ND Rubber ทุ่มอีก 40 ล้านบาท ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ETRAN เพื่อรักษาสัดส่วนถือหุ้น 35% | Techsauce

ND Rubber ทุ่มอีก 40 ล้านบาท ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ETRAN เพื่อรักษาสัดส่วนถือหุ้น 35%

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เอ็น.ดี.รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ND Rubberไฟเขียวเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน “อีทราน (ไทยแลนด์)” เพื่อรักษาสัดส่วนถือหุ้น 35% พร้อมมีมติจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน (คงเหลือ) จำนวน 9,367,700 หุ้น  ขาย PP ให้กับ “นัยนา เฟื่องฟูกิจไพศาล” ใช้เป็นเงินทุนในการดําเนินธุรกิจ

คุณชัยสิทธิ์ สัมฤทธิวณิชชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ดี.รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) NDR ผู้ผลิตและจำหน่ายยางนอก และยางในรถจักรยานยนต์ภายใต้แบรนด์ N.D. Rubber  เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 มีมติอนุมัติการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ บริษัท อีทราน (ไทยแลนด์) จำกัด (ETRAN) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯ เพื่อเป็นการรักษาสัดส่วนการถือครองหุ้น 35% ของทุนจดทะเบียนชําระแล้ว โดยคิดเป็นมูลค่าการลงทุน จำนวน 40,133,100 บาท เนื่องจากบริษัท ETRAN อยู่ระหว่างการขยายกำลังการผลิต จึงได้มีการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน เพื่อใช้เป็นเงินหมุนเวียนในการสั่งซื้ออะไหล่และแบตเตอรี่ รวมถึงใช้ในการประกอบ รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 

สําหรับการเพิ่มทุนของ ETRAN ในครั้งนี้ นอกจากเป็นการเพิ่มทุน เพื่อรองรับการลงทุนจากผู้ถือหุ้นเดิมแล้ว ยังมีนักลงทุนรายใหม่อีก 1 รายเข้าร่วมลงทุนด้วย คือ Mr. Marco Low Peng Kiat ซึ่งเป็นนักธุรกิจ และไม่เข้าข่ายเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 21/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันและประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่เกี่ยวโยงกัน พ.ศ. 2546 (ตามที่แก้ไขเพิ่มเติม)

“ETRAN เป็นบริษัท Start-up และเริ่มเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ทําให้มียอดจองและยอดสั่งซื้อรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการบริษัทฯจึงเห็นสมควร และมีมติอนุมัติเข้าลงทุนเพิ่มใน ETRAN” คุณชัยสิทธิ์ กล่าว

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีมติอนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนแบบมอบอํานาจทั่วไป (General Mandate) จํานวน 9,367,700 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ให้แก่บุคคลในวงจํากัด (Private Placement) ได้แก่ นางสาวนัยนา เฟื่องฟูกิจไพศาล ราคาเสนอขาย 2.80 บาทต่อหุ้น โดยราคาดังกล่าวเป็นราคาอ้างอิงจากราคาตลาดซึ่งได้คํานวณจากราคาตลาดถัวเฉลี่ยถ่วงนํ้าหนักย้อนหลัง 7 วันทําการติดต่อกัน ก่อนวันที่คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้ออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ คือ ระหว่างวันที่ 19 ตุลาคม 2564 ถึง 28 ตุลาคม 2564 โดยกําหนดวันจองซื้อและชําระเงินค่าหุ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ถึง 2 พฤศจิกายน 2564 

ทั้งนี้ เป็นไปตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจําปี 2564 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 อนุมัติให้จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน จํานวนไม่เกิน 31,500,000 หุ้น คิดเป็น 10% ของทุนจดทะเบียนชําระแล้วของบริษัทฯ เพื่อเสนอขายให้แก่บุคคลในวงจํากัด (Private Placement) ในแบบมอบอํานาจทั่วไป (General Mandate) ซึ่งยังมีจำนวนหุ้นคงเหลือสำหรับการจัดสรร จำนวน 9,367,700 หุ้น

คุณชัยสิทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเม็ดเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนครั้งนี้ เพื่อเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนในบริษัท อีทราน (ไทยแลนด์) จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯ โดยปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการขยายกําลังการผลิต อีกทั้งเพื่อเป็นการรักษาสัดส่วนการถือหุ้นไว้ ทั้งนี้การจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนแบบมอบอํานาจทั่วไปให้แก่ นางสาวนัยนา เฟื่องฟูกิจไพศาล ทําให้บริษัทฯ สามารถระดมทุนได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งไม่กระทบต่อกระแสเงินสดของบริษัทเมื่อนำเงินไปเพิ่มทุนในบริษัท อีทราน (ไทยแลนด์) จำกัด


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ททท. x TikTok หนุนครีเอเตอร์ ร่วมฝึกคน ททท. เล่าเรื่องเมืองไทย เพิ่มรายได้เข้าท้องถิ่น

เจาะความร่วมมือระหว่าง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ TikTok ในด้านวิธีส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ทั้งการดึงครีเอเตอร์ทั้งไทยและเทศ มามีส่วนร่วมมากขึ้น, การพั...

Responsive image

True IDC จับมือ Siam AI Cloud ยกระดับ AI Ecosystem ไทยสู่ระดับโลก

ทรู ไอดีซี และ สยามเอไอคลาวด์ ร่วมมือพัฒนาระบบนิเวศ AI ของไทย ครอบคลุมดาต้าเซ็นเตอร์ AI โมเดล และบริการ AI-as-a-Service มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลาง AI ของภูมิภาคอย่างยั่งยืน...

Responsive image

OpenAI ปล่อย ChatGPT o1 ตัวเต็ม เจาะกลุ่ม STEM ใช้ได้บน ChatGPT Pro ราคาราว 6,800 บาท

OpenAI ฉลองเทศกาลคริสต์มาส 2024 ด้วยแคมเปญพิเศษ "12 Days of OpenAI" เปิดตัวโมเดล o1 และ ChatGPT Pro พร้อมอัปเดตความสามารถใหม่ รองรับการใช้งาน AI ขั้นสูงสุดในอุตสาหกรรมต่าง ๆ...