ก.ล.ต. ประกาศลุยกำกับดูแล NFT แล้ว! | Techsauce

ก.ล.ต. ประกาศลุยกำกับดูแล NFT แล้ว!

กระแสที่มาแรงอย่างเห็นได้ชัดของ NFT : Non-Fungible Token หรือ การนําเทคโนโลยีมาใช้แสดงความเป็นเจ้าของหรือ ให้สิทธิในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือที่มีลักษณะเฉพาะในแต่ละเหรียญ ไม่สามารถทดแทนกันได้ (non-fungible) ทำให้ล่าสุดสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้มีการเผยแพร่บทความเรื่อง "Non-Fungible Token (NFT) และการกำกับดูแลของ ก.ล.ต. 

ก.ล.ต. ประกาศลุยกำกับดูแล NFT  แล้ว!

โดยมีใจความว่า....ปัจจุบันกระแสของ Non-Fungible Token (NFT) หรือ การนําเทคโนโลยีมาใช้แสดงความเป็นเจ้าของหรือ ให้สิทธิในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือที่มีลักษณะเฉพาะในแต่ละเหรียญ ไม่สามารถทดแทนกันได้ (non-fungible) เช่น งานศิลปะ เพลง รูปภาพ ของสะสมเกี่ยวกับศิลปินหรือนักกีฬา กําลังได้รับความนิยม ทั้งจากผู้ที่สนใจจะนําทรัพย์สินหรือผลงานที่มีมาออกและเสนอขายในรูปของ token 

ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะให้บริการแพลตฟอร์มในการซื้อขาย NFT ทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง และผู้ที่สนใจซื้อขาย NFT ไม่ว่าจะด้วยความชื่นชอบในผลงาน เพื่อการใช้งาน หรือเพื่อการเก็งกําไร เนื่องจากการสร้างผลงานในลักษณะ NFT นั้นสามารถเพิ่มความสะดวกในการซื้อขายแลกเปลี่ยน ทําให้เข้าถึงผู้ใช้งานได้มากขึ้นด้วยเทคโนโลยี และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ การแสดงสิทธิในทรัพย์สิน รวมถึงป้องกันการปลอมแปลงได้อีกด้วย

ตามพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) ไม่ได้มีการกําหนดเกี่ยวกับ NFT ไว้โดยเฉพาะ แต่กําหนดขอบเขตของสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้     การกํากับดูแลไว้ 3 ประเภท ได้แก่

1.คริปโทเคอร์เรนซี เป็นเหรียญดิจิทัลที่ใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่ง สินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยกัน

2.โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment token) เป็นเหรียญดิจิทัลที่ให้สิทธิในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใด ๆ

3.โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility token) เป็นเหรียญดิจิทัลที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง โดยแบ่งเป็น Utility token พร้อมใช้ และ Utility token ไม่พร้อมใช้

  • Utility token พร้อมใช้ ผู้ถือเหรียญสามารถใช้สิทธิแลกสินค้าหรือใช้บริการได้ทันที ตั้งแต่วันที่เสนอขายครั้งแรก 
  • Utility token ไม่พร้อมใช้ ผู้ถือเหรียญจะยังไม่สามารถใช้สิทธิแลกหรือใช้ประโยชน์ สินค้าหรือบริการนั้นได้ในวันเสนอขาย แต่ต้องรอใช้สิทธิในอนาคต 

ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะกํากับดูแลการออกเสนอขาย Investment token และ Utility token ไม่พร้อมใช้ ดังนั้นหากมีการเสนอขาย Investment token หรือ Utility token ไม่พร้อมใช้ ผู้ออกต้องได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. โดยเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนด และต้องเสนอขายผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.

สําหรับกรณีของ NFT นั้น จะต้องพิจารณาว่าลักษณะของ NFT แต่ละเหรียญ เข้านิยาม “สินทรัพย์ ดิจิทัล” ประเภทใดประเภทหนึ่งตาม ..สินทรัพย์ดิจิทัลฯ หรือไม่

หากเป็น NFT ที่มีการกําหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง เช่น มีการออก NFT ที่ให้สิทธิในการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งของที่มีลักษณะทางกายภาพที่จับต้องได้ (physical) หรือไฟล์ดิจิทัล หรือมีการสะสม NFT แล้วให้สิทธิแก่ผู้ถือไปแลกของหรือสิทธิอย่างอื่น จะเข้านิยาม utility token ตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ดังนั้น การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ NFT ลักษณะนี้ จึงต้องปฏิบัติ ตามกฎเกณฑ์ภายใต้ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ

แต่ถ้าหาก NFT นั้น เป็นตัวทรัพย์สินนั้นเอง เวลาซื้อขายหรือโอนก็ติดไปด้วยกัน ไม่อาจแยกกันได้ และไม่ได้มีการกําหนดสิทธิใด ๆ เพิ่มเติม และไม่มีวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน เช่น NFT ที่สร้างขึ้นโดยการเก็บ digital file บน Interplanetary File System (IPFS) และสร้างเหรียญดิจิทัลขึ้นมา เพื่อความสะดวกในการซื้อขายแลกเปลี่ยน (ไม่ว่าจะสร้าง NFT เหรียญเดียวหรือหลายเหรียญจาก digital file ที่เก็บบน IPFS) โดย digital file และเหรียญนั้นจะโอนติดไปด้วยกัน ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลง และไม่ สามารถแยกกันได้ เป็นต้น NFT ดังกล่าวจะไม่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล การดําเนินการเกี่ยวกับ NFT นั้น จึงไม่ถูก กํากับดูแลโดย พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ

ก.ล.ต. ประกาศลุยกำกับดูแล NFT  แล้ว!

สําหรับการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นคริปโทเคอร์เรนซี หรือ โทเคนดิจิทัล ผู้ประกอบธุรกิจต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด โดยปัจจุบันมีการกํากับดูแลธุรกิจ 5 ประเภท ได้แก่ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ ดิจิทัล (exchange) นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (broker) ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (dealer) ที่ปรึกษา สินทรัพย์ดิจิทัล (investment advisor) และผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (private fund)

ขณะที่การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับ NFT ที่เข้าข่ายเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ในลักษณะการเป็นศูนย์กลางหรือเครือข่ายใด ๆ ที่จัดให้มีขึ้นเพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยน NFT โดยการจับคู่ หรือหาคู่สัญญาให้ หรือการจัดระบบหรืออํานวยความสะดวกให้ผู้ซึ่งประสงค์จะซื้อขายหรือแลกเปลี่ยน NFT สามารถทําความตกลงหรือจับคู่กันได้ โดยกระทําเป็นการค้าปกติ (NFT marketplace) ต้องได้รับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มี NFT marketplace  ที่ได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นอกจากนี้ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถนํา NFT ที่เข้าข่ายเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลตาม ..สินทรัพย์ดิจิทัลฯ มาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขาย สินทรัพย์ดิจิทัลได้ ตามข้อ 39/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 18/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2564

ทั้งนี้ ก.ล.ต. อยู่ระหว่างทบทวนหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแล NFT marketplace เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการกํากับดูแลของสากล

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Apple Vision Pro ขายไม่ดีอย่างที่คิด Apple ลดคาดการณ์ยอดขายกว่าครึ่ง ปรับแผนใหม่

Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สาย Apple เผยว่า Apple ได้ลดตัวเลขยอดขาย Apple Vision Pro ในปีนี้เหลือเพียง 400-450,000 เครื่องเท่านั้น ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ (มากกว่า 700–800,000 เครื่อง)...

Responsive image

Apple ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 55% ตั้งเป้าสู่ Net Zero ในปี 2030

Apple เผยรายงานความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อม และประกาศปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ประจำปี 2024...

Responsive image

สร้างวิดีโอสมจริง ใช้แค่รูปนิ่งกับคลิปเสียง รู้จักโมเดล VASA-1 ที่ Microsoft กำลังวิจัย

แค่ใช้รูปถ่ายกับคลิปเสียง ก็สามารถสร้างวิดีโอของเราได้แบบสมจริง ด้วยโมเดล VASA-1 ตัวใหม่จาก Microsoft ที่ต้องบอกว่าทั้งน่าทึ่ง น่าประทับใจ และน่ากลัวด้วย...