ทนายความในนิวยอร์กโดนฟ้อง หลังใช้ ChatGPT ช่วยทำคดี แต่มันกลับให้ข้อมูลเท็จ | Techsauce

ทนายความในนิวยอร์กโดนฟ้อง หลังใช้ ChatGPT ช่วยทำคดี แต่มันกลับให้ข้อมูลเท็จ

ทนายความในนิวยอร์กถูกศาลฟ้อง ฐานยื่นข้อมูลเท็จต่อศาล เจ้าตัวยอมรับใช้ ChatGPT ช่วย ไม่รู้มาก่อนว่ามันอาจให้ข้อมูลมั่ว 

ทนายความในนิวยอร์กโดนฟ้องกลับหลังใช้ ChatGPT ช่วยทำคดี

เรื่องนี้เริ่มต้นขึ้น จากการที่ Roberto Mata ผู้โดยสารคนหนึ่งของสายการบิน Avianca สายการบินแห่งชาติของประเทศโคลัมเบีย ต้องการฟ้องร้องสายการบิน อ้างว่าเขาได้รับบาดเจ็บขณะเดินทางมายังนิวยอร์ก จากรถเข็นเสิร์ฟอาหารบนเครื่องบิน เข็นไปชนที่หัวเข่า 

เขาได้ว่าจ้างให้ Steven Schwartz ทนายความของ Levidow, Levidow & Oberman เป็นตัวแทนในการยื่นฟ้อง และหลังจากสายการบินขอให้ผู้พิพากษาของรัฐบาลกลางยกฟ้องคดี ทนายความได้ยื่นบทสรุปโต้แย้งว่าควรดำเนินการฟ้องต่อไป 

แต่ปรากฎว่ามันเป็นข้อมูลเท็จ 

ทนายในฝั่งสายการบิน Avianca พบว่าคดีที่ถูกอ้างในบทสรุปนั้นมีมูลที่ไม่เป็นความจริง จึงเขียนจดหมายถึงศาลเพื่อชี้แจงและเรียกร้องในประเด็นดังกล่าว

มีหกคดีที่ถูกยื่นดูเหมือนจะเป็นคำพิพากษาปลอมพร้อมกับคำพูดที่หลอกลวงและการอ้างอิงที่ปลอม

ผู้พิพากษา Castel เขียนในคำร้อง ให้ทีมทนายฝั่ง Roberto Mata อธิบายตามความเป็นจริง อย่างไรก็ตามก็เขียนด้วยว่านี่เป็นสถานการณ์ที่ศาลไม่เคยเจอมาก่อน 

ChatGPT ให้ข้อมูลเท็จ

Steven Schwartz ทนายของ Roberto Mata ผู้มีประสบการณ์กว่า 30 ปี จากสำนักทนายความ Levidow & Oberman ในนิวยอร์ก ยอมรับว่าใช้ ChatGPT ช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในเอกสารที่เขายื่นต่อศาล

ในเอกสารโต้แย้งดังกล่าว อ้างถึงข้อมูลคดีความระหว่างบุคคลกับสายการบิน เช่น 

Varghese v. China Southern Airlines, Shaboon v. Egyptair, Petersen v. Iran Air, Martinez v. Delta Airlines, Estate of Durden v. KLM Royal Dutch Airlines และ Miller v. United Airlines 

 ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นคดีที่ไม่มีอยู่จริง แต่ปรากฎว่า ChatGPT กลับสร้างข้อมูลคดีปลอมขึ้นมาแทน 

Steven Schwartz ยอมรับว่าเขาไม่เคยใช้ ChatGPT ช่วยทำงานมาก่อน ไม่รู้ว่ามันอาจสร้างข้อมูลเท็จได้ 

โดยในคำให้การแบบลายลักษณ์อักษรของ Steven Schwartz เขาได้แนบหลักฐานภาพหน้าจอที่คุยกับ ChatGPT มาด้วย 

ในรูปภาพที่ยื่นให้ผู้พิพากษาดูนั้น  Schawartz กำลังถาม ChatGPT ว่าคดีที่หาและยกมานั้นจริงไหม ซึ่ง AI ก็ตอบว่าใช่ หลังจากนั้นทนายก็ถามต่อว่าเคสดังกล่าวมีแหล่งที่มา จากที่ไหน จากนั้น ChatGPT ก็ตอบกลับว่า มาจาก ฐานข้อมูลอ้างอิงทางกฎหมาย เช่น LexisNexis และ Westlaw

แม้ว่า ChatGPT จะมีศักยภาพมากแค่ไหน แต่พื้นฐานของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นี้ คือการตอบสนองผู้ถามเมื่อใส่คำสั่งเข้ามา แต่ข้อมูลต่างๆอาจไม่เป็นจริงก็เป็นได้ นี่จึงเป็นคดีที่เกิดจากความเชื่อใจ ChatGPT มากเกินไปจนกลายเป็นการยื่นหลักฐานเท็จ เพื่อพิจารณาคดีขึ้นมา 

ที่มา : Mashable, BBC

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อนาคตที่ปรึกษาทางการเงิน จะเป็นอย่างไร ? เมื่อ AI คือผู้ช่วยคนสำคัญ

ที่ปรึกษาการเงินหลายท่านกำลังเผชิญกับภาวะ "งานเอกสารท่วมตัว" จนแทบไม่มีเวลาดูแลลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะเวลาส่วนใหญ่หมดไปกับงานที่ไม่สร้างรายได้ ทำให้การสร้างความสัมพันธ...

Responsive image

GAC บุกตลาดหุ่นยนต์ เปิดตัว GoMate หุ่นสี่ล้อสองขาสูงเท่าคน เตรียมใช้ในโรงงานผลิตรถยนต์

GAC Group แบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน ได้เปิดตัวหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์หรือ Humanoid ในชื่อ GoMate เพื่อตอบรับเทรนด์การใช้หุ่นยนต์แทนแรงงานในอนาคต...

Responsive image

หมดยุครถน้ำมัน? จีนจ่อทุบสถิติ ยอดขาย EV แซงหน้ารถสันดาปเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

แม้จีนจะขึ้นชื่อด้านรถยนต์ไฟฟ้า แต่ยอดขายในประเทศยังถือว่าตามหลังรถสันดาป (ICE) แต่ในปี 2025 ที่กำลังจะถึงนี้ ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในจีนอาจแซงรถยนต์สันดาปเป็นครั้งแรก นับเป็นจุดเปลี่ยน...