กรมสรรพากร และ depa จัดงาน 'HACKATAX' ดึง FinTech startup ระดมสมองแก้ปัญหาด้าน 'ภาษี' | Techsauce

กรมสรรพากร และ depa จัดงาน 'HACKATAX' ดึง FinTech startup ระดมสมองแก้ปัญหาด้าน 'ภาษี'

กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ร่วมมือจัดกิจกรรม Hackathon ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ด้านภาษี ภายใต้ชื่อ #HACKATAX (แฮกกาแทกซ์) “#HACKATAX Thailand’s First Senior-level Hackathon” ภายใต้แนวคิด “Real experts. Real solutions. Real impact.” ขึ้นครั้งแรกในเมืองไทย ซึ่งเป็นการรวมพลคนดิจิทัล Senior-Level ของ Startup ชั้นนำมาเข้าร่วมระดมสมองนำเทคโนโลยีดิจิทัลดึงข้อดี แก้ปัญหา มุ่งพัฒนาบริการภาครัฐทางภาษีเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยได้เชิญ startup รุ่นใหญ่สาย FinTech ทำโจทย์ “ภาษีไทย ถูกใจประชาชน” โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 - 13 กันยายน 2562 ณ ลานกิจกรรม ชั้น 3 อาคารสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ลาดพร้าว

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรมีนโยบายในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ง่ายต่อการทำธุรกิจด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และได้รับความเป็นธรรม จึงได้ร่วมกับดีป้า จัดให้มีงาน #HACKATAX เพื่อตอบโจทย์ทำอย่างไรให้ภาษีเป็นเรื่องง่ายที่ภาครัฐและผู้ประกอบการเข้าใจและจับมือกัน

โดยเชิญผู้ประกอบการ Startup ที่ประสบความสำเร็จและกรมสรรพากร ได้มอบหมายเจ้าหน้าที่สรรพากรในระดับเชี่ยวชาญจนถึงระดับผู้อำนวยการเข้าร่วมเป็นทีมเดียวกัน เพื่อช่วยกันยกระดับความคิดและออกแบบโซลูชั่น ที่เหมาะสมเป็นประโยชน์ทั้งกับภาครัฐและผู้ประกอบการ สามารถนำไปพัฒนาต่อได้จริง ซึ่งกรมสรรพากรเชื่อว่าผลจากการนำเอาผู้เชี่ยวชาญ “Real Expert” จากทั้งฝั่งภาครัฐและผู้ประกอบการมาร่วมกันออกแบบวิธีแก้ปัญหา “Real Solution” นี้จะสร้างผลลัพธ์ที่ชัดเจน “Real Impact” ให้กับประเทศได้อย่างแท้จริง

ด้าน ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa กล่าวว่า กิจกรรมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ด้านภาษี #HACKATAX ถือเป็นปรากฎการณ์ใหม่สำหรับวงการเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งเป็นการบูรณาการกันครั้งแรกของหน่วยงานภาครัฐระหว่างดีป้า หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง เพื่อจัดกิจกรรมในลักษณะ Hackathon ซึ่งเป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อระดมความคิด ไอเดีย และความร่วมมือกันในการหาโซลูชั่น เพื่อแก้ปัญหาหรือโจทย์ต่างๆ

โดยโจทย์ในครั้งนี้ก็เป็นเรื่องการพัฒนาการบริการด้านภาษีแก่ประชาชนโดยเฉพาะ อีกทั้งผู้ที่จะมาเข้าร่วมแข่งขันนั้นจะไม่ใช่สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ แต่เป็นรุ่นใหญ่มากประสบการณ์ ที่จะสามารถตีโจทย์และสร้างไอเดียใหม่ที่พร้อมนำไปปรับใช้จริง สามารถย่นระยะเวลาการทำงานและพัฒนาบริการได้ และเกิดประสิทธิภาพในระบบภาษีของประเทศควบคู่กับการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาษีของภาครัฐได้อย่างตรงจุด

นอกจากนี้กรมสรรพากรและ depa จะได้มีการหารือร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการเปิดโครงการทดสอบทดลองเทคโนโลยี (Sandbox) ของกรมสรรพากร ซึ่งอาจเป็นช่องทางสำหรับผู้เข้าร่วม #HACKATAX ที่จะได้นำผลงานมาทดสอบทดลองในสภาพแวดล้อมจริงอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งตรงกับ Concept ของงานคือ “Real experts. Real solutions. Real impact.” ดร.เอกนิติ กล่าวเสริม

ทั้งนี้สำหรับกิจกรรมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ด้านภาษี #HACKATAX (แฮกกาแทกซ์) นั้นมุ่งเน้นการพัฒนาบริการภาครัฐที่จะเพิ่มความสะดวกแก่ประชาชน ลดความซับซ้อนในการใช้บริการทางภาษี โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 - 13 กันยายน 2562 ณ ลานกิจกรรม ชั้น 3 อาคารสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ลาดพร้าว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Gartner คาดการณ์ความท้าทายองค์กรยุค AI พนักงานอาจเจอปัญหาเสพติดดิจิทัล โครงสร้างองค์กรอาจเปลี่ยนไป

Gartner บริษัทวิจัย และให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เผยการคาดการณ์กลยุทธ์สำคัญสำหรับปี 2025 โดยชี้ให้เห็นว่า Generative AI กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญ และจะส่งผลกระทบต่อการทำงา...

Responsive image

จุดสีส้มบน iPhone และจุดสีเขียวบน Android หมายความว่าอย่างไร ?

รู้หรือไม่? จุดสีส้มบน iPhone และจุดสีเขียวบน Android บ่งบอกว่ากล้องหรือไมโครโฟนกำลังทำงาน ควบคุมความเป็นส่วนตัวของคุณด้วยเคล็ดลับง่ายๆ ที่ต้องรู้!...

Responsive image

สรุปอนาคตงานปี 2025-2030 จาก World Economic Forum งานไหนมาแรง ทักษะใดสำคัญ

World Economic Forum ออกรายงานประจำปีในหัวข้อ Future of Jobs Report 2025 เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดแรงงานในอนาคตโดยอ้างอิงข้อมูลจากนายจ้างกว่า 1,000 รายทั่วโลก ซึ่งเป็นตัวแทนของพ...