ปตท. และ ร.ฟ.ท. ลงนามร่วมใน MOU เตรียมฟื้นโครงการลงทุน Smart City | Techsauce

ปตท. และ ร.ฟ.ท. ลงนามร่วมใน MOU เตรียมฟื้นโครงการลงทุน Smart City

บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ร่วมกันเซ็นลงนามใน MOU เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการ Smart City ใน 10 พื้นที่ วางลงทุน 360,000 ล้านบาท เน้นพื้นที่บางซื่อและเขต EEC

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2561 ที่ผ่านมา อนุมัติให้ ร.ฟ.ท.เซ็นบันทึกกรอบความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. เพื่อดำเนินการร่วมกันในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการขนส่ง โดยจัดซื้อหัวรถจักรและแคร่ขนส่งสินค้า พัฒนาโครงการสมาร์ทซิตี้ เป็นต้น

สำหรับสมาร์ทซิตี้ย่านบางซื่อ 2,325 ไร่ ร.ฟ.ท. เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP 30-50 ปี ใน 15 ปีแรก ลงทุน 358,700 ล้านบาท แบ่งพัฒนา 3 เฟส เฟสละ 5 ปี มีองค์การเพื่อความมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ศึกษาให้ กำหนดการพัฒนา 9 โซน ระยะสั้นลงทุน 40,100 ล้านบาท ระยะกลาง 167,100 ล้านบาท และระยะยาว 151,500 ล้านบาท

ใน 5 ปีแรก เริ่มโซน A 35 ไร่ ติดสถานีกลางบางซื่อ เปิดประมูลในปี 2562 จากนั้นโซน D จะสร้างทางเดินลอยฟ้าเชื่อมบางซื่อกับหมอชิตเก่า และโซน D ย่านตึกแดง 119 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ มีศูนย์การค้า โรงแรม สำนักงาน รองรับรถไฟฟ้าสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต จะเปิดในปี 2563

ส่วนนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โครงการ Smart City บางซื่อ ทาง ร.ฟ.ท. เป็นผู้ทำมาสเตอร์แพลน จะเปิดประมูล PPP ซึ่ง ปตท.ดูที่โอกาส เงื่อนไขประมูล ถึงจะตอบได้จะเข้าร่วมหรือไม่ ทั้งนี้ ปตท. เป็นพี่เลี้ยงโครงการนี้ให้กับ ร.ฟ.ท. โดยร่วมกับประเทศญี่ปุ่นศึกษาโครงการ Smart City ที่บางซื่อให้สำหรับ Smart City แนวรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ ดอนเมือง, สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา

ทาง ปตท. สนใจจะเข้าร่วมลงทุนภายหลังจากที่ได้ผู้ชนะประมูลแล้ว โดยสนใจการพัฒนา Smart City เนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงการในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นหลัก ดังนั้นการลงทุนก็ต้องสอดรับกับนโยบายรัฐด้วย ซึ่ง ปตท. ระบุว่าสามารถเจรจาได้ทั้งกลุ่ม C.P. และกลุ่ม BTS เรื่องการเข้าไปร่วมลงทุน

โดยผลศึกษาสมาร์ทซิตี้ 10 พื้นที่ของ ปตท. ใช้เวลาพัฒนา 10-15 ปี ลงทุน 362,843 ล้านบาท ประกอบด้วย เชียงรากน้อย, คลองหลวง, พหลโยธิน, แหลมฉบัง จ.ชลบุรี, ภูเก็ต, เชียงใหม่, เด่นชัย, หนองคาย, ขอนแก่น และแก่งคอย

อ้างอิงข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

BGRIM แต่งตั้ง “ทวีศักดิ์” ร่วมบอร์ด “พีรเดช” คุมรีนิวเอเบิล “นพเดช” ดูแลธุรกิจไทย “ศิริวงศ์” นั่ง CFO

บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 12/2567 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ได้มีมติเห็นช...

Responsive image

iNT Accelerate Platform ม.มหิดล รุกหนักก้าวกระโดด ตั้งเป้าขับเคลื่อนงานวิจั นวัตกรรมที่ใช้ได้จริง

หากจะโฟกัสวงการสตาร์ทอัพบ้านเรา ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ถือว่าเติบโตพร้อมพัฒนาอย่างก้าวกระโดดขึ้นเป็นอย่างมาก นับเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่ ก่อให้เกิดสตาร์ทอัพที่มีความหลากหลาย มาพ...

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...