จะเกิดอะไรขึ้น ? เมื่อ Shopee รุกตลาด Food Service ... | Techsauce

จะเกิดอะไรขึ้น ? เมื่อ Shopee รุกตลาด Food Service ...

เรียกได้ว่าเป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจ Food Service ซึ่งปัจจุบันก็มีผู้เล่นรายใหญ่ที่ครองตลาดหลายราย หนึ่งในนั้นที่มีธุรกิจด้านอาหารด้วย ซึ่งถือว่าเป็นรายใหญ่ที่กินรวบเกือบทุก sector ก็คือ Shopee ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม E-commerce ในเครือของ Sea Group

shopee

การเข้ามาในตลาด Food Sevice ของ Shopee นั้น ที่ผ่านมา shopee ได้มีการรีแบรนด์ Foody Thailand มาเป็น Shopee Foody TH  โดยหน้า Facebook page ได้มีการเปลียนชื่อ และรูปแบบของคอนเทนท์เมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา  สำหรับการรุกตลาด Food Service ของ Shopee ในครั้งนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่า Shopee เพิ่งจะลงมาเล่นหรือไม่ แต่จริงๆ แล้ว ทาง Sea Group ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ shopee นั้น ได้มีการลงทุนมาตั้งแต่ปี 2015 แล้ว

เดิม Foody เป็น Startup สัญชาติเวียดนาม ที่เป็นแพลตฟอร์มแนะนำร้านอาหาร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2012 ได้รับเงินระดมทุนรอบ seed จาก CyberAgent Capital เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2012 และต่อมาจากการที่ยอดผู้ใช้งานแพลตฟอร์มดังกล่าวได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว ทำให้ในปี 2013 ได้รับเงินลงทุน Series A จาก VC 3 รายด้วยกันได้แก่ CyberAgent Capital , GITPx และ  Pix Vine Capital และต่อมาในปี 2015 ได้รับเงินระดมทุนรอบ Series B จาก Garena เมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคม และในเดือนเดียวกันนั้นด้วยความดุเดือด และแนวโน้มการเติบโตที่สูงของ Foody ทำให้เนื้อหอมกับนักลงทุนเป็นอย่างมาก โดยได้รับเงินลงทุนรอบ Series C  จาก Tiger Global Management ในปลายเดือนกรกฎาคม และในที่สุดเดือนกรกฎาคม 2017 SEA Group ก็ได้ตัดสินใจควบรวมกิจการ Foody ด้วยเงิน 64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งก็ทำให้ Foody เองได้ขยายแพลตฟอร์มการชำระเงินผ่าน Airpay ซึ่งใช้ใน Application บริหารส่งอาหารอย่าง Now Delivery ที่ได้เปิดตัวในเวียดนามเมื่อปี 2014 ด้วย 

สำหรับ Foody ได้ขยายตลาดเข้ามาในประเทศไทยเปิดดำเนินการโดย บริษัท ฟู้ดดี้ เซอร์วิสเซส จำกัด ซึ่งดำเนินงานภายใต้ SEA Thailand Group ด้วยรูปแบบของสื่อออนไลน์ด้านอาหาร โดยจะมีทั้ง Facebook page ชื่อว่า Foody Bangkok , Instagram ชื่อว่า Foody.bkk, Youtube ชื่อว่า  Foody Thailand channel, website ชื่อว่า www.foody.co.th และในรูปแบบของ Application ที่สามารถรีวิวอาหารได้ทั่วประเทศไทย สามารถค้นหาร้านอาหารอร่อยได้ทั่วทุกมุม

และในขณะเดียวกันภายใต้การดำเนินของ บริษัท ฟู้ดดี้ เซอร์วิสเซส จำกัด  นั้นยังมีบริการ Food delivery อย่าง Now Delivery ด้วย แต่ด้วยการแข่งขันที่สูงและบริษัทแม่อย่าง Sea Group อาจจะมองว่าไม่คุ้มที่จะลงไปเล่นในตลาดที่เป็น Red Ocean ขนาดนี้ จึงตัดสินใจปิดให้บริการเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2562 ที่ผ่านมาหลังจากที่เปิดให้บริการได้เพียงแค่ประมาณ 1 ปีกว่าเท่านั้น ถึงแม้ว่าการขยายตลาดมายังประเทศไทยอาจจะไม่ได้ประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก แต่ปัจจุบันในเวียดนามนั้นยงคงครองส่วนแบ่งการตลาดลำดับต้น ๆ อยู่ดี 

shopee

อย่างไรก็ตาม การรีแบรนด์ Food Service ของ Shopee ในครั้งนี้ นอกจากจะปรับในส่วนของชื่อและรูปแบบของคอนเทนท์แล้ว ก็ได้มีการปิดบริการในส่วนของเว็ปไซต์เดิมของ foody ด้วย รวมถึงได้มีการต่อยอดการให้บริการจากการที่ที่ผ่านมา Shopee เองก็ได้มีการต่อยอดด้วยการจัดงาน Festival ด้วยแคมเปญ  Shopee Food Fair ซึ่งเป็นงานเทศกาลอาหารออนไลน์ที่แรกบน Feed ของ Application Shopee 

ดังนั้น Shopee กับตลาดนี้ถือเป็นหนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ที่ต้องจับตามอง จากการที่มีฐานลูกค้าค่อนข้างสูง และมีการ Collaborate กับ Partner ได้อย่างแข็งแกร่ง ตรงนี้ถือเป็นข้อได้เปรียบของ Shopee เป็นอย่างมาก

การแข่งขันในตลาดที่เป็น Red Ocean เช่นนั้นไม่ว่าผู้เล่นรายเล็กหรือรายใหญ่ ต่างก็ต้องมีการวางกลยุทธ์ที่แข็งแกร่ง และสามาถขยายฐานลูกค้า และบริการได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง ซึ่งก็ไม่แน่ว่าอาจจะผู้เล่นในตลาดนี้ต่างก็ตื่นตัวกันเป็นอย่างมาก โดยที่ผ่านมาหนึ่งเราก็ได้เห็นดีลใหญ่ของ Line Man ที่ได้ควบรวมกับ Wongnai และ  Exit ไปในเวลาเดียวกันไปแล้ว  หลังจากนี้ในวงการ food service ก็น่าจะมีเหตุการณ์ที่น่าสนใจให้ติดตามกันไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะยังมีแบงก์ ที่ได้ก้าวมาเป็นผู้เล่นในตลาดนี้ด้วยเช่นกัน

ข้อมูลจาก Crunchbase



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

WHA Group ผนึก ’Green Mobility‘ กลุ่มธุรกิจที่ 5 ตั้งธง 5 ปี รายได้ 1.5 แสนล้าน

WHA Group เปิดเผยว่า ปี 2568 มุ่งเน้นการเติบโตอย่างแข็งแกร่งใน 5 กลุ่มธุรกิจหลัก ครอบคลุมธุรกิจล่าสุดอย่าง Mobility โดยพัฒนาเป็นโซลูชันกรีนโลจิสติกส์ครบวงจรรายแรกในประเทศไทย ภายใต้...

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

‘HoriXon T8' ธุรกิจใหม่ใต้ปีก TIPH x BE8 สู่ฮับ AI-Powered Insurance ภูมิภาค

TIPH จับมือ BE8 เปิดตัว HoriXon T8 หรือ 'T8' บริษัท ฮอไรซอน ที 8 จำกัด เพื่อปฏิวัติ Insurance Ecosystem ให้อุตสาหกรรมประกันภัย ด้วย AI-Powered Digital Transformation...