EIC ชี้ส่งออกไทย เดือนกุมภาพันธ์ ยังโตต่อเนื่อง ไร้ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน | Techsauce

EIC ชี้ส่งออกไทย เดือนกุมภาพันธ์ ยังโตต่อเนื่อง ไร้ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

จากผลกระทบจากสงครามในยูเครน EIC คาดว่า ยังไม่ส่งผลต่อการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 โดยการส่งออกในเดือนนี้ขยายตัว 16.2% เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 8% โดยหากพิจารณาเทียบกับเดือนมกราคม (ปรับผลของฤดูกาล)

EIC ชี้ส่งออกไทย เดือนกุมภาพันธ์ ยังโตต่อเนื่อง 12 เดือน ไร้ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

การส่งออกจะขยายตัว 4.4% (MOM, SA) สอดคล้องกับมูลค่าการส่งออกของประเทศสำคัญหลายประเทศทั่วโลก และดัชนีชี้นำกิจกรรมการผลิตทั่วโลกที่กลับมาเร่งตัวได้อีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ หลังชะลอตัวลงจากผลกระทบของโอมิครอนในเดือนมกราคม

EIC คาดทั้งส่งออก-นำเข้าไทยปี 2022 ขยายตัวจากปัจจัยด้านราคา

EIC คาดว่าการส่งออกและนำเข้าของไทยในปี 2022 จะขยายตัวได้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงก่อนหน้า แต่จะเป็นผลจากปัจจัยทางด้านราคามากกว่าปริมาณ ซึ่งจะแตกต่างจากสถานการณ์ในช่วงปี 2021 ที่เป็นผลจากการขยายตัวด้านปริมาณเป็นหลักตามการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก 

โดยในปีนี้ ปริมาณการส่งออกไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากผลของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่อาจทำให้อุปสงค์โลกชะลอตัว โดยเฉพาะในตลาดยุโรป อีกทั้ง ยังได้รับผลกระทบผ่านระดับราคาโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะสินค้าพลังงานและวัตถุดิบการผลิตที่สำคัญหลายชนิด ตามมาตรการคว่ำบาตรต่าง ๆ ต่อรัสเซียและความเสี่ยงต่อการชะงักงันด้านอุปทานที่เพิ่มขึ้น 

EIC ชี้ส่งออกไทย เดือนกุมภาพันธ์ ยังโตต่อเนื่อง 12 เดือน ไร้ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

คาดส่งออกยังขยายตัวในระยะข้างหน้าจากปัจจัยหนุนด้านราคา

มูลค่าการส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ขยายตัว 16.2% เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 8% ในขณะที่การนำเข้าสินค้าขยายตัว 16.8% ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 20.5% โดยถึงแม้ว่าดุลการค้าในเดือนนี้จะเกินดุล 123.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่เมื่อรวมกับข้อมูลในเดือนมกราคมจะยังคงขาดดุลที่ -2,403.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

โดยในเดือนนี้กระทรวงพาณิชย์ยังไม่ได้เปิดเผยข้อมูลการส่งออกและนำเข้ารายสินค้าในเดือนมกราคม เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงรหัสสถิติสินค้าตามพิกัดศุลกากร ซึ่งดำเนินการในทุก 5 ปี สำหรับการส่งออกสินค้ารายตลาด กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวมากที่สุดเป็น 5 ลำดับแรก ได้แก่ รัสเซีย (33.4%), อาเซียน 5 (31.5%), ฮ่องกง (29.8%), เกาหลีใต้ (28.9%) และสหรัฐฯ (27.2%)

การส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ยังไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามในยูเครน เนื่องจากสงครามเริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยการส่งออกในเดือนนี้ยังมีทิศทางขยายตัว โดยหากพิจารณาเทียบกับเดือนมกราคม (ปรับผลของฤดูกาล) การส่งออกจะขยายตัว 4.4% (MOM, SA) สอดคล้องกับมูลค่าการส่งออกของประเทศสำคัญหลายประเทศทั่วโลก และดัชนีชี้นำกิจกรรมการผลิตทั้ง Global Manufacturing PMI – Export Orders และ Manufacturing PMI ที่กลับมาเร่งตัวได้อีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 

