จากสถานการณ์โควิด-19 และมาตรการ Work from home มีการขนส่งทั้งอาหาร พัสดุ สินค้า ฯลฯ มากขึ้น เป็นผลให้ ปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มสูง ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างปี 2562 (ช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19) มีอัตรา การสร้างขยะพลาสติกเฉลี่ย 96 กรัม/คน/วัน ในขณะที่ปี 2563 เฉลี่ยอยู่ที่ 134 กรัม/คน/วัน เพิ่มขึ้นกว่า 40%* นี่เป็นเหตุผลที่ภาครัฐและภาคธุรกิจหันมาสนใจประเด็นบรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อมหรือ Eco-packaging มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารยังคงมีภาพจำเรื่องข้อจำกัดเรื่องต้นทุน และคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ที่อาจ ไม่สามารถใส่อาหารได้ทุกประเภท วันนี้เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ Eco-packaging ก้าวหน้าขึ้น มีต้นทุนที่ถูกลงกว่าเมื่อก่อน บทความนี้จึงสรุปบทเรียน 3 เคสจริงของร้านอาหารเดลิเวอรีบน LINE MAN หลังใช้แพ็กเกจรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อให้ เจ้าของร้านอาหารอื่นๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้
Sizzler หนึ่งในร้านที่ขึ้นชื่อเรื่องความหลากหลายของเมนูอาหารสไตล์ตะวันตกทั้งสเต๊ก ซีฟู้ด และสลัด ได้ตื่นตัวและ ปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้ว ปัจจุบัน Sizzler ใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเป็นสัดส่วน 90% ของบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด
คุณกรีฑากร ศิริอัฐ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอส แอล อาร์ ที จำกัด (Sizzler) เล่าว่า Eco-packaging ที่แบรนด์ เลือกใช้มีทั้งบรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ (Fiber–Based Packaging) ที่ทำมาจากเส้นใยคุณภาพ มีความคงทนสูง สามารถนำเข้าไปอุ่นในไมโครเวฟได้ ซึ่งเรานำมาใช้เพื่อบรรจุสเต๊ก นอกจากนี้ยังมีกล่องกระดาษคราฟท์สำหรับบรรจุภัณฑ์ Sizzler to go ที่มีคุณสมบัติทนน้ำสลัด และคงสภาพในตู้เย็นได้ 1-2 วัน
“บรรจุภัณฑ์ที่ดีที่สุดคือบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะกับจุดประสงค์การใช้งานมากที่สุด การเลือกบรรจุภัณฑ์ต้องคำนึงถึงการ สร้างประสบการณ์ในการสั่งอาหารที่ดีให้กับลูกค้า โดยยึดจากพฤติกรรมของลูกค้าเป็นหลัก เช่น เมนูสเต๊ก เมื่อลูกค้าต้องการสั่งไปทานที่บ้าน บรรจุภัณฑ์ที่เราใช้ต้องมีความแข็งแรงคงทนเพื่อให้สามารถเข้าไมโครเวฟได้” ปัจจุบัน Eco-packagingพัฒนาคุณภาพ ราคาที่ถูกลง รวมถึงรองรับการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น โดย DezpaX สตาร์ทอัพ ผู้ให้บริการ Packaging Solutions ด้านอาหารและเครื่องดื่มครบวงจรจากเอสซีจี ได้ให้คำแนะนำกับ Sizzler และ ร้านอาหารมือใหม่อีกมากมายเพื่อหาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมที่สุดกับการใช้งานของแต่ละร้าน
“เราไม่จำเป็นต้องดีดนิ้วแล้วเปลี่ยนทุกอย่างในครั้งเดียว เส้นทางบรรจุภัณฑ์ Eco-friendly ยังมีโอกาสพัฒนาได้อีกมาก เราสามารถเปลี่ยนทีละเล็กทีละน้อยจนกระทั่งถึงวันที่ความต้องการใช้พลาสติกน้อยลง และใช้ Eco-packaging มากขึ้น จะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นอีกขั้น” คุณกรีฑากร กล่าว
ร้านซาลาเปาไส้ไหล Phoenix Lava เป็นอีกหนึ่งร้านที่ใช้บรรจุภั
บรรจุภัณฑ์ของ Phoenix Lava ที่พัฒนาร่วมกับ DezpaX ให้ความสำคัญกับการคงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้วย “กล่องบรรจุภัณฑ์ซาลาเปาต้องเก็บความร้อนไว้ได้นานที่สุด รวมถึงต้องมีคุณสมบัติลดการเกิดไอน้ำภายในกล่อง เราจึงใช้วิธีการเคลือบด้วยวัสดุแบบฟู้ดเกรด ส่วนเมนูทอดที่ต้องใช้กล่องที่มีคุณสมบัติระบายความร้อน สามารถใช้บรรจุภัณฑ์ แบบ Eco-packaging ที่หาซื้อได้ทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องหนา เพราะอาจทำให้แป้งเกิดการออกซิเดชัน ส่งผลให้ของทอดไม่แข็งตัวได้”
“ปัจจุบันนี้ Eco-packaging เข้าถึงได้ง่าย ด้วยราคาที่ถูกลงเรื่อยๆ ทำให้เราเห็นหลายร้านหันมาใช้กันมากขึ้น ในอนาคต เรื่องของกฎหมายการบังคับใช้พลาสติกคงจะเกิดขึ้นและเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ประกอบการร้านอื่นๆ อาจเริ่มต้น จากการทดลองเปลี่ยนสินค้าเพียง 1-2 ชิ้น จากสินค้าทั้งหมดให้เป็น Eco-packaging ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี” คุณปริญญ์ กล่าว
