SCGP จับมือพันธมิตร ลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท ขยายฐานธุรกิจแพคเกจจิ้งในเวียดนาม | Techsauce

SCGP จับมือพันธมิตร ลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท ขยายฐานธุรกิจแพคเกจจิ้งในเวียดนาม

SCGP เชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค ผนึกความร่วมมือกับพันธมิตรเวียดนามเตรียมลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท สำหรับขยายธุรกิจและพัฒนาโซลูชันบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าหลากหลายอุตสาหกรรมในเวียดนาม 

คุณวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า ได้วางกลยุทธ์เสริมศักยภาพการเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน โดยนำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของ SCGP ผนึกความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการในแต่ละประเทศ เพื่อร่วมขยายธุรกิจ พัฒนาโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ พัฒนาบุคลากร สร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้า เพื่อรองรับตลาดผู้บริโภคที่เติบโต ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา SCGP ได้มีการขยายการลงทุนในเวียดนามอย่างต่อเนื่อง สร้างรายได้เติบโตเฉลี่ยกว่าร้อยละ 10  ต่อปี โดยในปี 2552 SCGP ได้ก่อตั้ง Vina Kraft Paper Co., Ltd. เพื่อเป็นฐานการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ด้วยกำลังการผลิต 5 แสนตันต่อปี เพื่อตอบสนองความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์และรองรับอุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเมื่อปี 2558 บริษัทได้เข้าลงทุนใน Tin Thanh Packing Joint Stock Company (BATICO) ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว (Flexible Packaging) รายใหญ่ 1 ใน 5 ของเวียดนาม และประสบความสำเร็จในการร่วมมือกันวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และขยายตลาดในเวียดนามรวมถึงตลาดส่งออก นำมาสู่การลงทุนขยายกำลังการผลิตอีกร้อยละ 17 หรือ 84 ล้านตารางเมตรต่อปี เพื่อตอบสนองความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เมื่อเดือนมกราคม 2564 ที่ผ่านมา SCGP ได้ขยายการลงทุนในเวียดนามด้วยการควบรวมกิจการ Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (หรือ SOVI) ผู้ผลิตชั้นนำด้านบรรจุภัณฑ์เมื่อเดือนมกราคม 2564 โดยเข้าถือหุ้นร้อยละ 94.11 มีกำลังการผลิตกระดาษลูกฟูกและกล่องลามิเนท (Offset Laminated Packaging) เพิ่มขึ้น 100,000 ตันต่อปี โดย SOVI มีรายได้กว่า 1,600 ล้านดอง (กว่า 2,200 ล้านบาท) 

และเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 SCGP ได้ลงนามสัญญาร่วมทุนใน Duy Tan Plastics Manufacturing Corporation (Duy Tan) ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบคงรูปในเวียดนามมีรายได้ประมาณ 6,100 ล้านบาท โดยมีฐานลูกค้าเป็นบริษัทข้ามชาติและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคแบรนด์ชั้นนำในเวียดนาม และเป็นผู้ผลิตภาชนะเครื่องใช้พลาสติกในครัวเรือนแบรนด์ “DuyTan” ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศเวียดนาม มีกำลังการผลิตประมาณ 116,000 ตันต่อปี คาดว่าการทำธุรกรรมเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 70 ครั้งนี้จะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2564

สำหรับการขยายการลงทุนในเวียดนามเป็นไปตามกลยุทธ์ของบริษัทที่ต้องการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ทั้งบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกและบรรจุภัณฑ์กระดาษ รวมถึงการพัฒนาทีมนักออกแบบในประเทศ พร้อมนำเสนอโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละรายให้ดีมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน SCGP พร้อมประสานความร่วมมือแบบบูรณาการกับพันธมิตรทุกราย เพื่อแลกเปลี่ยนถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ในการพัฒนาโซลูชันด้าน  บรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร  พร้อมทั้งจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตให้ดียิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนการเติบโตของลูกค้าในภูมิภาคอาเซียนที่มีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“การขยายฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำในเวียดนามทั้ง 3 โครงการ คาดว่าจะสร้างรายได้แก่ SCGP เพิ่มขึ้นประมาณ 8,500 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ได้เตรียมศึกษาการขยายกำลังผลิตกระดาษทางตอนเหนือของเวียดนาม เพื่อรองรับความต้องการใช้จากลูกค้าในประเทศและการขยายตลาดส่งออก ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามอีกด้วย” คุณวิชาญ กล่าว  





ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึก Sovereign AI สำคัญอย่างไร ? จากปาก Jensen Huang ในวันที่ ‘ข้อมูลไทย’ คือทรัพยากรใหม่

สำรวจบทบาทของ Sovereign AI ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พร้อมคำอธิบายจาก Jensen Huang CEO ของ NVIDIA เกี่ยวกับ AI ไทยและ Open Thai GPT ที่จะเปลี่ยนอนาคตของเทคโนโลยีในประเทศไทย...

Responsive image

สรุป 3 ความร่วมมือ Jensen Huang ร่วมงาน AI Vision for Thailand ไทยได้อะไรบ้าง ?

Jensen Huang เดินทางเข้าร่วมงาน AI Vision for Thailand จัดขึ้นโดย SIAM.AI CLOUD โดยได้เผยวิสัยทัศน์การขับเคลื่อน AI ในประเทศไทย ทั้งนี้ Siam.AI ได้เปิดตัวโครงสร้างพื้นฐาน AI ของ...

Responsive image

Apple เสนอลงทุนในอินโดฯ เพิ่ม 10 เท่า มูลค่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ สู้ปลดแบน iPhone 16

Apple ทุ่มสุดตัว! เพิ่มเงินลงทุนในอินโดนีเซีย 10 เท่า เป็น 1,000 ล้านดอลลาร์ จากเดิม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังข้อเสนอเดิมถูกปัดตก เป้าหมายปลดแบนการขาย iPhone 16 ในอินโดฯ ให้สำเร็จ...