3 กรณีศึกษาการใช้ Microsoft Azure เพื่อพัฒนาซอฟแวร์บน Cloud และนำออกสู่ตลาด

3 กรณีศึกษาการใช้ Microsoft Azure เพื่อพัฒนาซอฟแวร์บน Cloud และนำออกสู่ตลาด

ล่าสุด Microsoft Azure ได้ประกาศเดินหน้ามุ่งเป็น Cloud Platform ของวงการซอฟแวร์ไทย ก่อนหน้านี้เรามักจะติดภาพ Microsoft ในลุคของ enterprise แต่ขณะนี้ Azure ได้เป็นแพลตฟอร์มพร้อมบริการเสริมมากมาย ที่เหมาะกับ SMB และ Startups มากทีเดียว โดยพากรณีศึกษาสามบริษัท มาเล่าถึงประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้ Microsoft Azure ไม่ว่าจะเป็นการเทรนนิ่ง บริการเครื่องมือต่างๆ รวมถึงการเข้าสู่ตลาด (go-to-market)

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปร่วมงานแถลงข่าว Cloud Superheroes - Powered by Microsoft Azure ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 โดยในงานประกอบไปด้วยการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการนำ Microsoft Azure ไปใช้ เพื่อที่ว่า ISV (Independent Software Vendor) บริษัทพัฒนาซอฟแวร์อิสระ (หรือก็คือ tech startups นั่นเอง และครอบคลุมถึงบริษัทต่างๆที่ผลิตซอฟแวร์ด้วย) จะสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสู่ผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยมี Microsoft Azure เป็น Cloud platform สำหรับการสร้าง ติดตั้ง รวมถึงการจัดการ solution ซึ่งสามารถเช่าใช้บริการได้โดยให้ ไมโครซอฟต์ช่วยดูแลจัดการด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และระบบเครือข่าย

Feature2

ปัจจุบันมี ISV ทั้งสิ้น 200 ราย ที่ใช้งาน Azure จากที่มีอยู่ทั้งสิ้น 600 รายในตลาด ตัวอย่าง ISV ที่เป็น startup เด่นๆของไทย ได้แก่ ClaimDi, Buzzebees, Ecartstudio, Ookbee, StockRadars และ BentoWeb ซึ่งสองรายหลังได้มาร่วมแชร์ข้อมูลในวันนี้ พร้อมกับ Sitecore ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติผู้ผลิต Experience management platform สำหรับลูกค้าองค์กร

StockRadars

เป็นแอปพลิเคชั่นวิเคราะห์และค้นหาหุ้น ซึ่งต้องรับมือกับ data ข้อมูลย้อนหลังตลาดหุ้นจำนวนมหาศาล คุณแมกซ์ ธีระชาติ ได้ให้ข้อมูลประเด็นการเลือกใช้ cloud platform ที่ตนสนใจ ได้แก่

  • Scalability คือสามารถรองรับข้อมูลมหาศาลแบบค่อยๆทยอยเพิ่มได้
  • สามารถใช้ services สำเร็จรูปที่มีให้ใน Azure ช่วยให้ไม่ต้อง dev เองในหลายๆเรื่อง
  • สามารถ deploy ความสามารถใหม่ๆได้รวดเร็ว ซึ่งความเร็วเป็นเรื่องสำคัญสำหรับ startup
  • รองรับการขยายออกสู่ตลาดต่างประเทศ เพราะไมโครซอฟต์ มี data center กระจายอยู่ถึง 19 ภูมิภาค ซึ่งเป็นรายที่ให้บริการครอบคลุมมากที่สุดในโลก
  • Security ที่คุ้มกันความปลอดภัยของข้อมูล

โดยแอป StockRadars กำลังจะรองรับการเทรดหุ้นภายในแอป ภายในเดือนหน้า และปัจจุบันได้ขยายธุรกิจสู่สิงคโปร์และอินโดนีเซียแล้ว และมีแผนจะขยายไปอีก 5 ประเทศภายในปี 2559 นี้

BentoWeb 

เป็นระบบร้านค้าออนไลน์สำเร็จรูป ที่ให้บริการแบรนด์กว่า 4 หมื่นราย ตั้งแต่ระดับ OTOP ไปถึงระดับบริษัทมหาชน ในฐานะร้านค้าออนไลน์ ระบบจึงต้องสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ทั้งฝ่ายผู้ขาย และฝ่ายผู้ซื้อเช่นเดียวกัน คุณทร ณัฐเศรษฐ์ ได้ให้ข้อมูลประเด็นที่ตนสนใจ ได้แก่

  • ต้องมีความรวดเร็ว สามารถรองรับ transaction ของผู้ซื้อและผู้ขายได้ไม่จำกัด
  • เพิ่มความน่าเชื่อถือของบริษัท
  • แบ่งเบาภาระงาน และประหยัดค่าใช้จ่าย
  • เป็น platform ที่เปิดกว้าง รองรับ opensource มากมาย
  • Support ที่ดี มีบริการเทรนนิ่งให้ถึงออฟฟิศ

คุณทรเล่าว่า เดิมที BentoWeb เคยใช้ server ของตัวเอง แต่พบปัญหาหลักอยู่สองเรื่อง ได้แก่ ปัญหาการหาทีมงานที่มีความรู้ความสามารถเรื่อง server และปัญหาการสร้างความเชื่อมั่นความปลอดภัยให้กับลูกค้า ซึ่งการใช้บริการของไมโครซอฟต์ ก็ช่วยสร้างความเชื่อมั่นได้มากกว่า และช่วยลดภาระเรื่องการดูแล server ทั้งเรื่องของพนักงานและเรื่องค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์ เปลี่ยนเป็นการจ่ายเป็นค่าบริการรายเดือนแทน ซึ่งคุ้มค่ากว่า

