ท่ามกลางความผันผวนจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น แรงกดดันเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขาขึ้นแบบเร็วและแรง การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอยในบางประเทศ โดย SCB CIO เชื่อว่าการกระจายการลงทุนไปสู่ประเทศที่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทนของ portfolio ได้ บทวิเคราะห์นี้ SCB CIO อยากชวนทุกคนมารู้จักเศรษฐกิจและตลาดหุ้นอินโดนีเซียมากขึ้นผ่าน 5 คำถามสำคัญ ได้แก่
อินโดนีเซียมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ในเอเชีย-แปซิฟิกและอันดับ 1 ในอาเซียน ซึ่งป็นเเศรษฐกิจที่พึ่งพาการใช้จ่ายในประเทศเป็นสำคัญ (Domestic demand-led growth) ต่างจากไทยและเวียดนามที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าและบริการที่มากกว่าอินโดนีเซีย โดยปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจอินโดนีเซียมาจากขนาดประชากรที่ใหญ่และกลุ่มชนชั้นกลางที่เติบโต นอกจากนั้น ยังมีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก ซึ่งจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนทางตรงต่อเนื่อง รวมถึงการลงทุนในธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสูงในอนาคน เช่น อุตสาหกรรม EV
การส่งออกกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ถ่านหิน น้ำมันปาล์ม และแร่ธาตุนิกเกิล เป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ที่ทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มเคลื่อนไหวตามวัฏจักรราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ผ่านการส่งออกและการลงทุนในประเทศต่อเนื่องมายังรายได้และการจ้างงานของครัวเรือนแต่ในระยะหลังนี้ปัจจัยนี้มีผลต่อเศรษฐกิจอินโดนีเซียน้อยลงเนื่องจากการเติบโตของกลุ่มชนชั้นกลางที่ช่วยประคับประคองการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศได้มากขึ้น รวมถึงการลงทุนของธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น จากที่เคยเน้นไปแค่อุตสาหกรรมการทำเหมือง
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของอินโดนีเซียโดยรวมในปัจจุบันยังถือว่าอยู่ในระดับที่ดี แนวโน้มในระยะ 3 ปีข้างหน้าก็ยังไม่น่ากังวล หากพิจารณาจาก
1) ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลในปีนี้และ 3 ปีข้างหน้าการขาดดุลอยู่ในระดับต่ำไม่เกิน 2% ของ GDP
2) หนี้ของภาครัฐและเอกชนอยู่ในระดับต่ำเป็น Buffer สำคัญที่จะช่วยรับมือในช่วงที่เกิดวิกฤต
3) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ค่าเงิน IDR ก็ไม่ผันผวนในทิศทางอ่อนค่ารุนแรงเหมือนในอดีต
4) แรงกดดันจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวจากประเทศชั้นนำกดดันต่อตลาดเงินอินโดนีเซียไม่มาก ผลจากต่างชาติถือครองพันธบัตรอินโดนีเซียในสัดส่วนต่ำ
5) เงินเฟ้อสูงยังไม่กดดันให้ธนาคารกลางอินโดนีเซียต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วและแรง ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการดูแลค่าครองชีพของรัฐบาล
ตลาดหุ้นอินโดนีเซียมีหุ้นกลุ่มการเงินเป็นกลุ่มที่มี market capitalization ใหญ่ที่สุด รองลงมามีการกระจายตัวอยู่ในกลุ่ม Consumer discretionary กลุ่มสื่อสาร กลุ่ม Material และ Consumer staples นอกจากนี้ มูลค่าตลาดยังกระจุกตัวอยู่ในหุ้น 10 บริษัทแรกซึ่งมีสัดส่วนอยู่ราว 50% ของมูลค่าตลาด คล้ายคลึงกับตลาดหุ้นเวียดนาม ขณะที่ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างกระจายตัวในหลาย sectors มากกว่า
โดยรวม SCB CIO มีมุมมองเป็น Slightly positive ต่อตลาดหุ้นอินโดนีเซีย มูลค่าตลาดหุ้นอินโดนีเซียยังมีความน่าสนใจ เนื่องจาก Forward P/E ที่ 15 เท่า สำหรับ JCI และ 14 เท่า สำหรับ MSCI-Indonesia ยังเป็นระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 5 ปี (-0.9 และ -1.4 SD ตามลำดับ) ขณะที่ Earning ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดี (เฉลี่ย 12-13% ในปี 2022-23) โดยเฉพาะกลุ่ม Large และ Mid Cap และหากเปรียบเทียบกับไทยและเวียดนาม อินโดนีเซียก็ยังคงน่าสนใจ ในแง่ของความผันผวนที่ต่ำกว่า ผลตอบแทนโดยรวมที่ดีกว่า และ Earning ใน 1-2 ปี ที่ยังเติบโตได้ดี
ในส่วนของ Sectors ที่น่าสนใจสำหรับลงทุนในตลาดหุ้นอินโดนีเซีย แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1) กลุ่มธุรกิจการเงิน กลุ่มสุขภาพ และกลุ่ม Consumer discretionary ที่ได้รับปัจจัยบวกจากการเติบโตของกลุ่มชนชั้นกลางและการขยายตัวของธุรกิจบริการ โดยเฉพาะธุรกิจ Platfrom
2) กลุ่มพลังงานและกลุ่ม Material ที่ได้อานิสงส์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังอยู่ในระดับสูง แต่ในระยะสั้นผลบวกเริ่มมีข้อจำกัดจากแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่กำลังเข้าสู่ระดับสูงสุด อย่างไรก็ตาม ในระยะกลาง การลงทุนในประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ EV น่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนในกลุ่ม Material
อ่านรายละเอียดฉบับเต็มได้ที่ SCB
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด