นักเรียนญี่ปุ่นสร้าง VR จำลองภาพก่อนและหลังระเบิดลงที่เมืองฮิโรชิมา

นักเรียนญี่ปุ่นสร้าง VR จำลองภาพก่อนและหลังระเบิดลงที่เมืองฮิโรชิมา

พูดเรื่องประวัติศาสตร์ หลายคนอยากลืมแต่กลับจำ บางคนอยากจำแต่กลับลืม แต่นักศึกษาญี่ปุ่นคิดว่าไม่ต้องลืมหรอก ทำโปรเจกต์ VR ขึ้นมาเพื่อให้คนได้เรียนรู้ถึงความน่ากลัวของระเบิดนิวเคลียร์ที่ลงมาที่เมืองฮิโรชิมา เมื่อ 6 สิงหาคม 1945 (ซึ่งผ่านมาแล้ว 73 ปี) และไม่ทำให้มันเกิดขึ้นซ้ำน่าจะดีกว่า

6 สิงหาคม 1945 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II) สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ (ระเบิดปรมาณู) 2 ลูกลงสู่ประเทศญี่ปุ่น ลูกแรกลงที่เมืองฮิโรชิมา คร่าชีวิตผู้คนไปราว 140,000 คน สามวันหลังจากนั้นระเบิดนิวเคลียร์อีกลูกถูกทิ้งลงที่เมืองนางาซากิ คร่าชีวิตผู้คนไปอีก 70,000 คน หลังจากนั้น 6 วัน ญี่ปุ่นก็ขอยอมแพ้ และสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้สิ้นสุดลง

พูดเรื่องประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นแบบนี้ หลายคน (โดยเฉพาะคนในประเทศญี่ปุ่น) อยากลืมแต่กลับจำ บางคนอยากจำแต่กลับลืม แต่นักศึกษาญี่ปุ่นคิดว่าไม่ต้องลืมหรอก ทำโปรเจกต์ VR ขึ้นมาเพื่อให้คนได้เรียนรู้ถึงความน่ากลัวของระเบิดนิวเคลียร์และไม่ทำให้มันเกิดขึ้นซ้ำน่าจะดีกว่า

โปรเจกต์ดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อสองปีที่แล้ว โดยกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมปลายของ Fukuyama Technical High School ได้พยายามสร้าง VR (Virtual Reality) ความยาว 5 นาที เพื่อให้เห็นกราฟิกที่มีทั้งภาพและเสียงของเมืองฮิโรชิมา ทั้งช่วงก่อน กำลัง และหลังจากที่สหรัฐฯ ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ลงมาที่เมืองเมื่อ 73 ปีที่แล้ว

VR ดังกล่าวแสดงภาพจำลองสถานที่จาก Fukuyama Technical High School ซึ่งอยู่ห่างกับเมืองฮิโรชิมาจากทางตะวันออกไปราว 60 ไมล์ (100 กิโลเมตร) โดยผู้ที่ชม VR สามารถเดินตามแม่น้ำ Motoyasu เพื่อชมวิถีชีวิต อาคาร และสภาพเมือง รวมถึงสามารถเข้าไปดูในที่ทำการไปรษณีย์และโรงพยาบาล Shima ได้

สมาชิกของชมรมคอมพิวเตอร์ของ Fukuyama Technical High School คนหนึ่งวัย 18 ปี ซึ่งเกิดหลังจากเกิดเหตุการณ์ระเบิดลงที่ฮิโรชิกามาเกือบ 50 ปี กล่าวว่าจริงๆ แล้วเขาไม่ได้สนใจเรื่องเหตุการณ์ดังกล่าวมากนัก แต่ถ้ามีใครพูดขึ้นมาหรือพบเจอเรื่องดังกล่าว เขาก็จะเลี่ยงหรือหลีกหนีไป

“ตอนที่ผมกำลังสร้างสิ่งก่อสร้างในฉากก่อนและหลังที่ระเบิดนิวเคลียร์ตกลง ผมได้เห็นภาพสิ่งก่อสร้างหลายๆ อย่างหายไป มันทำให้ผมได้รับรู้ว่าระเบิดนิวเคลียร์น่ากลัวขนาดไหน” เขากล่าว “ซึ่งในระหว่างที่ผมสร้างฉากต่างๆ ขึ้นมา ก็ทำให้ผมรู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเผยแพร่ออกไปให้คนอื่นได้รับรู้”

ข้อมูลที่ใช้ในการสร้างเมืองฮิโรชิมาบน VR ก็มาจากศึกษาจากรูปถ่าย โปสการ์ด และสัมภาษณ์จากผู้รอดชีวิตมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการ์ดังกล่าว และติ-ชมกับผลงาน VR ที่ได้ทำออกมา

รวมถึงมีการใช้ซอฟต์แวร์ด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับแสง การสึกหรอ การฉีกขาดของสิ่งก่อสร้างให้สมจริงยิ่งขึ้นอีกด้วย

“บรรดาผู้ที่รู้จักเมืองนี้ต่างบอกว่ากับพวกเราว่าเราทำออกมาได้ดีมาก พวกเขาบอกว่ามันทำให้เขาคิดถึงอดีตมากๆ บางครั้งการที่พวกเขาเริ่มรำลึกถึงเวลานั้น มันทำให้เรารู้สึกดีใจที่เราได้สร้าง VR นี้ขึ้นมา” Katsushi Hasegawa อาจารย์ที่ปรึกษาของกลุ่มนักเรียน กล่าว

https://www.youtube.com/watch?v=RfXULE7UtpA

อ้างอิงข้อมูลและภาพจาก AP

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Willow ชิปควอนตัมจาก Google แรงทะลุจักรวาล ประมวลผลเรื่องยากได้ในเวลา 5 นาที เร็วกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ล้านล้านเท่า

Willow คือชื่อชิปควอนตัมใหม่ที่ Google พัฒนาสำเร็จ โดยแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่สำคัญในเทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวติ้ง ชิปตัวนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเป้าหมายในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้เร็ว...

Responsive image

ไทยตื่นตัวเซมิคอนดักเตอร์ ปิดดีลไปแล้วกว่า 22,000 ล้าน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนสิ้นปี

ไทยก้าวสู่ยุคเซมิคอนดักเตอร์เต็มตัว! 4 เดือนก่อนสิ้นปี ปิดดีลลงทุนไปกว่า 22,000 ล้านบาท เสริมฐานการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูง พร้อมผลักดันบุคลากรสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต...

Responsive image

ลิซ่า ซู จาก AMD คว้า CEO แห่งปี 2024 จากนิตยสาร TIME

ลิซ่า ซู ซีอีโอ AMD ได้รับเลือกให้เป็นซีอีโอแห่งปี 2024 จากนิตยสาร TIME โดยได้รับการยกย่องในวิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำที่สามารถพลิกฟื้น AMD จากการเกือบล้มละลายเมื่อ 10 ปีก่อน กลายเ...