ในปี 2563 บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR มีรายได้ขายและบริการ 428,804 ล้านบาท ลดลง 148,330 ล้านบาท หรือคิดเป็น -25.7% จากปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิมีจำนวน 8,791 ล้านบาท ลดลง 2,105 ล้านบาท หรือคิดเป็น -19.3%
ในปี 2563 บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (“กลุ่ม OR”) มีรายได้ขายและบริการ 428,804 ล้านบาท ลดลง 148,330 ล้านบาท (-25.7%) จากปีก่อน โดยหลักจากรายได้กลุ่มธุรกิจน้ำมัน โดย (1) ราคาขายเฉลี่ยผลิตภัณฑ์น้ำมันปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งเป็นผลจากสงครามราคาระหว่างกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (OPEC) และประเทศรัสเซีย ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอุปทานน้ำมันทั่วโลก รวมทั้งอุปสงค์ของน้ำมันทั่วโลกก็ลดลงจากการระบาดของโรค COVID-19 และ (2) ปริมาณขายในกลุ่มผลิตภัณฑ์หลักปรับลดลง ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำมันอากาศยานดีเซล และเบนซิน จากผลกระทบของการระบาดของโรค COVID-19 สำหรับในประเทศไทยเพื่อระงับและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 รัฐบาลไทยจึงได้ออกมาตรการจำกัดการเดินทาง และเวลาในการเปิด-ปิด ร้านค้า ส่งผลกระทบต่อปริมาณการขายในช่วงเดือนเมษายน 2563
สำหรับ EBITDA ในปี 2563 จำนวน 17,619 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 615 ล้านบาท (+3.6%) จากปีก่อน บางส่วนเป็นผลจากการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน (Thailand Financial Reporting Standard : TFRS ) ฉบับที่ 16 สัญญาเช่า ทำให้ต้องจัดประเภทค่าเช่าที่เข้าเงื่อนไขตามมาตรฐานบัญชี จากเดิมจัดอยู่ในประเภทค่าใช้จ่ายดำเนินงานไปเป็นค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ส่งผลให้ EBITDA เพิ่มขึ้นประมาณ 1,361 ล้านบาท แม้ว่ากำไรขั้นต้นปรับลดลง948 ล้านบาท (-2.8%) โดยหลักจากธุรกิจน้ำมันในผลิตภัณฑ์น้ำมันอากาศยานที่ปริมาณขายลดลงขณะที่กำไรขั้นต้นเฉลี่ยของน้ำมันอากาศยานปรับเพิ่มขึ้น ในด้านค่าใช้จ่ายดำเนินงานสุทธิและรายได้อื่น ปรับลดลง 1,567 ล้านบาท (-9.2%) โดยหลักจากค่าใช้จ่ายที่ลดลงผันแปรตามปริมาณขายที่ลดลงเช่น ค่าจ้างเติมน้ำมันอากาศยาน ค่าขนส่ง ค่าโฆษณาส่งเสริมการขาย เป็นต้น รวมถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่องสัญญาเช่า ตามที่กล่าวข้างต้น ทำให้ปี 2563 มี EBITDA margin รวมที่ 4.1%
สำหรับ กำไรสุทธิในปี 2563 มีจำนวน 8,791 ล้านบาท ลดลง 2,105 ล้านบาท (-19.3%) จากค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายที่สูงขึ้นจากการขยายสถานีบริการและร้านคาเฟ่ อเมซอน รวมถึงการจัดประเภทค่าใช้จ่ายตามมาตรฐานบัญชีใหม่นอกจากนี้ มีผลขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ทางการเงินเพิ่มขึ้น จากการเริ่มใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9เครื่องมือทางการเงิน ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2563 โดยรวมแล้วส่งผลให้กำไรสุทธิต่อหุ้น อยู่ที่ 0.98 บาท ปรับลดลง (-19 %)
OR มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อขยายเครือข่ายทั้งธุรกิจน้ำมัน และธุรกิจ Non-Oil ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยณ 31ธันวาคม 2563 มีสถานีบริการน้ำมันภายใต้แบรนด์ PTT Station จำนวน 2,334 สถานี และร้านคาเฟ่ อเมซอน จำนวน3,575 สาขา และร้านเท็กซัส ชิคเก้น 78 แห่ง นอกจากนี้ OR ยังมีโครงการลงทุนที่สำคัญเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนิน ธุรกิจ โดยมีความคืบหน้า ดังนี้
• การก่อสร้างโรงงานเบเกอรี่ส่วนกลาง ศูนย์กระจายสินค้าสำหรับธุรกิจคาเฟ่ อเมซอน โรงผลิตผงผสมเครื่องดื่ม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพ และควบคุมมาตรฐานและคุณภาพ โดยมีแผนจะแล้วเสร็จภายในปี 2564
• การดำเนินการก่อสร้างคลังเก็บผลิตภัณฑ์แห่งใหม่ในเมียนมาผ่านบริษัทร่วมค้า Brighter Energy CompanyLimited (BE) เพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจน้ำมันในเมียนมา โดยมีแผนจะแล้วเสร็จภายในปี 2564
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าจะขยายตัวในช่วง2.5% – 3.5% โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ประกอบด้วย (1) แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (2) แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ (3) การกลับมาขยายตัวของอุปสงค์ภาคเอกชน ในประเทศ และ (4) การปรับตัวตามฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัว 5.8% การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมขยายตัวที่2.0% และ 5.7% ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.0% –2.0% และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอยู่ที่ 2.3% ของGDP
มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องและกลับมาขยายตัวได้ภายหลังจากผ่านพ้นจุดต่ำสุดจากการลดลงอย่างรุนแรงในปี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์2563ภายในประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ประกอบกับผลจากการดำเนินมาตรการเศรษฐกิจทั้งมาตรการทางการเงินและการคลังเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยในมีสมมติฐานคาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดในหลายประเทศ จะผ่านพ้นจุดสูงสุดไปแล้วในปี และจะสามารถรักษาอัตรา 2563 การระบาดให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินศักยภาพทางสาธารณสุขของประเทศและสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้มากขึ้นตามลำดับผ่านการรักษาสุขอนามัยและการรักษาระยะห่าง ขณะเดียวกัน ในส่วนของภาคการท่องเที่ยวหลายประเทศมีแนวโน้มที่จะเริ่มทำข้อตกลงเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างประเทศทางอากาศแบบไม่ต้องกักตัว โดยเฉพาะประเทศที่มีความเสี่ยงของการระบาดของโรคในระดับต่ำดังจะเห็นได้จากในปัจจุบันที่เริ่มมีการดำเนินการแล้ว ได้แก่ ระหว่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และระหว่างสิงคโปร์และเวียดนาม ซึ่งจะส่งผลให้มีการเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2564
ความต้องการใช้น้ำมันของโลกในปี 2564 ตามรายงานของ IEA ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5.4 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2564 ไปอยู่ที่ระดับ 96.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน สศช. คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2564 จะอยู่ในช่วง48.0 – 58.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ (1) แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก (2)ความร่วมมือระหว่าง OPEC ในการปรับลดกำลังการผลิตในปี 2564 (3) ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ อยู่ในระดับต่ำ และ (4)ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ของกลุ่ม OPEC
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน คาดการณ์แนวโน้มการใช้พลังงานปี 2564 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วง 0.2% - 1.9%จากการเพิ่มขึ้นของพลังงานเกือบทุกประเภท ยกเว้นการใช้น้ำมันสำเร็จรูปที่คาดว่ามีการใช้ลดลงในช่วง 1.9%-2.9% โดยคาดว่าการใช้น้ำมันเครื่องบินจะลดลงในช่วง 45.8% - 51.5% ตามการหดตัวของการท่องเที่ยว และการใช้ LPG ในส่วนที่ไม่รวมการใช้เป็นFeed stocks ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคาดว่าจะลดลงในช่วง 0.7%-2.7% ส่วนการใช้น้ำมันดีเซลคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วง 0.8%-1.3% การใช้เบนซินและแก๊สโซฮอลล์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วง 0.3%-0.8% การใช้ LPG โพรเพน และบิวเทนคาดว่าจะมีการใช้ลดลง ในช่วง 1.0%-5.5 % โดยการใช้ในภาคครัวเรือนคาดว่าเพิ่มขึ้นในช่วง 1.1%-2.5% และภาคอุตสาหกรรมคาดว่าเพิ่มขึ้นในช่วง1.2% -3.6% ในขณะที่การใช้ในรถยนต์คาดว่าจะลดลงในช่วง12.2%-15.8%
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด