LINE เปิดใจหลังซื้อ DGM59 ร่วมทีมนักพัฒนาของ Line ประเทศไทย พร้อมประกาศมองหา Startup ร่วมทีมเพิ่ม | Techsauce

LINE เปิดใจหลังซื้อ DGM59 ร่วมทีมนักพัฒนาของ Line ประเทศไทย พร้อมประกาศมองหา Startup ร่วมทีมเพิ่ม

หลังจาก LINE ประกาศการซื้อกิจการ Startup ไทยรายแรก โดยคว้า DGM 59 มาเป็นนักพัฒนาทีมแรกของไทย มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา ล่าสุด LINE ก็ได้เปิดใจเกี่ยวกับการซื้อกิจการและแต่งตั้งทีมนักพัฒนาครั้งแรกของ LINE ประเทศไทย

คุณอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทยเล่าว่า LINE ได้มองหานักพัฒนาคนไทยที่จะมาร่วมงานกับ LINE มาระยะหนึ่งแล้ว  จนกระทั้งมีการแข่งขัน LINE Hackathon และได้ผู้ชนะคือ DGM59 จึงเกิดการพูดคุยและชักชวนมาร่วมทีม โดยจุดประสงค์หลักคือการมุ่งพัฒนาและสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้คนไทย พร้อมกับสามารถพัฒนาบริการปัจจุบันด้วยตัวเราเอง ไม่ต้องพึ่งพาญี่ปุ่นหรือเกาหลี คือสามารถพัฒนาในระดับ global ได้ด้วย แต่โดยส่วนตัวจะเน้นบริการที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน จะมาในรูปแบบไหนก็ได้ โดยมองลูกค้าคนไทยเป็นหลักก่อน

อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย

LINE รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้หนึ่งในทีมนักพัฒนาที่มากความสามารถ และเก่งที่สุดในประเทศไทยมาร่วมงาน โดยหลังจากนี้ผู้ใช้ชาวไทยจะได้เห็นบริการใหม่ๆที่ถูกคิดค้นและสร้างสรรค์มาเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้คนไทยอย่างแท้จริง โดยไม่เพียงแต่จะมีบทบาทในการพัฒนาบริการเพื่อคนไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบริการในประเทศอื่นๆ อีกด้วย เรียกได้ว่าวิศวกรคนไทยมีความสามารถระดับโลก อีกทั้งการซื้อกิจการครั้งนี้ยังแสดงออกถึงความมุ่งมั่นและตั้งใจของ LINE ที่ต้องการสนับสนุนวงการเทคโนโลยีและ Startup ไทยอย่างยั่งยืน โดยคาดว่าทีมนักพัฒนาจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อร่วมคิดค้นบริการใหม่ๆพัฒนาบริการที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการดูแลอีกหลายโปรเจคระดับโลกของ LINE”

โดยคุณอริยะบอกว่า สิ่งที่ LINE มองเห็นใน DGM59 คือการที่ DGM59 มีความชำนาญสามารถพัฒนา Solution ที่เชื่อมต่อกับไลน์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งทำให้ง่ายต่อการพัฒนาบริการต่อไป

จาก Startup สู่ Liner

DGM59 คือบริษัทซอฟท์แวร์ที่เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 2553 จากการรวมตัวกันของนักศึกษาจบใหม่ โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาซอร์ฟแวร์ ไปสู่การเป็นบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัล และผลัตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการตลาดดิจิทัลต่างๆ โดยในปี 2559 DGM59 ได้พัฒนาบริการ BCRM ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าสำหรับ LINE official Account โดยการใช้ LINE API โดย BCRM จะมาเติมเต็มบริการต่างๆของ LINE ด้วยการเก็บข้อมูลผู้ใช้ต่างๆใน LINE Official Account ซึ่ง DGM59 คือผู้ชนะการแข่งขัน

โดย 4 คนสำคัญที่เรียกได้ว่าเป็นหัวเรือของทีมนักพัฒนานี้ ประกอบไปด้วย ซินหมิง จ้าว ภูมิพัฒน์ เตชะพูลผล และวิเชาวน์ แสงหิรัญวัฒนา ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง DGM59  โดยทั้ง 3 คน รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยเรียนที่สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  รวมถึง ณัชพล ไตรวงศ์วรนาถ ซึ่งเข้ามาร่วมงานกับ DGM59 เมื่อปี 2556 โดยพวกเขาต่างมีความสนใจในเรื่องเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและการทำธุรกิจที่มีความท้าทาย มองหาการสร้างผลงานที่จะส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของการบริการและแพลตฟอร์มต่างๆ  ซึ่งป็นเวลากว่าหลายปีที่พวกเขาสั่งสมประสบการณ์ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ต่างๆ เพื่อให้เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ทรงประสิทธิภาพ อีกทั้งยังได้สร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆ ที่จะเข้าถึงการมีส่วนร่วม และเชื่อมต่อกับผู้บริโภค อีกทั้งยังใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดที่สุด

การรวมกิจการครั้งนี้ตอบแทนการทำงานหนักของทีมในช่วงปีที่ผ่านมา เรารู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ได้เป็นทีมนักพัฒนา ทีมแรกของ LINE ในประเทศไทย การได้พัฒนาเซอร์วิสให้ผู้ใช้เป็นล้านล้านคนเหมือนเป็นความฝันของเรา และของนักพัฒนาเลยทีเดียว” ซินหมิง จ้าว กล่าว

LINE ยังแจงอีกว่า บริการต่างๆของ LINE ในแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกันตามพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ เช่น LINE MAN มีเพียงแค่ในประเทศไทยเป็นต้น ซึ่ง LINE มองว่านักพัฒนาจะสามารถคิดค้น Service ใหม่ๆ หรือ Solotion ที่สามารถตอบโจทย์คนไทยได้อีก

“นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ความมุ่งมั่นของเราคือการสร้างทีมนักฒนาที่ดีที่สุดในประเทศไทย ถ้าคุณเป็นนักพัฒนาที่กำลังมองหาความท้าทายและต้องการพัฒนาเซอร์วิสที่ยิ่งใหญ่ให้กับทุกคน แค่เดินเข้ามาหาเรา LINE ในประเทศไทยยินดีต้อนรับ” คุณอริยะกล่าวสรุป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...