หมดยุคซื้อมาขายไป กรณ์ จาติกวณิช แนะผู้ประกอบการไทย สร้างแบรนด์ให้มีจุดเด่น สู้ทุนจีน | Techsauce

หมดยุคซื้อมาขายไป กรณ์ จาติกวณิช แนะผู้ประกอบการไทย สร้างแบรนด์ให้มีจุดเด่น สู้ทุนจีน

คุณกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ได้โพสต์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตลาด E-Commerce  ผ่านทาง  facebook ระบุว่า  หลายเดือนมานี้ เราคงเคยได้รับรู้กันมาแล้วว่า ได้มีผู้ประกอบการจีนรายใหญ่กำลังมาจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าในไทย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกระทบกับธุรกิจการขายของออนไลน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่เหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ชาวไทยจะต้องจับตามองประเด็นต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะได้ปรับตัวและรับมือความเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงที โดยสิ่งที่น่าสนใจหลักๆ ก็คือข้อได้เปรียบทางธุรกิจ ที่ผู้ประกอบการจากจีนมีได้เหนือกว่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไทย คือ

1. ต้นทุนทางการผลิต ที่ผู้ประกอบการจีนสามารถทำราคาได้ถูกกว่า และผลิตได้มากกว่า

2. การเข้าถึงตลาดไทย จากที่สมัยก่อนต้องใช้เวลาในการส่งข้ามประเทศหรือผ่านคนกลาง ตอนนี้สามารถเข้าสู่ Platform Market ต่างๆ ของไทยได้สะดวกขึ้น ซึ่งส่วนมากถือหุ้นใหญ่ด้วยบริษัทจีน

3. การศึกษาพฤติกรรมคนไทยผ่านการใช้ Data ที่จะได้แอบฟังพฤติกรรมคนไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อวิเคราะห์ความต้องการด้านการผลิต และพัฒนาสินค้า เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคคนไทยมากขึ้น

แล้วเราจะทำอย่างไร ให้ผู้ประกอบการไทยชิงความได้เปรียบได้ในอนาคต ทั้งๆ ที่ในยุคนี้ เราเองก็ถูกปิดกั้นด้วยข้อจำกัดมากมาย ทั้งการมีข้อจำกัดในเรื่องของการสนับสนุนขอภาครัฐที่ไม่มีความชัดเจน 

การออกนโยบายที่ไล่จัดเก็บภาษีกับ ธุรกิจออนไลน์เป็นหลักแถมรัฐยังมองเรื่องออนไลน์เป็นสิ่งที่คุกคามความมั่นคง รวมถึงการขาดการสนับสนุนเรื่องต้นทุนการผลิตต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เน้นรับการผลิตจำนวนสูง 

รวมถึงค่าใช้จ่ายในการใช้ช่องทางการขายออนไลน์ของ Platform ต่างชาติ เพื่อมาใช้ขายของ เรื่องต่างๆเหล่านี้ ภาครัฐไม่ได้มีบทบาทในการช่วยเหลืออย่างจริงจัง ซึ่งมันกลับไปส่งผลกระทบถึงธุรกิจรายย่อย เช่นการเก็บไล่ภาษี

แพลตฟอร์มต่างชาติ ที่สุดท้ายแพลตฟอร์มเหล่านั้นก็มาผลักดัน การขายโฆษณา แก่ผู้ใช้บริการของไทย ซึ่งในปี 2021 ที่จะถึงนี้ จะเป็นปีที่ธุรกิจขับเคลื่อนเข้าสู่บริการทางออนไลน์อย่างแท้จริง 

การค้าออนไลน์จะกลายเป็นเรื่องปกติ ที่ไม่ใช่ทำแค่เสริมธุรกิจ แต่ต้องทำเพื่ออยู่รอดของธุรกิจ

บอกไปขนาดนี้หลายคนอาจจะกลัว แต่ผมอยากให้มองกลับกันครับ จริงๆ แล้ว ผู้ประกอบการไทยยังคงมีหวัง ถ้าหากมีการปรับเปลี่ยนวิธี โดยสิ่งที่ผมเชื่อมาตลอด ได้เห็น และได้ลองทำเอง 

นั่นคือการสร้างอัตลักษณ์ หรือเรียกว่าการสร้างแบรนด์ ให้มีจุดเด่น แตกต่างจากคู่แข่งคนอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันตลาดออนไลน์จำนวนหนึ่งยังคงทำธุรกิจแบบซื้อมาขายไปอยู่ คือสั่งของมาจากจีนแปะ Logo Packaging ใหม่แล้วก็ขายของคล้ายๆ กันแต่ในอนาคตนั้นการทำแบบนี้จะทำได้ยากขึ้น  

ผมจึงอยากให้ลองหันมาทบทวนสิ่งเหล่านี้ เหมือนกับตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ผมได้ช่วยชาวบ้านสร้างขึ้นมา ซึ่งก็คือแบรนด์ข้าวอิ่ม ที่ได้มีการพัฒนาตั้งแต่กระบวนการปลูก การผลิต และยังใช้เรื่องเล่าเป็นจุดขาย เพื่อให้เป็นที่ต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และสร้างอัตลักษณ์บนตลาดที่ยากที่จะสร้างความแตกต่างได้ในเวลานี้

ดังนั้นเลยอยากให้ผู้ประกอบการไทยอย่าเพิ่งรีบถอดใจ เรายังสามารถไปได้ไกล ถ้าเราคิดริเริ่มพัฒนาในส่วนนี้ ถ้าให้เปรียบเหตุการณ์นี้ คงไม่ต่างกับรุ่นผมที่มีการ Disrupt ของตลาดที่สมัยก่อน ทั้งตลาดละลายทรัพย์ และตลาดหลังการบินไทย นำของต่างประเทศมาขาย และได้หมดยุคไปเมื่อผู้บริโภคสามารถเดินทางได้ในราคาที่ถูก และเข้าถึงสินค้าจากต่างประเทศได้ด้วยตัวเอง



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...