SCB CIO คาดเฟดไม่ปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ คงไว้ที่ระดับ 5.00-5.25% เสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยเพิ่ม | Techsauce

SCB CIO คาดเฟดไม่ปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ คงไว้ที่ระดับ 5.00-5.25% เสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยเพิ่ม

SCB CIO คาดเฟดไม่ปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้คงไว้ที่ระดับ5.00-5.25%เสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มขึ้น หลังคุมเข้มปล่อยสินเชื่อแนะนักลงทุนเพิ่มสัดส่วนลงทุนพันธบัตรรัฐบาล-หุ้นกู้ Investment grade 

SCB CIOSCB CIO  ประเมินเฟด หยุดขึ้นดอกเบี้ยและคงไว้ที่ระดับ 5.00 - 5.25% ตลอดปี 2566  เฟดส่งสัญญาณชัดเจนมากขึ้น ความตึงเครียดภาคการเงิน  ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลง จากความเข้มงวดขึ้นในการปล่อยสินเชื่อ ที่จะมีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจการจ้างงานรวมถึงเงินเฟ้อ  ทำให้มีความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยที่เพิ่มขึ้น  SCB CIO แนะนำให้นักลงทุนป้องกันความเสี่ยง ด้วยการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และหุ้นกู้ระดับ Investment grade เพราะเป็นสินทรัพย์ที่ช่วยรับมือความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยได้ดีที่สุด

 ดร. กำพล  อดิเรกสมบัติ  ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment  Office  (SCB CIO ) เปิดเผยว่า  จากถ้อยแถลงของ คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ( FOMC)  ในการประชุมเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา  มีการเน้นเรื่องของเสถียรภาพและสุขภาพของระบบธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐ ฯ ว่ายังแข็งแกร่งและเริ่มดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงต้นเดือนมีนาคม แต่การปล่อยสินเชื่อ (credit conditions) ที่เข้มงวดอยู่แล้วจะเข้มงวดขึ้นอีก หลังได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ปิดธนาคารหลายแห่ง และจะมีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจการจ้างงานรวมถึงเงินเฟ้อ  

ที่ประชุม FOMC เน้นย้ำ ว่า ยังยึดมั่นกับการนำเงินเฟ้อกลับสู่ระดับ 2%   โดยนายเจอโรม พาวเวล   ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า การชะลอตัวลงของเงินเฟ้อ (disinflation process) ได้เริ่มขึ้นแล้ว แต่ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น (early stage) เท่านั้น การจะนำเงินเฟ้อ (Headline PCE ) ซึ่งเป็นเป้าหมายของเฟด กลับลงไปสู่ระดับ 2% ยังคงต้องใช้เวลาอยู่พอสมควร และงานของเฟดในการจัดการเงินเฟ้อยังไม่เสร็จ   อย่างไรก็ตาม ผลของดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มเห็นชัดในภาคการลงทุนและอสังหาริมทรัพย์ แต่ผลต่อเงินเฟ้อยังคงต้องติดตามกันส่วนความเสี่ยงของเงินเฟ้อที่มาจากค่าจ้าง เริ่มเห็นสัญญาณอัตราการเติบโตของค่าจ้างที่ชะลอลงบ้างแล้ว            

ทั้งนี้  การปรับนโยบายดอกเบี้ยหลังจากนี้จะพิจารณาจาก ผลสะสมของนโยบายการเงินที่ตึงตัวจากการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาและระยะเวลา (lags) ที่ผลของนโยบายการเงินจะมีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงิน  โดยเน้นว่าการตัดสินใจปรับนโยบายการเงินในแต่ละการประชุมจะเน้นรูปแบบ Data dependent พร้อมปรับเปลี่ยนเมื่อความเสี่ยงเข้ามาในระบบ โดยจะพิจารณาถึง ภาวะตลาดแรงงาน แรงกดดันและการคาดการณ์เงินเฟ้อ รวมถึงการเปลี่ยนแปลง ตลาดการเงิน ทั้งในและต่างประเทศ 