Sitecore

เป็นซอฟแวร์บริหารจัดการประสบการณ์ลูกค้า มีองค์กรที่ใช้งานอยู่ทั่วโลก คุณจูเลีย ลี ได้ให้ข้อมูลว่า Sitecore ใช้บริการ Azure มาอย่างต่อเนื่อง โดยเคยได้รับเลือกเป็น Global partner of the year นอกจากประโยชน์ต่างๆที่ได้รับเช่นเดียวกับสองตัวอย่างแรกแล้ว การที่เป็น partner กับไมโครซอฟต์ก็ช่วยให้เข้าถึงตลาดในประเทศต่างๆได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะไมโครซอฟต์มีสาขาอยู่ทั่วโลก อย่างประเทศไทยก็ถือเป็นตลาดใหม่สำหรับ Sitecore ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟต์ ประเทศไทย เป็นอย่างดี

bentoweb shares azure idea

ความน่าสนใจก็คือ Microsoft เปิดเผยว่าขณะนี้ตนเป็นผู้ให้บริการ cloud เจ้าเดียวในประเทศไทย ที่ช่วยสนับสนุน ISVs ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุด (end-to-end support) ตั้งแต่ความช่วยเหลือและคำแนะนำด้านเทคนิค การเปิดให้เข้าถึงเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ซอฟแวร์ เพื่อช่วยในการทำงาน ไปจนถึงการจับมือคู่ค้าเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ (go-to-market strategy) โดยความช่วยเหลือต่างๆ ได้แก่

ประโยชน์ต่างๆสำหรับนักพัฒนา

  • มี support ในประเทศไทย สามารถขอความช่วยเหลือหรือการสนับสนุนได้สะดวกสบาย
  • Microsoft BizSpark ที่ให้เข้าถึง resources มากมายทั้ง license ซอฟแวร์ของไมโครซอฟต์ และเครื่องมือต่างๆสำหรับใช้งานบน cloud พร้อมข้อแนะนำและคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
  • Azure เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดกว้าง ไม่ได้จำกัดเฉพาะซอฟแวร์ของไมโครซอฟต์ แต่รองรับ opensource
  • มีบริการสำเร็จรูปกว่า 500 บริการ เช่น Windows bridge เป็นตัวที่ช่วย port แอปบน iOS หรือ android ให้สามารถรันได้เลยบน Windows
  • จัดให้มีกิจกรรมสำหรับ ISV มากกว่า 50 กิจกรรมต่อปี มีทั้งกิจกรรมเทรนนิ่งด้านเทคนิค และกิจกรรมช่วยเหลือด้านการตลาด
  • Microsoft Innovation Center (MIC) ที่ก่อตั้งขึ้นร่วมมือกับ สวทช. ก็ได้ให้การสนับสนุนกับ ISV ไปแล้วกว่า 400 รายผ่านทางโครงการและกิจกรรมมากมาย เช่น ความร่วมมือกับโครงการนักศึกษาฝึกงานของไมโครซอฟต์ เป็นต้น
  • Microsoft ISV Solution Directory และ Microsoft Pinpoint ที่กำลังพัฒนาอยู่ จะช่วยเป็นตลาดกลางที่ให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อหาโซลูชั่นของ ISV ต่างๆมาใช้งานได้ตรงตามความต้องการ
  • นอกเหนือจากนี้ ยังได้คัดเลือก ISV จำนวนหนึ่งให้เข้าร่วมโครงการ SMB Power Up ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2558 เพื่อนำเสนอโซลูชั่นและบริการให้กับลูกค้าทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

SMB Power Upท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ ธุรกิจซอฟแวร์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะขยายตัวอีก 12.8% ในปี 2559 นี่จึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับ Tech startup และ ISV ต่างๆ ในการเป็นผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ซอฟแวร์ออกสู่ตลาดทั้งในระดับประเทศและระดับสากล หวังว่าสรุปข่าวนี้จะช่วยให้นักพัฒนามองเห็นโอกาสและช่องทางการประยุกต์ใช้บริการของ cloud platform ค่ะ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไม่ยอมขายแอป ก็โดนแบน สหรัฐฯ จ่อแบน TikTok หวั่นเป็นภัยความมั่นคงชาติ

สหรัฐฯ ผ่านกฎหมายแบน TikTok แล้ว บังคับบริษัทแม่ ByteDance ต้องขายแอปภายใน 1 ปี มิฉะนั้นจะถูกแบนในสหรัฐฯ ด้านซีอีโอ TikTok ประกาศกร้าว พร้อมท้าทายกฎหมาย ไม่ไปไหนทั้งนั้น...

Responsive image

KBank ผนึก J.P. Morgan เปิดโปรเจกต์ Carina ใช้บล็อกเชน ลดเวลาทำธุรกรรมจาก 72 ชั่วโมงเหลือ 5 นาที

Kbank ร่วมกับ J.P. Morgan Chase Bank เปิดตัวโปรเจคต์นวัตกรรมคารินา (Carina) ลดระยะเวลาการทำธุรกรรม จากที่ใช้เวลา 72 ชั่วโมงเหลือเพียงแค่ 5 นาที...

Responsive image

Apple Vision Pro ขายไม่ดีอย่างที่คิด Apple ลดคาดการณ์ยอดขายกว่าครึ่ง ปรับแผนใหม่

Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สาย Apple เผยว่า Apple ได้ลดตัวเลขยอดขาย Apple Vision Pro ในปีนี้เหลือเพียง 400-450,000 เครื่องเท่านั้น ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ (มากกว่า 700–800,000 เครื่อง)...