กฟภ. จับมือ Oracle ดึงระบบ Data Warehouse และ Cloud มาใช้ในองค์กร พลิกโฉมสู่ Digital Utility เต็มรูปแบบ | Techsauce

กฟภ. จับมือ Oracle ดึงระบบ Data Warehouse และ Cloud มาใช้ในองค์กร พลิกโฉมสู่ Digital Utility เต็มรูปแบบ

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) องค์กรรัฐวิสากิจที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากได้นำระบบบริหารคลังข้อมูลอัตโนมัติ Oracle Autonomous Data Warehouse  และการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านคลาวด์ Oracle Analytics Cloud (OAC) มาช่วยบริหารจัดการข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นต่อการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และตลาดธุรกิจไฟฟ้า ตลอดจนส่งเสริมการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน

กฟภ.จำหน่ายไฟฟ้าที่คลอบคลุม 74 พื้นที่ เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กว่า 20 ล้านรายทั่วประเทศไทย โดยคิดเป็น 99% ของทั้งประเทศ ส่วนหนึ่งในความรับผิดชอบของกฟภ.คือการกำหนดนโยบายและการวางแผน จัดเตรียมการให้คำแนะนำในส่วนการลงทุนในอนาคตเชิงโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้า และพลังงานที่มีอยู่ และโครงสร้างใหม่ คลอบคลุมด้านพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อให้บรรลุความต้องการขององค์กร รวมถึงการยกระดับนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ เช่น การพัฒนาระบบโครงข่ายอัจฉริยะ (Smart Grid) กฟภ.เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่องค์กรต้องมีระบบการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมากยิ่งขึ้น    

ดร.วิโรจน์ บัวคลี่ ผู้ช่วยผู้ว่าการดิจิทัล การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กล่าวว่า “อุตสาหกรรมไฟฟ้ากำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และ กฟภ.ให้ความสำคัญในทุก ๆ ด้าน ทั้งการปรับเปลี่ยนระบบไฟฟ้าให้มีความทันสมัย ด้านพลังงานหมุนเวียน และด้านความต้องการจากประชาชนที่เพิ่มสูงขึ้น กฟภ. จำเป็นต้องเร่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรไปสู่การเป็น “ผู้ให้บริการสาธารณูปโภคระบบดิจิทัล” ด้วยการสนับสนุนของออราเคิล ทำให้เราได้ข้อมูลธุรกิจที่รวดเร็วและแม่นยำ สามารถคาดการณ์ ทำให้สามารถวางแผนการลงทุนในอนาคตได้ดี และยังสามารถลดต้นทุนการดำเนินงานได้ในทุกแผนกและสร้างผลกำไรด้านอื่น ๆ ได้มากยิ่งขึ้น”

ระบบการบริหารคลังข้อมูลอัตโนมัติที่ทันสมัยของออราเคิล ทำให้ กฟภ. สามารถรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งครอบคลุมถึงแผนกการจัดซื้อ ธุรการ ทรัพยากรบุคคล และการเงิน นอกจากนี้ ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านคลาวด์ของออราเคิลยังนำเสนอแผงควบคุมมากกว่า 30 รูปแบบให้แก่ฝ่ายบริหารอาวุโสและผู้ใช้งานมากกว่า300 คน รายใน 14 แผนกที่แตกต่างกัน ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทุกส่วนได้รับข้อมูลที่สามารถนำไปทำงานได้ในทันที ซึ่งครอบคลุมข้อมูลเชิงลึกด้านพฤติกรรมผู้ใช้ไฟฟ้าแบบเรียลไทม์ ช่วยปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันและรองรับกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การวิเคราะห์ระบบโครงข่ายไฟฟ้า

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีข้อมูลจำนวนมากสำหรับระบบที่มีอยู่ซึ่งรวบรวมข้อมูลลูกค้า รายละเอียดการใช้ไฟฟ้า ทีมวิเคราะห์ข้อมูลและปฏิบัติการประมวลผลการวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างรายงานสำหรับการปฏิบัติงานและผู้บริหารซึ่งจะมีข้อมูลมากกว่า 280 ล้านรายการ (Records) ต่อเดือน หรือประมาณ 3,400 ล้านรายการ (Records) ต่อปี กระบวนการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลนี้จะใช้เวลาประมาณ 5 วัน (โดยประมาณ) ของเวลาการทำงาน (batch run time) แต่ Oracle Cloud Solution สามารถลดเวลาการประมวลผลลงเหลือหนึ่งชั่วโมง

กฟภ. ยังทำงานร่วมกับออราเคิลเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน  มาใช้วิเคราะห์คาดการณ์การใช้พลังงานไฟฟ้า ในการคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งในระดับสูงสุด และต่ำสุดได้ล่วงหน้า ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และการควบคุมพลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ กฟภ. ใช้การทำงานแบบอัตโนมัติรูปแบบต่างๆ ในการอุดช่องโหว่ และปรับขนาดระบบฐานข้อมูล ซึ่งช่วยให้สามารถลดภาระในการบริหารระบบเทคโนโลยี

องค์กรรัฐวิสาหกิจในประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงสำคัญตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลปี 2020-2022 อีกทั้งได้เริ่มมีโครงการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญ เพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นองค์กรดิจิทัล ออราเคิลรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานในครั้งนี้” นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย กล่าว “วันนี้ กฟภ. มีขีดความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลจากทั้งองค์กร และได้ข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยคาดการณ์ได้อย่างชาญฉลาด และการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ เพื่อมอบการบริการที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการใช้ชีวิตให้กับคนไทย”



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Disrupt Health Impact Fund ปิดดีลแรก ลงทุนใน "DiaMonTech" สตาร์ทอัพ DeepTech พัฒนาเทคโนโลยีวัดระดับกลูโคส โดยไม่ต้องเจาะเลือด

ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ (Disrupt) เดินหน้าขับเคลื่อนระบบนิเวศ Healthcare หลังเปิดตัวกองทุน Disrupt Health Impact Fund เมื่อเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ล่าสุดประกาศความสำเร็จในก...

Responsive image

Binance Labs ลงทุนใน BIO Protocol เพื่อเร่งพัฒนาเทคโนโลยีแบบกระจายศูนย์ (DeSci)

Binance Labs ได้ลงทุนใน BIO Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่บุกเบิกการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดหาเงินทุนและการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในระยะเริ่มต้นโดยใช้เทคโนโลยีบ...

Responsive image

Tencent จับมือ Visa เปิดตัวระบบชำระเงินด้วยฝ่ามือ (Palm Payment) ในสิงคโปร์

Tencent ประกาศความร่วมมือกับ Visa เพื่อเปิดตัวระบบจ่ายเงินรูปแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีจดจำฝ่ามือ โดยเริ่มให้บริการในประเทศสิงคโปร์เป็นที่แรก...