ChatGPT ทำพิษ Samsung แบนการใช้ AI หลังข้อมูลรั่ว เล็งสร้างใช้เอง | Techsauce

ChatGPT ทำพิษ Samsung แบนการใช้ AI หลังข้อมูลรั่ว เล็งสร้างใช้เอง

เมื่อบริษัทระดับโลกอย่าง Samsung ประกาศแบนเครื่องมือ AI ทุกค่าย หลังเดือนเมษายนที่ผ่านมาข้อมูลภายในที่สำคัญของบริษัทรั่วไหลไปยัง ChatGPT โดยไม่ได้ตั้งใจ บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่จึงกำลังจำกัดการใช้ AI เหล่านี้ 

ChatGPT ทำพิษ Samsung แบนการใช้ AI หลังข้อมูลรั่ว 

ทาง Samsung กำลังเตรียมแผนปิดกั้นการใช้เครื่องมือ Generative AI ชั่วคราวกับกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท อย่างคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และโทรศัพท์ รวมไปถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ดำเนินงานบนเครือข่ายภายในองค์กร แต่คำสั่งแบนนี้ไม่ได้สั่งห้ามเพียงแค่ ChatGPT เท่านั้น แต่รวมไปถึงเครื่องมืออื่น ๆ ที่มีความสามารถแบบเดียวกันด้วย เช่น Bing จาก Microsoft หรือ Bard จาก Google

แต่อย่าพึ่งตกใจไป การรายงานจาก Bloomberg การสั่งห้ามครั้งนี้มีผลแค่กับอุปกรณ์ที่ Samsung ออกให้แก่พนักงานของบริษัทเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าลูกค้าและผู้ใช้งานคนอื่น ๆ ที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์ แล็ปท็อป และอุปกรณ์เชื่อมต่ออื่นๆ ของ Samsung จะไม่ได้รับผลกระทบกับคำสั่งนี้ แต่ก็ยังคงไม่ชัดเจนว่าคำสั่งห้ามนี้มีผลบังคับใช้ไปแล้ว หรือจะมีผลเมื่อไหร่ โดยทาง Samsung ก็ไม่ได้ออกมาชี้แจงโดยตรง

Samsung เตรียมสร้าง AI ของตัวเองเพื่อใช้สำหรับงานภายใน 

รายงานจาก Bloomberg เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ข้อห้ามดังกล่าวจะมีผลชั่วคราว โดยจะมีผลจนกว่าจะทาง Samsung จะสามารถสร้าง “มาตรการรักษาความปลอดภัยที่ก่อให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัยในการใช้ AI ปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน” นอกจากนี้ Samsung บอกว่าบริษัทกำลังพัฒนาเครื่องมือ AI ภายในบริษัทของตนเอง เพื่อใช้สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์และการแปลภาษา

ChatGPT หรือแชทบอทอัจฉริยะจาก OpenAI ที่กำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก เพราะมันสามารถตอบคำถามได้หลากหลาย ตั้งแต่คำถามง่าย ๆ ไปจนถึงเรื่องธุรกิจและอีกมากมาย แต่ AI มากความสามารถนี้กำลังเผชิญกับอุปสรรคสำคัญ เช่น ความเสี่ยงที่จะทำข้อมูลสำคัญรั่วไหล อย่างกรณีของ Samsung ความเสี่ยง ที่ผู้ใช้งานอาจถูกละเมิดข้อมูลส่วนตัว ละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงการตอบกลับด้วยข้อมูลที่ผิด

ปัญหาที่ทาง Samsung พบ ตามรายงานของ Bloomberg กล่าวว่า การที่บริษัทอนุญาตให้พนักงานในแผนกพัฒนาชิป (DS) ซึ่งจัดการดูแลงานเกี่ยวกับ Semiconductor (สารกึ่งตัวนำที่ใช้ทำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) และจอแสดงผลใช้ generative AI ได้ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม แต่หลังจากพบว่าข้อมูลรั่วไหล Samsung จึงได้ห้ามพนักงานที่ใช้เครื่องมือ generative AI ตัวอื่น ๆ ส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทหรือข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจเปิดเผยทรัพย์สินทางปัญญาของทางบริษัท

หนึ่งในปัญหาที่ Samsung ตั้งข้อสังเกตก็คือ เป็นเรื่องยากที่จะ “กู้คืนและลบ” ข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ภายนอกและข้อมูลที่ส่งไปยังเครื่องมือ AI ดังกล่าวอาจถูกเปิดเผยต่อผู้ใช้รายอื่น จากการสำรวจภายในของ Samsung ในเดือนเมษายน ผู้มีส่วนร่วมใช้งานเครื่องมือ AI ดังกล่าวประมาณ 65% กล่าวว่า

การใช้เครื่องมือ generative AI นั้นมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

ธนาคารรายใหญ่ อย่าง Bank of America, Citi, Deutsche Bank, Goldman Sachs, Wells Fargo และ JPMorgan ก็เป็นอีกธุรกิจที่จำกัดการใช้ ChatGPT ของพนักงานเมื่อไม่นานมานี้

ทาง OpenAI ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาจากประเด็นที่ถกเถียงกัน เพื่อที่จะให้บริษัทใหญ่บางส่วนเลิกแบน ChatGPT ซึ่งล่าสุดอิตาลีก็ได้อนุญาตให้ ChatGPT กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง หลังจากที่ OpenAI เปิดเผยถึงแผนที่จะเพิ่มการการจัดการความเป็นส่วนตัวรูปแบบใหม่ 

ที่เกาหลีใต้ บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อื่น ๆ รวมถึง LG และผู้ผลิตชิปหน่วยความจำ SK Hynix ก็กำลังพยายามที่จะหาทางนำเครื่องมือ generative AI มาใช้ได้อย่างปลอดภัยด้วยเช่นกัน 

อ้างอิง: techcrunch

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

10 Tech Event ในเอเชีย ที่สายเทคฯ ธุรกิจ ไม่ควรพลาด ปี 2024

เพราะเทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง องค์กรจึงต้องหมั่นอัปเดตเทรนด์ความรู้ใหม่ ๆ วันนี้ Techsauce คัดสรร 10 งานประชุมเทคโนโลยีระดับเอเชีย ที่สายเทคไม่ควรพลาดในปี 2024 รวมไว้ในบทความเดียวก...

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

เปิดตัว Meta AI ใหม่ ถามได้ทุกเรื่อง สร้างภาพได้ทุกอย่าง ใช้ได้ทุกแอปฯ​ โซเชียลของ Meta

สำหรับ Meta AI เป็นแชทบอทที่เคยเปิดตัวให้เห็นครั้งแรกในงาน Connect 2023 ขับเคลื่อนด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) อย่าง Llama 2 แต่ล่าสุดได้มีการอัปเกรดไปใช้โมเดลภาษาใหม่ Llama 3...