หลังชะลอตัวลงจากผลกระทบของโอมิครอนในเดือนมกราคม ทั้งนี้การส่งออกของไทยอาจเริ่มเห็นผลกระทบจากสงครามในยูเครนในเดือนมีนาคม-เมษายน โดยเฉพาะการส่งออกไปยุโรป อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาข้อมูลการส่งออก 20 วันแรกของเดือนมีนาคมของเกาหลีใต้ก็จะพบว่ายังมีแนวโน้มที่ดีอยู่ 

EIC ชี้ส่งออกไทย เดือนกุมภาพันธ์ ยังโตต่อเนื่อง 12 เดือน ไร้ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

ส่งออก-นำเข้าของไทยในปี 2022 จะขยายตัวได้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงก่อนหน้า

แต่ขยายตัวจากปัจจัยทางด้านราคามากกว่าปริมาณ โดยจะแตกต่างจากสถานการณ์ในปี 2021 ที่เป็นผลจากการขยายตัวด้านปริมาณเป็นหลักตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การขยายตัวด้านราคาสินค้าส่งออกในปีนี้

จะเป็นผลจากระดับราคาสินค้าและโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะสินค้าพลังงาน จากผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน เนื่องจากรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกโภคภัณฑ์ที่สำคัญหลายชนิด เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โลหะอุตสาหกรรม และวัตถุดิบทางการเกษตร ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าและราคาส่งออกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในปีนี้ 

โดยถึงแม้เศรษฐกิจโลกในปี 2022 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งจะส่งผลต่อการชะลอตัวของอุปสงค์โลก รวมถึงการชะงักงันด้านอุปทานและมาตรการคว่ำบาตรต่าง ๆ ต่อรัสเซียที่อาจเริ่มเห็นถึงผลกระทบในช่วงเดือนมีนาคมหรือเมษายน แต่ปัจจัยด้านราคาที่สูงขึ้นยังเป็นปัจจัยหนุนที่สำคัญของการขยายตัวของการส่งออกไทยในระยะข้างหน้า

นอกจากนี้ ปีนี้มีปัจจัยบวกที่หนุนการส่งออกของไทยเพิ่มเติม คือความคืบหน้าในด้านการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างไทยและซาอุดีอาระเบีย โดยล่าสุดคณะกรรมการอาหารและยาของซาอุดีอาระเบียได้อนุญาตให้นำเข้าไก่จาก 11 โรงงานของไทยได้ โดยไทยจะเริ่มต้นส่งออกไก่ให้กับซาอุดีอาระเบียในต้นเดือนเมษายน 2022 

นอกจากนี้ ไทยยังมีโอกาสในการเจาะตลาดสินค้ากลุ่มอาหาร ยานยนต์และชิ้นส่วน และสินค้าอุปโภคและบริโภคต่าง ๆ ในซาอุดีอาระเบียในระยะต่อไป นอกจากนี้ การทำสนธิสัญญาการค้าระหว่างไทยและรัฐหรือเมืองต่าง ๆ ในอินเดีย จีน เกาหลี และญี่ปุ่น รวมถึงการทยอยเปิดการค้าชายแดนกับเพื่อนบ้านในอาเซียนก็จะเป็นปัจจัยหนุนการส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปีเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ EIC จะปรับประมาณการการส่งออกของไทย และตัวเลขประมาณการทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ และเผยแพร่ใน EIC Outlook ในปลายเดือนมีนาคมนี้ 

อ้างอิง EIC

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

3 การเปลี่ยนแปลงสำคัญในวงการ AI จากมุมมอง Andrew Ng ต่อ DeepSeek-R1

DeepSeek-R1 โมเดล AI ใหม่จากจีน กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในแวดวงเทคโนโลยี หลังเปิดตัวในรูปแบบ Open Weight ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนนำไปพัฒนาต่อได้ พร้อมประสิทธิภาพที่เทียบเคียงกับ Ope...

Responsive image

OR แต่งตั้ง 'หม่อมหลวงปีกทอง' เป็น CEO คนใหม่ เดินหน้าปั้นไทยสู่ศูนย์กลางธุรกิจน้ำมันในภูมิภาค

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ประกาศแต่งตั้ง หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) คนใหม่ พร้อมเปิดวิสัยทัศน์ขับเคลื่อนองค์กรผ่าน...

Responsive image

ธปท. ออก 3 มาตรการใหม่ กวาดล้างบัญชีม้า ปิดช่องโหว่ภัยมิจฉาชีพ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เดินหน้ายกระดับมาตรการป้องกันภัยทุจริตทางการเงิน โดยเฉพาะการจัดการบัญชีม้า เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการฉ้อโกงทางการเงิน...