ก.พลังงานจับมือ กกพ.เตรียมซื้อไฟฟ้าจาก Solar Cell ของประชาชน | Techsauce

กระทรวงพลังงาน จับมือ กกพ. เตรียมซื้อไฟฟ้าจาก Solar Rooftop ของประชาชน พ.ค. นี้

  • กระทรวงพลังงานจับมือ กกพ. เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนจำหน่ายไฟฟ้าส่วนเกินจากการผลิต Solar Rooftop ภายในเดือนพฤษภาคมนี้
  • ตั้งเป้าซื้อไฟฟ้าจากประชาชนยาว 10 ปี ปริมาณรับซื้อ 100 MW ต่อปี ราคาไม่เกิน 1.68 บาทต่อหน่วย

Image by U. Leone from Pixabay

การจัดการพลังงาน เป็นหนึ่งในเรื่องที่ประเทศไทยตื่นตัวชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในปี 2019 ที่มี Project ด้านพลังงานมากมายทั้งของภาครัฐฯ และเอกชน ล่าสุด กระทรวงพลังงาน ซึ่งถือเป็นหัวเรือใหญ่ของภาครัฐฯ ด้านการจัดการพลังงาน ร่วมมือกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. เปิดตัวโครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน” เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนกับ กกพ. เพื่อเข้าสู่ระบบการขายพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินจาก Solar Rooftop เข้าระบบไฟฟ้าส่วนกลางได้

โครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน” เปิดโอกาสให้เจ้าของบ้านและอาคารที่ขึ้นมิเตอร์ไฟฟ้าประเภท บ้านอยู่อาศัย และติดตั้งแผง Solar เพื่อผลิตไฟฟ้า มาลงทะเบียนเพื่อร่วมโครงการเพื่อขายพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินที่ผลิตและใช้คืนสู่ระบบได้ โดยรับที่จำนวน 100 MW ต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี ซึ่งการลงทะเบียนจะเริ่มภายในเดือนพฤษภาคมนี้

นอกจากนี้ รัฐบาลยังสนับสนุนผู้ผลิตและผู้ประกอบการติดตั้งแผง Solar Rooftop และสถาบันอาชีวะศึกษา ให้มีส่วนร่วมผลักดันการติดตั้งและบำรุงรักษา Solar Rooftop ของประชาชน โดยคาดว่าจะมีผู้ติดตั้งปีละ 10,000-20,000 ราย เป็นมูลค่าตลาดราว 4,000 ล้านบาท

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ว่า “ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 ได้มีมติเห็นชอบแผนการพัฒนาระบบไฟฟ้าฉบับใหม่ PDP2018 ในการเสริมสร้างระบบพลังงานไฟฟ้าของประเทศที่มั่นคง ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในราคาที่ส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศสามารถแข่งขันได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”

"เราจะใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาสู่ Thailand 4.0 พัฒนาระบบพลังงานให้รองรับการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ได้ในสัดส่วน 35 เปอร์เซ็นต์ของทั้งประเทศภายในปี 2037 ทั้งนี้ Solar Cell ถือเป็นส่วนสำคัญของพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วน 50 เปอร์เซ็นต์ และด้วยนโยบายสนับสนุนของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการผลิตพลังงานทั้งใช้เองและส่งต่อมายังส่วนกลาง จึงสนับสนุนด้วยการรับซื้อที่ไม่เพียงได้ใช้พลังงานถูกลงเท่านั้น แต่ยังอาจเป็นรายได้เสริมได้ด้วย"

คุณเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)  เปิดเผยว่า ภายใต้นโยบายของ กกพ.  ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูล การสร้างความเข้าใจ และการสร้างความโปร่งใส ในกระบวนการพิจารณาทุกขั้นตอน ให้กับประชาชนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการฯประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุดเป็นไปตามเป้าหมาย และนโยบายของรัฐบาล

สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการ ประกอบด้วย

  1. สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) จะเริ่มกระบวนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2562 โดยประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลได้ที่ 02-207-3599 หรือติดตามจากเว็บไซต์ สำนักงาน กกพ. ที่ www.erc.or.th และเว็บไซต์ของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายทั้ง 2 แห่ง
  2. เปิดรับลงทะเบียนสำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวงและเว็บไซต์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และหมดเขตรับลงทะเบียนภายในปี 2562
  3. ทยอยประกาศรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณาโดยการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562
  4. กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ภายในปี 2562

สำหรับหลักเกณฑ์การประกาศรับซื้อไฟฟ้าภายใต้โครงการฯ ประกอบด้วย

  • คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
    • บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า
    • เป็นผู้ที่มีเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าประเภทที่ 1 ตามประกาศอัตราค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายไม่เกิน 10 KW ต่อครัวเรือน
  • เป้าหมาย และปริมาณการรับซื้อรวม 100 เมกะวัตต์
    • พื้นที่การไฟฟ้านครหลวงรวม 30 เมกะวัตต์
    • พื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาครวม 70 เมกะวัตต์
  • เงื่อนไขในการพิจารณา และข้อยกเว้น
    • การพิจารณาแบบเรียงลำดับก่อนหลังตามความพร้อม (First come First served) โดยจะยึดถือวันและเวลาที่ได้รับแบบคำขอที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสารหลักฐานที่กำหนดเป็นสำคัญ
    • ราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในอัตราไม่เกิน 1.68 บาท/หน่วย ระยะเวลารับซื้อ 10 ปี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก energy.go.th และ erc.or.th

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...