ร้านอาหารเมนูขวัญใจคนไทยอย่
“เผ็ดมาร์ค ใช้เวลากว่า 1 ปี ในการวางแผน ปรับสูตร รวมไปถึงออกแบบบรรจุภัณฑ์ร่วมกับ DezpaX เพื่อพัฒนาดีไซน์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ Eco-packaging มีต้นทุนที่สูงกว่าพลาสติกในระดับหนึ่ง เผ็ดมาร์คยินดีลดกำไรลง 2-3บาท ต่อออร์เดอร์ เลือกใช้ Eco-packaging สำหรับส่งเดลิเวอรีทาง LINE MAN และช่องทางอื่นๆ”
“การเริ่มต้นที่ดี คือ การเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนเท่าที่สามารถทำได้ โดยไม่รบกวนต้นทุนของธุรกิจจนเกินไป เพราะการ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ เรียกว่าเป็นการช่วยสิ่งแวดล้อมที่ง่ายที่สุด ทำได้ง่ายกว่าการเก็บขยะจากท้องทะเล” คุณแทนสรุป
ปัจจุบันมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้อย่างแพร่หลาย ส่งผลให้ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์มีการวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์วงการฟู้ดเดลิเวอรีมากขึ้น การผลิตที่มากขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง นำมาสู่ราคาสินค้าต่ำลงมากถึง 50% ภายในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นทางเลือกใหม่ให้กับร้านอาหารได้ดียิ่งขึ้น
คุณปฐมพงศ์ ดีปัญญา CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง DezpaX.com เปิดเผยว่า “จากปี 2564 มีแนวโน้มผู้สั่งซื้อบรรจุภัณฑ์ จากกระดาษและเยื่อธรรมชาติจาก DezpaX เพิ่มมากขึ้นถึง 30% เมื่อเทียบกับปีก่อน และในตลาดใช้บรรจุภัณฑ์โฟมลดลงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นพัฒนาการที่ดีมากสำหรับร้านอาหารในประเทศไทย“
“จากเทคโนโลยีการผลิตและนวัตกรรมการออกแบบ ทำให้บรรจุภัณฑ์จากเยื่อธรรมชาติ 100% มีความแข็งแรงเพียงพอ สามารถเรียงซ้อนเมื่อขนส่งเดลิเวอรีและสามารถย่อยสลายในบ่อขยะฝังกลบภายใน 90 วัน อีกทั้งปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ จากพลาสติกที่สามารถ reuse หรือ recycle ได้ เช่น พลาสติกแบบ PET ที่ใช้ผลิตแก้วน้ำ และ ขวดน้ำ, พลาสติกแบบLDPE ที่ใช้ผลิตถุงพลาสติกชั้นเดียวหรือฉลากขวดน้ำ หรือพลาสติกแบบ PP ที่ใช้ผลิตกล่องอาหารที่สามารถนำเข้า ไมโครเวฟได้ เป็นต้น ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับร้านอาหาร และในอนาคตอันใกล้ จากนโยบายของภาครัฐ และการ ตื่นตัวของผู้บริโภค จะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น โดย DezpaX พร้อมเป็นพาร์ทเนอร์กับทุกร้าน เหมือนดังเช่น เผ็ดมาร์ค, Sizzler, Phoenix Lava และร้านอื่นๆ ในการสร้าง ไอเดียและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งาน ราคา และเอกลักษณ์ของร้านอาหาร” คุณปฐมพงศ์ กล่าว
การที่ผู้ประกอบการร้านอาหารเริ่มตื่นตัวหันมาใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกในทุกวันนี้ ถือเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงที่ดี ทำให้ราคาของ Eco-packaging เข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยภายใน 5 ปีที่ผ่านมามีต้นทุนที่ลดลงประมาณ 50% เพราะมีอัตรา การผลิตที่เพิ่มมากขึ้น เช่น กล่องเยื่อชานอ้อยจากเดิมราคาประมาณ 3 บาท ปัจจุบันราคาลดลงเหลือ 2 บาท
รวมถึงมี วัสดุใหม่ๆ เข้ามาทดแทนเพื่อลดต้นทุน เช่น แก้วกาแฟ 16oz ที่มีต้นกำเนิดจากพืชต่างๆ จากเดิมที่ราคาประมาณ 3.2 บาท ปัจจุบันมีทางเลือกใหม่ในการใช้แก้วกาแฟ BIOMAT 16oz ที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติเช่นเดียวกัน ในราคา ต้นทุนประมาณ 2 บาท เป็นต้น โดย LINE MAN ในฐานะผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรียังมุ่งมั่นสนับสนุนร้านค้าในการใช้ บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกต่อไปในอนาคต
*ข้อมูลจากการเสวนาในประเด็น “ขยะพลาสติก: การจัดการและโอกาส Post COVID-19 หาทางออก เพิ่มโอกาส สร้างรูปแบบที่สมดุล มุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน” เปรียบเทียบอัตราการสร้างขยะในช่วงเดือน ม.ค. - ธ.ค. 2562 และช่วงเดือน ม.ค. - ธ.ค. 2563
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด