คำพูดที่ว่า เศรษฐกิจไม่ดี เศรษฐกิจชะลอตัว ดูเหมือนจะเป็นคำพูดติดปากของผู้คนทั่วไปในช่วงนี้ หลายธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมล้วนได้รับผลกระทบจากการใช้จ่ายที่ลดลง และหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน คือ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค โดยข้อมูลจากผลสำรวจของ บริษัท กันตาร์เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ KWP ผู้นำด้านการวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคเชิงลึกเผยให้เห็นว่า คนไทยจับจ่ายสินค้าประเภท FMCG ลดลงอย่างต่อเนื่อง และในปี 2559 นี้คาดการณ์เติบโตเพียง 1.8% เท่านั้น
ในส่วนของตลาด E-Commerce เองก็พบข้อมูลที่น่าสนใจเช่นกัน โดยบริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ผู้ให้บริการเว็บไซต์ค้นหาและเปรียบเทียบราคาสินค้าPriceza.com ได้มีการรวบรวมข้อมูลสถิติการค้นหาสินค้าประเภทต่างๆ บนเว็บไซต์ และพบข้อมูลที่น่าสนใจในการค้นหาสินค้ากลุ่มอุปโภค บริโภคเพื่อเปรียบเทียบราคาพบว่า ภายในระยะเวลา 9 เดือน มียอดการค้นหาสินค้ากลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้นถึง 253% โดยกลุ่มสินค้าที่มียอดการค้นหาสูงสุด ได้แก่
นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และหนึ่งในผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Priceza.com กล่าวถึงข้อมูลที่ไพรซ์ซ่าพบว่า “จากข้อมูลที่เรารวบรวมได้ แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการปรับตัวให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจ จากตัวเลขข้างต้น อาจกล่าวได้ว่า แม้แต่ในสินค้ากลุ่มที่มีความจำเป็นในการดำรงชีพ ผู้บริโภคยังมีแนวโน้มในการปรับพฤติกรรมในการซื้อ โดยมีการหาข้อมูลสินค้า เปรียบเทียบราคาสินค้าเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจซื้อมากขึ้น มีการใช้เครื่องมือหรือแอพพลิเคชั่นที่ช่วยในการเปรียบเทียบราคาก่อนซื้อ หรือบางรายเริ่มเปลี่ยนวิธีการและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปซื้อสินค้า หันมาสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้นและเลือกที่จะซื้อสินค้ากลุ่มนี้ผ่านช่องทางออนไลน์หากมีโปรโมชั่นที่คุ้มค่า”
นอกจากนี้ ไพรซ์ซ่ายังได้ทำการรวบรวมสถิติกลุ่มสินค้า 10 อันดับแรก ที่มีผู้เข้ามาค้นหาและเปรียบเทียบราคามากที่สุดจากจำนวนการค้นหากว่า 35 ล้านครั้งผ่านทาง www.priceza.com ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา (ข้อมูลระหว่าง 1 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2559)
“ตลาดอีคอมเมิร์ซยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในช่วงครึงปีแรกของปี 2559 นี้ มีการเติบโตจากปี 2558 ถึง 30% บวกกับการเติบโตของเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น จึงทำให้กลายเป็นผู้บริโภคที่ฉลาดซื้อที่ให้ความสำคัญกับการค้นหาข้อมูลและเปรียบเทียบราคาสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ จากข้อมูลการค้นหาข้างต้นชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคมีการค้นหาข้อมูลสินค้าในหลากหลายประเภท ไม่เว้นแม้แต่อาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค ดังนั้นผู้ประกอบการเองก็ต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อแข่งขันกันในการนำเสนอโปรโมชั่น หรือข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพื่อให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าของตน"
“ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสนใจกับการค้นหาข้อมูลและเปรียบเทียบราคามากขึ้น ทำให้ในปีนี้ไพรซ์ซ่าเติบโตขึ้นกว่า188 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันมีผู้เข้ามาใช้บริการไพรซ์ซ่าเดือนละประมาณ 6 ล้านคน โดยสัดส่วนของผู้ที่เข้ามาใช้บริการของไพรซ์ซ่านั้นคิดเป็นผู้ชายร้อยละ 55 ผู้หญิงร้อยละ 45 ที่อยู่ในกลุ่มอายุระหว่าง 18-34 ปี นอกจากนี้ ผลสรุปการค้นหาสินค้าและบริการจากผู้บริโภคทั่วประเทศของเรา นับว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ดำเนินธุรกิจต่างๆ อย่างยิ่ง เพราะได้ชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้บริโภคสนใจอย่างแท้จริง รวมถึงชี้ให้เห็นพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้ทั้งผู้ที่กำลังดำเนินธุรกิจและเจ้าของธุรกิจหน้าใหม่ สามารถนำข้อมูลนี้ไปต่อยอด เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค” นายธนาวัฒน์กล่าวสรุป
เกี่ยวกับ Priceza
ไพรซ์ซ่า (Priceza) คือ เว็บไซต์ค้นหาสินค้าและเปรียบเทียบราคา อันดับ 1 ของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2553 ปัจจุบันมีผู้ใช้งานไพร์ซซ่ากว่า 6 ล้านคนต่อเดือน และได้ขยายธุรกิจไปยังอีก 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ เวียดนามไพรซ์ซ่ารวบรวมข้อมูลสินค้าจากร้านค้าชั้นนำที่หลากหลายที่สุด ไม่แบ่งแยกค่าย เราดึงดูดผู้บริโภคหลายๆล้านคนเข้ามาค้นหาสินค้า เปรียบเทียบราคาและความน่าเชื่อถือ และไพรซ์ซ่าส่งลูกค้าตัวจริงไปที่ร้านค้าโดยตรง และสามารถช่วยเพิ่มยอดขายจำนวนมากให้กับร้านค้า ภารกิจของเราคือ เรามุ่งนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับการช้อปปิ้งให้กับผู้ใช้ทั่วภูมิภาคเอเชียวันออกเฉียงใต้นี้ เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อสามารถใช้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ ช่วยให้ค้นหา เปรียบเทียบ และเลือกซื้อสินค้าได้อย่างสะดวกและรวดเร็วที่สุด
------------------------------------------------
และเตรียมพบกับคุณ ธนาวัฒน์ กับหัวข้อ
ในงาน Techsauce Summit 2016 สามารถลงทะะเบียนเพื่อจับจองที่นั่งกับงาน International Tech Conference ครั้งใหญ่สุดของไทยได้แล้วที่นี่
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด