ในปี 2568 โลกจะเริ่มเผชิญกับความท้าทายจากผลของนโยบายเศรษฐกิจภายใต้การนำของประธานาธิบ Donald Trump ที่เรียกว่า “Trump 2.0” ซึ่งถือเป็นการกลับมาใหม่ในเวอร์ชันที่มีอำนาจบริหารที่แข็งแกร่งกว่าเดิม ภายหลังจากการชนะเลือกตั้งครั้งล่าสุด เนื่องจาก Republican sweep ทั้งสภาบนและล่าง ท่ามกลางระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจสหรัฐฯ ที่อ่อนแอลงมาก
อย่างไรก็ตาม ทรัมป์จะต้องเผชิญกับบริบทโลกที่แตกต่างจากครั้งก่อนที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในหลายด้าน เช่น เศรษฐกิจโลกที่ยังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูงและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมถึงสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ซับซ้อนมากขึ้นจากสงครามในยูเครนและอิสราเอลที่อาจกระทบต่อประสิทธิภาพของนโยบายเศรษฐกิจใหม่ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจสร้างผลกระทบต่อการดำเนินนโยบาย Trump 2.0 ได้
ด้าน SCB EIC จึงออกมาประเมินว่า Trump จะดำเนินนโยบายชุดใหม่อย่างมีกลยุทธ์ โดยเร่งดำเนินนโยบายในประเทศตามที่หาเสียงไว้ แต่อาจไม่ได้ทำนโยบายกีดกันการค้าแบบสุดโต่ง
SCB EIC ได้ประเมินว่านโยบาย Trump 2.0 จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในหลายด้าน โดยเฉพาะในด้านการค้า การผลิต และการลงทุน โดยมองว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2568 จะขยายตัวต่ำลงเหลือ 2.5% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.8% จากผลกระทบหลักของนโยบาย Trump 2.0 ดังนี้:
จากผลของนโยบาย Trump 2.0 ที่จะกดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2568 SCB EIC ได้ปรับมุมมองเศรษฐกิจไทยลดลงเหลือ 2.4% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.6% ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในระบบการค้าโลก โดยเฉพาะจากมาตรการทางภาษีของสหรัฐฯ และการที่ไทยมีการค้ากับจีนและสหรัฐฯ ที่สำคัญ โดย SCB EIC ได้กล่าวถึงผลกระทบในมิติที่สำคัญดังนี้:
แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากนโยบาย Trump 2.0 แต่ SCB EIC ยังเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในปีหน้าอาจได้รับการกระตุ้นจากการใช้จ่ายภาครัฐและมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง รวมถึงการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัวจากการเพิ่มขึ้นของการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวรัสเซียและอินเดีย ที่มีโอกาสสูงกว่า 36 ล้านคนที่เคยประเมินไว้
SCB EIC ประเมินว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบ ธ.ค. นี้ ตามการสื่อสารของ กนง. ที่เน้นรักษา Policy space เพื่อบริหารความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจการเงินไทยในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี SCB EIC ประเมินว่า กนง. จะปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% อีกครั้งในการประชุมรอบเดือน ก.พ. 2568 เพื่อผ่อนคลายภาวะการเงินเพิ่มเติม เนื่องจากเศรษฐกิจโดยรวมและสินเชื่อยังคงชะลอตัวและเริ่มสร้างความกังวลมากขึ้น รวมทั้งเศรษฐกิจไทยจะมีความเสี่ยงด้านลบเพิ่มขึ้นจากนโยบาย Trump 2.0 ขณะที่ภาวะการเงินโลกในปีหน้าจะผ่อนคลายลงจากปีนี้ได้บ้าง ตามทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลัก ซึ่งจะเอื้อต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย
เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าเร็วจากดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ โดยอาจอ่อนค่าไปอยู่ที่ราว 34.80-35.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ หลังตลาดประเมินว่า Trump จะขึ้นภาษีนำเข้า และประเทศอื่น ๆ อาจตอบโต้กลับ ซึ่งจะทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นอีกราว 3-4% และกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าต่อ สำหรับปี 2568 เงินบาทอาจกลับมาแข็งค่าขึ้นจากภาวะ Risk-on ที่จะทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลกลับเข้าตลาดเอเชียและไทย รวมถึงทิศทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยมองกรอบเงินบาทอยู่ที่ราว 33-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี 2568
อ้างอิง SCB EIC
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด