SCBS เผย 6 ปัจจัยเขย่าธุรกิจหลักทรัพย์โลก ชี้ทางรอดต้องดัน ‘เทคโนโลยี’ ขับเคลื่อน | Techsauce

SCBS เผย 6 ปัจจัยเขย่าธุรกิจหลักทรัพย์โลก ชี้ทางรอดต้องดัน ‘เทคโนโลยี’ ขับเคลื่อน

บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ (SCBS) ชี้ธุรกิจหลักทรัพย์โลกเผชิญความท้าทายในการสร้างรายได้ หลังเจอ 6 ปัจจัยสำคัญที่ยากจะหลีกเลี่ยง ระบุบล.ไทยกำลังเจอความท้าทายแบบเดียวกัน จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนธุรกิจ พร้อมประกาศวิชั่น บล.ไทยพาณิชย์สู่กระบวนทัศน์ใหม่ของธุรกิจหลักทรัพย์ (SCBS New Paradigm 2020) ชูแนวคิด“Easy & Smart” สร้างความสะดวกสบายให้กับลูกค้าในทุกขั้นตอนตั้งแต่เปิดบัญชีจนถึงการซื้อขาย

SCBS

นายกัมพล จันทวิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) กล่าวว่าภาพรวมอุตสาหกรรมหลักทรัพย์โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจหลักทรัพย์ประกอบด้วย

 1) การแข่งขันที่รุนแรงและการปรับตัวลดลงของค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์ ร่วมกับสถานการณ์ตลาดทุนที่มีความผันผวนทำให้นักลงทุนเข้ามาซื้อขายหุ้นลดลง  

2) สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผล (Technology Disruption) ทำให้เกิดผู้เล่นหน้าใหม่ในอุตสาหกรรมหลักทรัพย์มากขึ้น ได้แก่ FinTech, Wealth Tech Players, AI and ROBO Technology Start-up Company 

 3) การวางแผนเกษียณสุข สืบเนื่องจากจำนวนประชากรสูงวัยที่มีชีวิตยืนยาวมากขึ้น ส่งผลทำให้ต้องการบริหารจัดการความมั่งคั่งเพื่อให้เพียงพอสำหรับชีวิตหลังเกษียณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยที่มีแนวโน้มแก่ก่อนรวย

4)  การเพิ่มขึ้นของผู้มีอันจะกิน หรือลูกค้าที่มีความมั่งคั่งสูงโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนซึ่งมีความต้องการบริการด้านการลงทุนแบบเฉพาะเจาะจงมากขึ้น (customized and personalized wealth advisory services)  

 5) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่น Millennials ที่มีความต้องการในการบริหารจัดการเรื่องต่างๆ ในชีวิตในรูปแบบ Real-time ผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Smartphone and mobile devices)   

และ 6) ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอ้างอิงกับพฤติกรรมความต้องการส่วนบุคคล (Need-based Basis) ปัจจัยต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นล้วนส่งผลกระทบไม่ทางตรงก็ทางอ้อมต่อทิศทางด้านการบริหารจัดการความมั่งคั่งของผู้ลงทุน

ทั้งนี้ ภาพรวมอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ในประเทศไทยกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกันกับของภูมิภาคและของโลก และพบว่าภายหลังจากการที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทและมีการพัฒนามากขึ้นส่งผลให้จำนวนสาขาของบริษัทหลักทรัพย์รวมทั้งอุตสาหกรรมมีการปิดตัวลงเพิ่มมากขึ้น 

ในขณะที่จำนวนของบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์มีการปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากความสะดวกในการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ และผ่านโครงการสร้างนักลงทุนหน้าใหม่ที่ตลาดหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์หลายที่ร่วมกันผลักดัน   อย่างไรก็ตาม พบว่าสัดส่วนของบัญชีที่มีการลงทุนสม่ำเสมอยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำกล่าวคือเฉลี่ยประมาณร้อยละ20 ในภาพรวมของทั้งตลาด

ส่วนที่มาของรายได้บริษัทหลักทรัพย์ยังคงมาจากธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ (Brokerage Business) กว่าร้อยละ 55 ส่วนที่เหลือมาจากรายได้ดอกเบี้ยรับจากบัญชีมาร์จิ้น และอื่น ๆ  อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าสนใจคืออัตราค่าธรรมเนียมนายหน้าค้าหลักทรัพย์เฉลี่ยของทั้งอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 0.09% จากอดีตที่อยู่ที่ระดับ 0.13%

นายกัมพล กล่าวว่า บล.ไทยพาณิชย์ตระหนักถึงการเข้ามาแทรกแซงของเทคโนโลยีพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงปรับตัววางกลยุทธ์เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ลูกค้าและสนับสนุนการออมและการลงทุนอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ (SCBS New Paradigm 2020) โดยการเน้นบริการที่สร้างความสะดวกสบายให้กับลูกค้าในทุกขั้นตอนของการใช้บริการตั้งแต่การเปิดบัญชีจนถึงการซื้อขาย ภายใต้แนวความคิด “Easy & Smart” มุ่งให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้า(ผู้ลงทุน) เป็นหลัก (Customers Journey) และเพื่อเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า  

นอกจากนี้ได้มีการลงทุนด้านไอทีอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับรากฐานทางเทคโนโลยีขององค์กร โดยมีการพัฒนาระบบลงทุนที่สามารถลงทุนได้ในทุกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น ตราสารอนุพันธ์, หุ้นต่างประเทศ, กองทุนต่างประเทศ, เงินตราต่างประเทศ, ตราสารอนุพันธ์ที่มีความซับซ้อน และสินทรัพย์ทางเลือก เช่น Private Equity เป็นต้น เพื่อส่งมอบประสบการณ์การลงทุนที่ทันสมัยให้กับลูกค้า

  รวมถึงวางตัวแอพพลิเคชั่น EASY INVEST ให้เป็นระบบการซื้อขายที่เข้าถึงง่ายตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าโดยในช่วงแรกสามารถซื้อขายกองทุนรวม และตราสารหนี้ ทั้งแบบ DIY และ Automated Service ได้แก่ Robo Advisor บริหารพอร์ตกองทุนรวมอัตโนมัติด้วยสมองกลอัจฉริยะ หรือ AI (Artificial Intelligence) เป็นรายแรกในไทยเพื่อให้ผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายการลงทุนได้ง่ายขึ้น และกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้รองรับผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น เช่น กองทุนรวมต่างประเทศ เป็นต้น

นอกจากนี้ บริษัทยังดำเนินการสร้างทีม Wealth Research เพื่อให้คำแนะนำด้านการลงทุนที่เป็นประโยชน์ ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ทางการเงินอีกด้วย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ (SCBS) ยังคงยืนหยัดที่จะพัฒนาการให้บริการเรื่องการลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับขึ้นเพื่อสามารถให้คำแนะนำในการวางแผนการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีในระดับมาตรฐานสากลพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเพื่อการเป็นผู้นำในการให้บริการด้านการลงทุน


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...