ก.ล.ต. เผยแนวทางกำกับ ICO อนุญาตแลกเปลี่ยนเงินบาทกับ 7 Cryptocurrency | Techsauce

ก.ล.ต. เผยแนวทางกำกับ ICO อนุญาตแลกเปลี่ยนเงินบาทกับ 7 Cryptocurrency

หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะในประเด็นการกำกับดูแลทรัพย์สินดิจิทัล ล่าสุด เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน กลต. ก็ได้ประกาศแนวทางการกำกับดูแลทรัพย์สินดิจิทัล ซึ่งมีใจความสำคัญถึงการกำกับดูแล ICO และ Digital Currency โดยตรง

(ฟังมุมมองเรื่องกฎหมาย ICO จากบทสรุปเวทีเสวนา วิธีเลือก ICO น้ำดี ในวันที่บริบทกฎหมายไทยยังไม่ชัดเจนกับ Cryptocurrency”)

กลต. ระบุในแถลงข่าวว่าหลักเกณฑ์ที่จะออกมานี้จะช่วยให้มีความชัดเจนสำหรับผู้ต้องการออก ICO ตัวกลางที่เกี่ยวข้อง และผู้ทำธุรกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ช่วยลดโอกาสที่ประชาชนจะถูกหลอกลวงหรือถูกเอาเปรียบ รวมทั้งช่วยให้ภาครัฐมีเครื่องมือในการติดตามและป้องปรามการฟอกเงิน

สำหรับหลักเกณฑ์กำกับดูแลของ กลต. จะครอบคลุมการออก ICO ทุกรูปแบบที่ออกโดยบริษัทตามกฎหมายไทย มีแผนธุรกิจชัดเจน มีงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบ มีการเปิดเผย Source Code สำหรับใช้ในกระบวนการไอซีโอ มีหนังสือชี้ชวน มีการรายงานความคืบหน้าของโครงการและการใช้เงินเป็นระยะ และต้องผ่านการอนุมัติจาก กลต. ด้วย

ส่วนการเสนอขายต้องทำผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (เรียกว่า ICO Portal) โดยคุณสมบัติเบื้องต้นของ ICO Portal คือต้องเข้ามาดูแล ICO ไม่ต่ำกว่า 1 ปี และเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่ง ICO Portal จะทำหน้าที่คัดกรองโครงการ ทำความรู้จักตัวตนและสถานะผู้ลงทุน ตลอดจนประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน

ในส่วนของผู้ลงทุน ICO นั้น ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษสามารถลงทุนได้ไม่จำกัด ส่วนผู้ลงทุนรายย่อยสามารถลงทุนได้สูงสุด 300,000 บาทต่อ ICO ทั้งนี้ วงเงินรวมของผู้ลงทุนรายย่อยต้องไม่เกิน 4 เท่าของผู้ลงทุนสถาบันหรือต้องไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าที่เสนอขายทั้งหมด

... ยังกำหนดคุณสมบัติของนายหน้า ศูนย์ซื้อขาย และผู้ค้าทรัพย์สินดิจิทัลว่า ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีกระทรวงการคลังและต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่าที่คณะกรรมการ ... กำหนด

ทั้งนี้ ผู้ที่มีส่วนร่วมในตลาดทุกคนต้องจดทะเบียนกับ ... ภายใน 90 วัน (ภายในวันที่ 14 สิงหาคม 2018) และจะต้องได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังในการดำเนินธุรกิจด้านทรัพย์สินดิจิทัล โดยบริษัทที่ออก ICO ต้องเสียค่าธรรมเนียมล่วงหน้า 5 ล้านบาท ส่วนบริษัทนายหน้าต้องจ่ายค่าธรรม 2.5 ล้านบาท และผู้ค้าสินทรัพย์ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 2 ล้านบาท

สำหรับ Cryptocurrency ที่ ... อนุญาตให้แลกเปลี่ยนกับเงินบาท (Baht) และใช้ทำ ICO ประกอบด้วย 7 สกุลเงิน ได้แก่ bitcoin, bitcoin cash, Etherium, Etherium classic, Litecoin, Ripple และ Stellar ทั้งนี้ ... พิจารณาจากความน่าเชื่อถือของ Consensus และสภาพคล่องของเงินสกุลนั้นๆ

สำหรับแนวทางนี้ ไม่รวมถึงโทเคนดิจิทัลที่กำหนดสิทธิ์ในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการอย่างเฉพาะเจาะจง (Utility Token) ที่ผู้ซื้อสามารถนำใช้ประโยชน์ได้ทันที เช่น คะแนนสะสมจากร้านค้า ค่าเงินในเกม

นางทิพยสุดา ถาวรามร รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) กล่าวว่าหลักเกณฑ์ที่ออกมานี้ ได้พยายามหาจุดสมดุลระหว่างการสนับสนุนนวัตกรรม และการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้เกี่ยวข้อง โดยได้นำความเห็นจากทุกฝ่ายมาพิจารณา เกณฑ์ที่ออกมา อาจจะยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้จากของจริงไปด้วยกันระหว่างทางการและภาคธุรกิจ

ขอบคุณที่มาของข้อมูล ก.ล.ต. และ BangkokPost

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สรุปภารกิจนายกฯ บนเวทีโลก ในงานประชุม World Economic Forum 2025

นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยในงาน World Economic Forum (WEF) 2025 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-25 มกราคม 2025 ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในร...

Responsive image

อาเซียนร่วมใจ แสงแห่งความหวัง พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในเวทีโลก

ร่วมสำรวจเชิงลึกถึงศักยภาพ ความท้าทาย และวิสัยทัศน์ของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งกำลังก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในเวทีโลก ในการเสวนาหัวข้อ 'ASEAN: Even Stronger Together' หรือ อาเซียนยิ่งร่วมใ...

Responsive image

สรุป FTA ไทย-EFTA คืออะไร ? ส่งผลอย่างไรกับประเทศ ? และไทยจะได้จากข้อตกลงครั้งนี้ ?

ปี 2025 เป็นอีกปีที่ไทยได้เข้าร่วมงานประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส โดยในปีนี้ นายกฯ แพทองธาร ได้ไปปฏิบัติภารกิจสำคัญหลายอย่างทั้งการประชุมกับผู้นำโลก เผยแพร่ซอฟต์พาวเวอ...