ในมุมมองของประธานเฟด ประเมินว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ น่าจะมีลักษณะ soft landing คือมีอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวและโตต่ำกว่าแนมโน้มปกติ (below trend growth) แต่ยังโตเป็นบวก โดยประธานเฟด เน้นว่ามุมมอง soft landing เป็นมุมมองส่วนตัวไม่ใช่ของทั้งคณะกรรมการ FOMC   โดย SCB  CIO  ประเมินเฟดหยุดขึ้นดอกเบี้ยและคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.00-5.25% ตลอดทั้งปี 2566  ยังคงมุมมอง Positive ต่อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และ slightly positive ต่อหุ้นกู้ Investment grade           

ดร. กำพล  กล่าวต่อไปว่า สัญญาณเฟด ชัดเจนมากขึ้น เมื่อความตึงเครียดในภาคการเงิน (Financial sector stress) จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงอย่างชัดเจน จากความเข้มงวดขึ้นของการปล่อยสินเชื่อ   ในการแถลงข่าว ประธาน เฟดระบุว่า มีการเรียนรู้บทเรียนที่เกิดขึ้นและจะมีการเข้ามาจัดการแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นอีก โดย SCB CIO ประเมินว่า การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง กฎระเบียบที่ใช้กับภาคธนาคารโดยเฉพาะธนาคารขนาดกลางและเล็กจะมีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นอีกในระยะข้างหน้า            

ตลาดยังคาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ยในครึ่งหลังของปี 2566 แต่ SCB CIO ยังคงมุมมองว่าการลดดอกเบี้ยมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากในปีนี้  เนื่องจากเฟด ยังให้น้ำหนักด้านเงินเฟ้อค่อนข้างมาก โดยในการแถลงข่าวประธานเฟด ระบุว่าการชะลอตัวของเงินเฟ้อเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปแต่ไม่เร็วพอ (steadily but not quickly) ที่จะทำให้สามารถลดดอกเบี้ยได้โดยเงื่อนไขของการหยุดขึ้นดอกเบี้ย จะมีการเปิดเผยในรายละเอียดการประชุม (minutes of meeting) ในอีก 3 สัปดาห์ข้างหน้าจะเป็นตัวชี้ชัดว่า การหยุดขึ้นดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และ Dot plot ที่จะเป็นตัวส่งสัญญาณชัดว่าเฟด จะมีการลดดอกเบี้ยหรือไม่อย่างไร จะมีการเปิดเผยในการประชุมครั้งถัดไป ในช่วงระหว่างวันที่13-14 มิถุนายนนี้             

ทั้งนี้  จากความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยที่เพิ่มขึ้น เราแนะนำให้นักลงทุนป้องกันความเสี่ยง (Hedge) ด้วยการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล (Positive) ในพอร์ต โดยจากการวิเคราะของ SCB CIO พบว่า ช่วงที่เศรษฐกิจมีความเสี่ยงถดถอยสูง (ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หรือ PMI <50 ลดลงต่อเนื่อง ) และเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง พบว่าสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนต่อความผันผวน (Risk-adjusted return) พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นสินทรัพย์ที่ช่วยรับมือความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยได้ดีที่สุด 

ตามมาด้วยหุ้นกู้คุณภาพสูง (Slightly Positive) แต่ยังคงมุมมองหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูง (High Yield)  เป็น Slightly Negative เนื่องจากส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนจากหุ้นกู้ High Yield เมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล ราคา หุ้นกู้ High Yield ลดลง หลังการปล่อยสินเชื่อมีความเข้มงวดสูงขึ้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สยาม เอไอฯ ได้รับ NVIDIA DGX Blackwell B200 รายแรกในอาเซียน

NVIDIA DGX Blackwell B200 เป็นหน่วยประมวลผลประสิทธิภาพสูงที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI ของ Siam.AI Cloud ทำให้สามารถรองรับการประมว...

Responsive image

Infineon เสริมแกร่งและกระจายฐานการผลิต ตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์แห่งใหม่ในประเทศไทย

Infineon Technologies AG ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ (Backend Production) แห่งใหม่ในจังหวัดสมุทรปราการ การลงทุนในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเพื่อเพิ่มประ...

Responsive image

Techsauce จับมือ KUMPUL เสริมแกร่งสตาร์ทอัพไทย-อินโดฯ สู่เวทีโลก

Techsauce และ KUMPUL ได้ร่วมลงนาม MOU อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2025 ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสตาร์ทอัพข้ามพรมแดนและนวัตกรรมระดับโลก ผนึกกำลังสร้างระบบนิเวศท...