LSST กล้องดิจิทัลใหญ่สุดในโลกพัฒนาสำเร็จ ถ่ายได้กว้างกว่าเจมส์ เวบบ์ เตรียมเผยโฉมภาพจักรวาลสุดอลังการ ปี 2025 | Techsauce

LSST กล้องดิจิทัลใหญ่สุดในโลกพัฒนาสำเร็จ ถ่ายได้กว้างกว่าเจมส์ เวบบ์ เตรียมเผยโฉมภาพจักรวาลสุดอลังการ ปี 2025

หลังจากที่โครงการ LSST Camera กล้องดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากศูนย์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งชาติ SLAC ในสหรัฐฯ ได้ถูกพัฒนามาเป็นระยะเวลานานกว่า 9 ปี ในที่สุดก็ถูกสร้างจนเสร็จสมบูณ์ และพร้อมออกสำรวจท้องฟ้า และห้วงอวกาศอย่างเป็นทางการแล้ว

กล้อง LSST Camera หรือในอีกชื่อคือ Vera Rubin Observatory มีเป้าหมายสำรวจพื้นที่อวกาศอันกว้างใหญ่เป็นระยะเวลาตลอด 10 ปี ตัวกล้องมาพร้อมกับความละเอียด 3,200 ล้านพิกเซล ใช้เซ็นเซอร์รับภาพ 201 ตัว มีขนาดเท่ารถยนต์คันเล็ก แต่น้ำหนักมากถึง 3 ตัว พร้อมเลนส์กว้างประมาณ 1.5 เมตร คอยถ่ายภาพท้องฟ้าทุกๆ 20 วินาที ใช้เวลาถ่ายภาพ 15 วินาทีต่อครั้ง พร้อมฟังก์ชันเก็บภาพแสงวาบบนท้องฟ้าอัตโนมัติ เพื่อประโยชน์ต่อนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการค้นคว้าในภายหลัง

ความพิเศษอยู่ตรงที่ กล้องสามารถเปลี่ยนฟิลเตอร์แบบอัตโนมัติ เพื่อเก็บแสงได้ทุกช่วงตั้งแต่สีม่วงเกือบมองไม่เห็นไปจนถึงอินฟราเรดที่ตามองไม่เห็น การถ่ายภาพต่อเนื่องแบบนี้ เปรียบเหมือนการทำ timelapse ของท้องฟ้า ช่วยให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นช้าๆบนท้องฟ้าได้ง่ายขึ้น รวมทั้งจะคอยเก็บภาพบริเวณเดิมบนฟ้าซ้ำๆ เป็นเวลา 10 ปี เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงบนห้วงอวกาศ เช่น การระเบิดของดาวฤกษ์ หรือการขยายตัวของจักรวาล เป็นต้น

ความสามารถของกล้อง LSST จะช่วยไขปริศนาเกี่ยวกับ พลังงานมืด (dark energy) ซึ่งเป็นพลังงานที่คิดเป็น 70% ของสสารและพลังงานทั้งหมดในจักรวาล และเป็นสาเหตุที่ทำให้การขยายตัวของเอกภพเร่งเร็วขึ้น รวมทั้งกล้อง LSST จะช่วยศึกษาสสารมืด (dark matter) สสารลึกลับที่คิดเป็น 85% ของสรรพสิ่งทั้งหมดในจักรวาล 

“ข้อมูลที่กล้อง LSST เก็บรวบรวมมาได้มีความสำคัญอย่างยิ่ง มันจะช่วยให้เราสามารถศึกษาการขยายตัวของเอกภพ และพลังงานมืดได้อย่างแม่นยำ การสำรวจด้วยกล้อง LSST จะทำให้เราสามารถมองเห็นกาแลคซีหลายพันล้านแห่ง ดาวฤกษ์ประมาณ 17,000 ล้านดวงในกาแลคซีทางช้างเผือกของเรา และดาวเคราะห์น้อยในระบบสุริยอีกหลายล้านดวง เราจะไม่ได้มองดูวัตถุแค่ทีละชิ้น แต่เราจะมองไปที่ทุกสิ่งทุกอย่างบนท้องฟ้ายามค่ำคืน จากยอดเขาของเราในประเทศชิลี” 

Aaron Roodman ศาสตราจารย์จาก SLAC กล่าว


ภาพที่ได้จากกล้อง LSST Camera จะต่างจากภาพจากกล้องโทรทรรศน์ชื่อดังอย่าง เจมส์ เวบบ์ ของ NASA โดยภาพจากกล้องเจมส์ เวบบ์ จะมีลักษณะเด่นคือ ‘แฉก’ (diffraction spikes) ที่ปรากฏอยู่รอบ ๆ วัตถุที่มีความสว่าง ทำให้เรามองเห็นภาพกาแล็คซี่ได้อย่างชัดเจน 

ขณะที่ภาพจากกล้อง LSST Camera จะมองไม่เห็นรายละเอียดของกาแล็กซี่แบบชัดเจนเหมือนกับกล้องเจมส์ เวบบ์ แต่ภาพจะมีความ ‘กว้างกว่า’ มองเห็นได้ทั่วฟ้าทั้งดาว และกาแล็กซีจำนวนมหาาล ซึ่งแม้ว่าภาพจะกว้าง แต่กล้อง LSST ก็ยังถ่ายได้ละเอียด โดยสามารถถ่ายเห็นลูกกอล์ฟได้ไกลถึง 24 กิโลเมตรเลยทีเดียว

สำหรับภาพถ่ายแรกจากกล้อง LSST Camera มีกำหนดการเผยแพร่สู่สาธารณะในเดือนมีนาคม ปี 2025 โดยจะปักหลักคอยสอดส่องห้วงอวกาศบนยอดเขาสูงในทะเลทรายอาตามากา ของประเทศชิลี ซึ่งเป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับวางกล้องโทรทรรศน์

“อีกไม่นาน เราจะเริ่มสร้างภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และแผนที่ท้องฟ้ายามค่ำคืนที่เต็มไปด้วยข้อมูลมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา” 

Željko Ivezić นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตันและผู้อำนวยการก่อสร้างกล้องกล่าว



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ม.มหิดล ผลักดันแหล่งทุนสตาร์ทอัพฯ iNT บ่มเพาะ สานต่อนวัตกรรมยุคใหม่สู่สังคม

หากเปรียบสตาร์ทอัพคือ “นักรบเศรษฐกิจใหม่” ที่จะมาช่วยพลิกประเทศให้มีความเจริญเติบโตมากขึ้น การปั้นนักรบให้มีอาวุธที่แหลมคมและมีคลังเสบียงอย่างเพียงพอจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น การเร...

Responsive image

กว่าจะเป็น Product and Service ที่ตอบโจทย์ลูกค้า ทีม Data ต้องทำอะไรบ้าง ? : รู้จักทีม Intelligence Engineering & Data Technology ที่ KBTG | Tech for Biz EP. 29

กว่าจะได้ผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้า รู้ไหมทีม Data ต้องทำอะไรบ้าง ? . เผยเบื้องหลังการทำงานของทีม Intelligence Engineering & Data Technology ที่ KBTG เจาะลึกกลยุทธ์การส...

Responsive image

Meta จัดงาน Facebook IRL เชื่อมต่อ Creator Community ในชีวิตจริง เผยผู้ใช้ Facebook ในไทย 60 ล้านคนต่อเดือน

ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่เวทีโลกอีกครั้ง เมื่อ Meta เลือกกรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในสามประเทศนอกสหรัฐฯ ที่จัดงาน Facebook IRL หรือ Facebook In Real Life ณ ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ระหว่างวันที...