เทคโนโลยี “ฝนเทียม” โดยกษัตริย์ไทย จะช่วยขจัดภัยแล้งให้ประเทศจอร์แดน | Techsauce

เทคโนโลยี “ฝนเทียม” โดยกษัตริย์ไทย จะช่วยขจัดภัยแล้งให้ประเทศจอร์แดน

เมื่อได้ยินชื่อ ประเทศจอร์แดน ซี่งอยู่ในตะวันออกกลาง หลายๆ คนอาจจะนึกภาพออกว่าเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง มีปริมาณฝนตกน้อยมาก  แต่ภายในปีนี้ มีข่าวดีสำหรับชาวจอร์แดน เพราะประเทศจอร์แดนจะเริ่มใช้เทคโนโลยีของไทยเพื่อสร้าง “ฝนเทียม” โดยการกระตุ้นหรือเพิ่มอัตราการเกิดฝนทั่วทั้งประเทศ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจากโครงการ “ฝนหลวง” ที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นโครงการที่ชาวไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี  

royalrain

ประเทศไทยได้อนุญาตให้ประเทศจอร์แดนใช้เทคโนโลยีนี้ตั้งแต่ปี 2009 โดยมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจหรือ MoU ในวันที่ 23 มีนาคม ปีเดียวกันนั้นเอง เพื่อนำความรู้และความเชี่ยวชาญด้านฝนเทียมนี้ไปสร้างประโยชน์ให้กับประเทศในเอเชียตะวันออกด้วย โดยก่อนหน้านี้ประเทศจอร์แดนเคยพยายามแก้ปัญหาความแห้งแล้งมาแล้วโดยมีการทดลองทำฝนเทียมเองในปี 1989 และ 1995 แต่ไม่สำเร็จเนื่องด้วยเทคโนโลยีที่มีจำกัด

เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยเหลือเรื่องการขาดแคลนน้ำในจอร์แดน

นาย Mohammad Samawi อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศจอร์แดนได้กล่าวถึงที่มาที่ไปของโครงการฝนเทียมนี้ สาเหตุก็เพราะประเทศจอร์แดนนั้นเป็นประเทศที่ยากจนด้านทรัพยากรน้ำติดอันดับโลก อยู่ในสภาวะขาดแคลนน้ำที่มีสภาพพร้อมใช้งานได้

ทรัพยากรน้ำที่มีคุณภาพของจอร์แดนอยู่ที่ 800-900 ล้านคิวบิกต่อปี ซึ่งเพียงพอสำหรับความต้องการของคนเพียง 3 ล้านคน แต่ปัจจุบันมีผู้ใช้น้ำในจอร์แดนมากถึง 10 ล้านคนและมีแนวโน้มว่าประชากรจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีพัฒนาด้านน้ำถือเป็นเรื่องเร่งด่วนในการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขของประชาชน โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ของสหประชาชาติกล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวและผลกระทบที่เกิดขึ้น ถือเป็นภัยระดับสูงต่อสุขภาพของประชาชนในประเทศจอร์แดน และยังทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปได้ยาก  นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก (Climate change) ซึ่งคาดว่าจะทำให้จอร์แดนต้องประสบปัญหาจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลต่อการเกิดฝนในประเทศ  

การดำเนินการผลิตฝนเทียม

ขั้นตอนในการผลิตฝนเทียมแบบคร่าวๆ จะเริ่มจากใช้เครื่องบินบรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้าเพื่อกระตุ้นให้เมฆก่อตัวมากขึ้น โดยเรียกขั้นตอนนี้ว่า การเพาะเมฆ หรือ Cloud Seeding ในเบื้องต้นจะต้องใช้เรดาร์เพื่อตรวจหาเมฆที่เหมาะสมก่อนที่จะทำปฏิบัติการฝนเทียม เมฆที่เกิดจากสารเคมีนี้จะเพิ่มความชื้น ก่อตัวทำให้เกิดเป็นฝนตกลงมา

กระบวนการสร้างฝนเทียมของประเทศจอร์แดนในช่วง 2-3 ปีข้างหน้านี้ เป็นโครงการระดับชาติที่ได้รับการดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยการสนับสนุนจากกองทัพอากาศ กระทรวงน้ำ และกระทรวงเกษตร ประเทศจอร์แดน

ในส่วนของประเทศไทยนั้น เป็นประเทศที่ประสบปัญหาจากภัยแล้งและการเข้าถึงน้ำเช่นกัน จึงได้เกิดเป็นโครงการพระราชดำริ ซึ่งดำเนินงานโดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร และได้มีการออกแบบโครงการทดลองต่างๆ รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์จริง ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางด้านทำฝนเทียมของประเทศเขตร้อนแถบตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

เป็นอีกหนึ่งพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่นำมาซึ่งความสุขแก่ราษฎรชาวไทย และเทคโนโลยีฝนเทียมอันมีที่มาจากพระปรีชาชาญของพระองค์ยังก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในประเทศอื่นอีกด้วย  ทางทีมงาน Techsauce ขอน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

ที่มา Incarabia

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สภาดิจิทัลฯ ร่วมมือหลายภาคส่วน พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

สภาดิจิทัลฯ ได้ร่วมมือกับมูลนิธิตะวันฉายฯ, สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน และ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในโครงการสร้างเสริมสุขภาพผ่านเครือข่ายสังคมดิจิทัล เพ...

Responsive image

‘พลังงานฟิวชัน’ จากเทคโนโลยีไกลตัว สู่สิ่งที่ดึงดูดเม็ดเงินจากนักทุนมหาศาล

พลังงานฟิวชัน เคยเป็นเพียงเรื่องที่พูดกันเล่นๆ ว่า "อีกสิบปีก็ยังไม่เกิด" แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นเทคโนโลยีที่จับต้องได้และดึงดูดนักลงทุนจำนวนมาก ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการท...

Responsive image

ซีอีโอ Ford เยือนจีน ทริปที่ทำให้ต้องกลับมาทบทวนกลยุทธ์รถยนต์ไฟฟ้าของค่ายอีกครั้ง

เมื่อได้เห็นสถานการณ์รถภายในจีน Farley ถึงกับใช้คำว่า รถยนต์ไฟฟ้าจีนคือ ‘ภัยคุกคามต่อการอยู่รอด (ของบริษัท)’ (existential threat) ซึ่งเขาพบว่ารถยนต์ EV จีนกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้...