WEF, BOT และ SEA จับมือเผยผลสำรวจ Entrepreneurship กับคนรุ่นใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Techsauce

WEF, BOT และ SEA จับมือเผยผลสำรวจ Entrepreneurship กับคนรุ่นใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • World Economic Forum, ธนาคารแห่งประเทศไทย และ SEA จับมือเผยผลสำรวจผู้ประกอบการและคนรุ่นใหม่ใน Southeast Asia ต่อยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม 4.0
  • การสำรวจทำบน Platform ของ SEA ซึ่งเข้าถึงคนรุ่นใหม่ทั้งผ่าน Gaming Platform, E-Commerce Platform และ Payment Platform
  • ผลสำรวจเผยคนไทยและคนสิงคโปร์มองว่าเทคโนโลยีจะทำให้ตำแหน่งงานลดลงมากที่สุดในภูมิภาค
  • คนไทยให้ความสนใจกับการเป็นเจ้าของกิจการมากที่สุดในภูมิภาค

SEA บริษัทไอทีผู้ให้บริการ Platform ด้าน E-Commerce, Gaming และ Payment ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จับมือกับ World Economic Forum และธนาคารแห่งประเทศไทย เผยรายงานผลสำรวจความเป็นผู้ประกอบการของรุ่นใหม่ในภูมิภาคอาเซียน 6 ประเทศ จำนวน 42,000 คน ซึ่ง Techsauce ได้สรุปเนื้อหารายงานให้ทุกท่านได้รับทราบกัน

คุณจัสติน วู้ด หัวหน้าฝ่ายเอเชียแปซิฟิก และสมาชิกสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) และคุณสันติธาร เสถียรไทย, Group Chief Economist, SEA

เริ่มที่มุมมองต่ออาชีพผู้ประกอบการของคนรุ่นใหม่ในภูมิภาคอาเซียน พบว่าประเทศไทยมีสัดส่วนความพึงพอใจต่ออาชีพผู้ประกอบการในระดับสูง อีกทั้งหลายคนที่ประกอบอาชีพอื่น ยังสนใจอยากเป็นผู้ประกอบการในระดับที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ซึ่งเมื่อเจาะดูที่ระดับการศึกษา พบว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีให้ความสนใจกับการเป็นเจ้าของธุรกิจมากที่สุดถึง 42 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีให้ความสนใจเป็นเจ้าของกิจการใกล้เคียงกับการทำให้กับหน่วยงานรัฐ

แม้มุมมองต่ออาชีพผู้ประกอบการในไทยจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่นับเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็ก เพราะผู้ที่อยากหันมาทำกิจการของตัวเองมากที่สุดคือ กลุ่มคนที่ทำงานกับ Startup และ SME ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของธุรกิจขนาดเล็ก

ในส่วนของความคิดเห็นต่อ Work-Life Balance และ Impact ในการทำงานนั้น แม้ว่าคนไทยจะอยากเป็นผู้ประกอบการมากที่สุด แต่คนไทยยังคงต้องการรายได้ที่มั่นคงเป็นสิ่งสำคัญที่คนไทยมองหาจากการทำงาน ส่วน Impact จากการทำงานนั้น คนไทยให้ความสนใจต่อการทำงานเพื่อสังคมน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่กระนั้นก็ไม่สามารถบอกได้ว่าคนไทยไม่ให้ความสนใจต่อสังคม ดังจะเห็นได้จากท่าทีของคนไทยเมื่อเกิดเหตุที่ต้องการน้ำใจ เช่น เหตุน้ำท่วมใหญ่หรือทีมฟุตบอลหมูป่าติดถ้ำ

ข้ามมาที่มุมมองต่อเทคโนโลยี คนรุ่นใหม่ในประเทศไทยโดยรวมมีมุมมองค่อนข้างหวั่นวิตก แต่หากแยกด้วยระดับการศึกษาแล้ว จะพบว่ากลุ่ม Undergraduate มีมุมมองที่ดีต่อเทคโนโลยี ส่วนกลุ่มที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปมองเทคโนดลยีในทางหวั่นวิตก

ด้านการศึกษาออนไลน์ ประเทศไทยมีการใช้งานด้านนี้ค่อนข้างมาก ซึ่งกลุ่มที่มองว่าตัวเองได้ประโยชน์ที่สุดคือกลุ่ม Undergraduate ส่วนกลุ่มระดับปริญญาตรีขึ้นไปมองว่ามีประโยชน์ไม่ต่างจากการศึกษาช่องทางอื่นๆ

โดยสรุปแล้ว ไม่ว่าจะมีมุมมองอย่างไร เทคโนโลยีก็ยังเข้ามาประชิดตัวคนทำงานในทุกระดับ ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่ต้องการ ส่วนพนักงานประจำไม่ว่าจะสนใจเป็นผู้ประกอบการหรือไม่ จำเป็นต้อง Reskill เพื่อเปิดรับเทคโนโลยีและรูปแบบการทำงานใหม่ๆ ในอนาคต

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

10 Tech Event ในเอเชีย ที่สายเทคฯ ธุรกิจ ไม่ควรพลาด ปี 2024

เพราะเทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง องค์กรจึงต้องหมั่นอัปเดตเทรนด์ความรู้ใหม่ ๆ วันนี้ Techsauce คัดสรร 10 งานประชุมเทคโนโลยีระดับเอเชีย ที่สายเทคไม่ควรพลาดในปี 2024 รวมไว้ในบทความเดียวก...

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

เปิดตัว Meta AI ใหม่ ถามได้ทุกเรื่อง สร้างภาพได้ทุกอย่าง ใช้ได้ทุกแอปฯ​ โซเชียลของ Meta

สำหรับ Meta AI เป็นแชทบอทที่เคยเปิดตัวให้เห็นครั้งแรกในงาน Connect 2023 ขับเคลื่อนด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) อย่าง Llama 2 แต่ล่าสุดได้มีการอัปเกรดไปใช้โมเดลภาษาใหม่ Llama 3...