Priceza เผยตัวเลขตลาด E-Commerce ไทยปี 2020 อาจพุ่งแตะ 220,000 ล้านบาท จากสถานการณ์ COVID-19 | Techsauce

Priceza เผยตัวเลขตลาด E-Commerce ไทยปี 2020 อาจพุ่งแตะ 220,000 ล้านบาท จากสถานการณ์ COVID-19

Priceza เผยตัวเลขมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2019 มีมูลค่า 163,300 ล้านบาท จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด19 (COVID-19)ในประเทศไทย ผลักผู้บริโภคหันมาช้อปปิ้งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขตลาดอีคอมเมิร์ซไทยอาจพุ่งสูงถึง 220,000 ล้านบาท โดยในปี 2020 มีอัตราการเติบโตสูงขึ้น 35% จากปีก่อนหน้า

นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ผู้ให้บริการ “Priceza” เครื่องมือค้นหาสินค้าและบริการเปรียบเทียบราคา ได้จัดงานแถลงข่าว “Priceza Virtual Conference สรุปภาพรวมตลาดอีคอมเมิร์ซไทย ปี 2019 และทิศทางปี 2020 ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ”  เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 ผ่านระบบ Online Conference รับกระแส Social Distancing ในประเทศไทย

ไพรซ์ซ่าชี้ข้อมูลตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีมูลค่าเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของตลาดค้าปลีกทั้งหมดในประเทศ ขณะเดียวกัน ประเทศที่มีมูลค่าอีคอมเมิร์ซมากที่สุดได้แก่ประเทศจีน 25 เปอร์เซ็นต์, ประเทศเกาหลีใต้ 22 เปอร์เซ็นต์ และประเทศอังกฤษ 22 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ หมายความว่า ถึงแม้คนไทยจะรู้สึกว่ากระแสการซื้อขายออนไลน์เป็นที่นิยม แต่หากดูจากสถิติประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ยังคงสามารถเติบโตได้อีกอย่างต่อเนื่อง

 เมื่อวิเคราะห์จากข้อมูล ETDA สัดส่วนมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยเฉพาะ B2C (Business-to-Consumer) และ C2C (Consumer to Consumer) ในปี 2019 มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยพบว่าช่องทาง E-Marketplace เป็นช่องทางที่ผู้บริโภคนิยมใช้ในการซื้อของออนไลน์ในสัดส่วนมากขึ้น จากปี 2018 อยู่ที่ 35% เติบโตมาเป็นสัดส่วนมากถึง 47% ในปี 2019 นอกจากนี้สัดส่วนของช่องทาง Social Media และ E-tailer/Brand.com มีมูลค่าลดลงตามสัดส่วน

ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2020 จากผลพวงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 (COVID-19) ได้ส่งผลให้เกิดความต้องการบริโภคกลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน และเครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มสูงขึ้นกว่า 29 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ย

เมื่อเจาะลึกสินค้าที่ในกลุ่มสุขภาพและความงาม พบว่า สินค้าที่มีปริมาณความต้องการมากที่สุดได้แก่ หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ เครื่องวัดอุณหภูมิ เจลล้างมือ สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ผู้คนต่างวิตกกังวลกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 จึงต้องการสินค้าที่ช่วยในเรื่องของการป้องกันเชื้อโรค ขณะเดียวกันมีกลุ่มสินค้าที่เพิ่มขึ้นแล้ว ก็ต้องมีสินค้าที่มีความนิยมลดลงเช่นกัน โดยสินค้าที่มีความต้องการลดลง ได้แก่ สินค้าหมวดเสื้อผ้าและแฟชั่น เนื่องจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด หลายบริษัทต้อง Work from Home ประชาชนต้องลดการออกไปในที่สาธารณะ จึงทำให้สินค้าประเภทนี้ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรองเท้ากีฬา เป็นสินค้าในหมวดที่ยอดความสนใจซื้อลดลงถึง 58 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

ไพรซ์ซ่า เราเป็นผู้ให้บริการ Multi-Channel E-commerce Platform ช่วยให้ธุรกิจออนไลน์สามารถเพิ่มยอดขายออนไลน์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติโควิด19 ได้มีบทบาทร่วมช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากมาตราการปิดห้าง-ศูนย์การค้า อาทิ เครือเซ็นทรัล (Central Online, Tops, Powerbuy) แม็คโคร Makro, Index Living Mall, HomePro , Advice, นายอินทร์ (Naiin), Sound Proof Bro และ Nadz โดยไพรซ์ซ่าได้ช่วยดันยอดขายออนไลน์ให้เติบโตขึ้นโดยเฉลี่ยมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ ทดแทนรายได้ออฟไลน์ที่หายไป 

สินค้าของผู้ประกอบการนอกจากจะปรากฎบนเว็บไซต์ไพรซ์ซ่าแล้ว ยังได้รับการโปรโมทไปกับพันธมิตรของไพรซ์ซ่า ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์รีวิวสินค้า, Youtubers, Facebook Influencers ต่างๆ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเพิ่มโอกาสขายสินค้าให้ได้มากขึ้น 

“จากนี้ต่อไป การขายอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) จะไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอดของธุรกิจค้าขายในยุคหลังโควิด-19” นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา กล่าว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เดินหน้าควบคุม Google ยื่นคำร้องขาย Chrome หวังสกัดการผูกขาดตลาด Search Engine

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เตรียมยื่นคำร้องต่อศาลให้ Google ต้องขายเบราว์เซอร์ Chrome แยกจากบริษัท หลังศาลตัดสินว่า Google ละเมิดกฎหมายการผูกขาดตลาด Search Engine...

Responsive image

TikTok ประกาศลุยสู่เป้าหมายเป็น 'บริษัทที่น่าเชื่อถือที่สุดในโลก' ท่ามกลางวิกฤตแบนสหรัฐฯ

Shou Zi Chew ซีอีโอ TikTok ประกาศเป้าหมายสู่การเป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือที่สุดในโลก ท่ามกลางกระแสแบนในสหรัฐฯ และความกังวลด้านความปลอดภัยข้อมูลในยุโรปและแคนาดา พร้อมลงทุนเสริมความปลอ...

Responsive image

Apple ยอมลงทุนเพิ่ม 10 เท่า สู่ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ หวังอินโดนีเซียปลดแบน iPhone 16

Apple เพิ่มข้อเสนอการลงทุนในอินโดนีเซีย หลังรัฐบาลแบน iPhone 16 เนื่องจากขาดการผลิตในประเทศ ขณะที่นโยบายเข้มงวดนี้อาจดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมท้องถิ่น...