร์ทอัพผู้พัฒนาโมเดลภาษาขนาดใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น มองว่าญี่ปุ่นยังคงตามหลังทั้งสหรัฐฯและจีน กับประเทศต่างๆในสหภาพยุโรป เพราะขาดแคลนวิศวกรในพัฒนาซอฟต์แวร์ และ Deep Learning ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ 

ตามข้อมูลของกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม ญี่ปุ่นจะเผชิญกับการขาดแคลนวิศวกรซอฟต์แวร์ถึง 789,000 คนภายในปี 2030 ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ 28 จาก 63 ประเทศ ในด้านความรู้ทางเทคโนโลยีตามการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD (IMD World Digital Competitiveness Ranking)

นอกจากนี้กลุ่มบริษัทเอกชนในญี่ปุ่นก็ยังไม่มีบริษัทไหนครอบครอง Supercomputer เป็นของตนเอง นอกจากรัฐบาลที่มี Fugaku ไว้ครอบครอง เพราะการพัฒนาโมเดลภาษาขนาดใหญ่หรือ LLM ต้องใช้ Supercomputer AI และฮาร์ดแวร์ประสิทธิภาพสูง เช่น Vela ของ IBM และ Azure ของ Microsoft

ทางออกของญี่ปุ่นเพื่อให้ก้าวตามทันการแข่งขันด้าน AI 

ทางออกแรกที่จะทำให้ญี่ปุ่นสามารถก้าวทันการแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยี Generative AI ได้นั่นคือ การเพิ่ม Supercomputer เป็นประการแรก 

สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวและมหาวิทยาลัย Tohoku วางแผนที่จะใช้ Supercomputer Fugaku พัฒนาโมเดลภาษาขนาดใหญ่หรือ LLM โดยอิงจากข้อมูลของญี่ปุ่นเป็นหลัก ร่วมมือกับ Fujitsu และ Riken 

นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นจะลงทุนด้วยเงิน 6.8 พันล้านเยน (ประมาณ 48.2 ล้านดอลลาร์) เพื่อสร้าง Supercomputer เครื่องใหม่ในฮอกไกโด และจะเริ่มให้บริการในต้นปีหน้า

ทางออกที่สองคือ บริษัทในญี่ปุ่นต้องเริ่มเดินหน้าพัฒนาโมเดลภาษา หรือ LLM เป็นของตัวเอง บริษัท Softbank ในญี่ปุ่นประกาศเมื่อเดือนมิถุนายนว่าบริษัทมีแผนที่จะพัฒนา Generative AI และเน้น AI ให้มากขึ้นเพื่อทำให้ญี่ปุ่นกลับมาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและต้องเป็นผู้นำด้าน AI 

SoftBank Group ขายหุ้น 85% ใน SB Energy ให้กับ Toyota Tsusho ในเดือนเมษายน และเพิ่งตกลงที่จะขายหุ้น 90% ใน Fortress Investment Group ซึ่งเป็นผู้จัดการด้านการลงทุนของสหรัฐ

การขายหุ้นออกไปทำให้ SoftBank มีเงินมากพอที่จะลงทุนในเทคโนโลยี AI นอกจากนี้ SoftBank ยังมี Arm บริษัทออกแบบชิปที่ SoftBank เป็นเจ้าของก็พร้อมที่จะดำเนินการจดทะเบียน IPO ของสหรัฐในปีนี้

NTT บริษัทโทรคมนาคมของญี่ปุ่นประกาศที่จะพัฒนาโมเดลภาษาหรือ LLM ของตัวเอง โดยจะนำเงินลงทุนถึง 8 ล้านล้านเยนสร้างศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่รวมถึงการพัฒนา AI 

CyberAgent บริษัทโฆษณาดิจิทัลเปิดตัว LLM ในเดือนพฤษภาคมที่ช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถสร้างเครื่องมือ AI chatbot ได้ บริษัทกล่าวว่านี่คือ AI ที่เชี่ยวชาญในภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น

การพัฒนาของญี่ปุ่นอาจจะดูช้าแต่ภาคเอกชนก็ให้ความสำคัญกับการสร้าง Infrastructure ให้แข็งแกร่งเสียก่อน

นอกจากนี้บริษัทในญี่ปุ่นกว่า 60% มีทัศนคติเชิงบวกกับเทคโนโลยี Generative AI สำหรับการทำงานในขณะที่อีก 9.1% ก็ใช้ AI มานานแล้ว 

เมื่อบริษัทต่างๆหันมาลงทุนในด้าน AI แล้ว ทางออกต่อมาที่สำคัญก็คือการออกกฎระเบียบเกี่ยวกับ AI รัฐบาลญี่ปุ่นจึงอาจพิจารณาการนำ AI มาใช้ในภาครัฐมากขึ้น เช่น ChatGPT อย่างที่เคยมี ข่าวมาก่อนหน้าว่าภาครัฐจะนำ AI เข้ามาใช้มากขึ้นแต่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์ 

แม้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นเปิดรับกับเทคโนโลยี AI มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องประเมินความเสี่ยงของเทคโนโลยี และมองความจำเป็นของเทคโนโลยี  เพื่อสำหรับการออกกฎหมายในการควบคุม AI ให้สอดคล้อง  ครอบคลุมและเข้มงวด

ที่มา : CNBC

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

CHANGAN Automobile เปิดตัว NEVO E07 : SUV พร้อมฟังก์ชันกระบะเปิดท้ายในงาน “ปักกิ่ง ออโต้ โชว์ 2024”

CHANGAN เปิดตัว NEVO E07 ในงานแสดงรถยนต์นานาชาติปักกิ่งครั้งที่ 18 ซึ่งเป็นยานพาหนะแปลงโฉมคันแรกของโลก ที่ผลิตขึ้นเป็นจำนวนมาก NEVO E07 เป็นรถยนต์รุ่นใหม่คันแรกของบริษัทในโฉม SUV ...

Responsive image

ลาออกแล้ว ไปทำงานกับคู่แข่งได้ สหรัฐฯ ออกกฎใหม่ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete

ลาออกแล้ว ไปทำงานบริษัทคู่แข่งได้ สหรัฐฯ เตรียมใช้กฎใหม่ ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete มองปิดโอกาสคนทำงาน ฉุดรั้งเศรษฐกิจประเทศ...

Responsive image

Money20/20 Asia ยกระดับวงการฟินเทคเอเชีย ยักษ์ใหญ่ตบเท้าเข้าร่วมงานคับคั่ง

เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับงาน Money20/20 Asia ครั้งแรกที่ประเทศไทยและเอเชีย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 23 - 25 เมษายน 2567 งานทยกระดับอุตสาหกร...