สิงคโปร์เตรียมลดการสอบวัดผลในเด็ก สมุดพกไม่ระบุใครสอบได้ที่เท่าไหร่

กระทรวงศึกษาสิงคโปร์เตรียมลดการสอบวัดผลในเด็ก สมุดพกไม่ระบุใครสอบได้ที่เท่าไหร่

เมื่อไม่นานมานี้กระทรวงศึกษาธิการของประเทศสิงคโปร์พึ่งประกาศข่าวว่าปีหน้าจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบการวัดผลแบบใหม่ โดยจะเริ่มจากไม่มีการสอบในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ปัจจุบันประถมศึกษาปีที่ 1 ได้ยกเลิกไปแล้ว) และจะทยอยลดการสอบกลางภาคในระดับชั้นที่โตขึ้นอีกหลายชั้น โดยการวัดผลแบบใหม่จะดูที่พัฒนาการของเด็กตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ การทดสอบในห้องเรียน, การนำเสนอผลงาน หรือการทำโครงการร่วมกับเพื่อนๆ

เชื่อว่าความทรงจำวัยเด็กตอนได้รับสมุดพก แล้วเปิดมาว่าได้ที่ไม่ค่อยดี แทบไม่กล้าอยากเอาไปให้คุณพ่อ คุณแม่ดูเลยใช่ไหม ทั้งกลัว และอายเพื่อนๆ ด้วย ลองจินตนาการดูว่าเมื่อการสอบในเด็กๆ เริ่มลดลงไป สิ่งที่แสดงในสมุดพกก็จะไม่ใช่ข้อมูลที่คอยบอกว่าเด็กๆ จะสอบได้ที่เท่าไหร่ และเพื่อนๆ ก็ไม่เอามาล้อ หรือกดดันกัน

รูปแบบเดิมของสมุดพก

รูปแบบใหม่ที่ไม่มีการระบุว่าสอบได้ที่เท่าไหร่ของห้อง และชั้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ Ong Ye Kung บอกว่าการปรับเปลี่ยนครั้งนี้เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างความสนุกในการเรียนรู้และการศึกษาในขณะเดียวกันครูเองก็ต้องรีบเร่งกับการทำงานเป็นระบบ ทั้งเตรียมการสอน, เตรียมข้อสอบ, เตรียมตรวจข้อสอบ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรามีมาแต่ดั้งเดิม เมื่อกระบวนการเปลี่ยนแปลง จะทำให้คุณครูมีเวลามากขึ้นในการพัฒนาทักษะตัวเองและเตรียมเนื้อหาที่ดีให้กับเด็กๆ แทน

นอกจากนี้จาก Edusave Merit Bursary ซึ่งเป็นรางวัลแก่เด็กสิงคโปร์ที่ฐานะทางบ้านไม่ได้ร่ำรวย และเดิมวัดผลจากคะแนนของการเรียน จะปรับเปลี่ยนไปในรูปแบบอื่น เช่น วัดความพากเพียร ความช่างสงสัย/อยากรู้อยากเห็น การทำงานร่วมกับผู้อื่น และความกระตือรือร้น จากกิจกรรมการเรียนต่างๆ เป็นต้น

ที่มา : ChannelNewsAsia ภาพจาก Edutopia.org channel on youtube

ความคิดเห็นกองบรรณาธิการ

เราอาจจะไม่สามารถบอกได้ว่าวิธีและกระบวนการนี้จะสำเร็จมากน้อยแค่ไหน และเป็นเส้นทางที่ปฏิรูปวงการศึกษาได้จริงหรือไม่ แต่ต้องขอยกย่องประเทศสิงคโปร์ที่กล้าสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน เพราะถ้าเรายังเดิมตามระบบรูปแบบเดิมๆ ที่ฝังรากกันมาอย่างยาวนาน การทำอะไรแบบเดิมๆ ก็ย่อมได้ผลลัพธ์แบบเดิมๆ ที่เราเห็นอยู่ดี และเราก็ไม่เห็นทางออกว่าการวัดผลประสิทธิภาพเด็กจากการสอบเพียงอย่างเดียว จะช่วยทำให้เด็กเติบโตขึ้นมาในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่อย่างใด คนที่เรียนเก่งมาก ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในสังคมและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เสมอไป ทักษะเรื่อง Soft skill สำคัญยิ่งนัก และระบบเดิมก็ให้น้ำหนักกับ Hard skill เป็นอย่างมาก เด็กทุกคนมีความแตกต่าง มีจุดแข็งที่ไม่เหมือนกัน เรากำลังจับลิงไปว่ายน้ำ หรือกำลังให้ปลาปีนต้นไม้ แล้วเราวัดผลแบบนั้นอยู่หรือเปล่า? พวกเราผู้ใหญ่เคยผ่านระบบเหล่านี้มาแล้วทั้งนั้น ผู้อ่านคิดเห็นกันอย่างไร?

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

RML ตั้ง เบร็นตัน มอเรลโล นั่งเก้าอี้ CEO คนใหม่แห่งอสังหาชั้นนำฯ ลุยกลยุทธ์บุกตลาดโลก

บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ RML ผู้นำการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับลักชัวรี่ และอัลตร้าลักชัวรี่ชั้นนำของไทย ประกาศแต่งตั้ง เบร็นตัน จัสติน มอเรล ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานเ...

Responsive image

งานวิจัย Accenture ชี้พนักงาน 60% กลัวตกงานเพราะ Gen AI องค์กรควรปรับระบบให้ใช้ AI ได้เต็มประสิทธิภาพ

แม้พนักงานจะเห็นคุณค่าในการทํางานร่วมกับ Generative AI แต่เกือบ 60% กังวลว่าจะตกงาน ข้อมูลนี้มาจากรายงาน 'Work, work, workers: Reinvented in the age of generative AI' ของ Accentur...

Responsive image

KTB ตั้ง ‘กรุงไทย เวนเจอร์ส’ ลุยธุรกิจ Venture Capital

KTB แจ้งตลาดหลักทรัพย์เย็นวานนี้ว่า บริษัท กรุงไทยแอดไวซ์เซอรี่ จำกัด (KTA) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้น 99.99% และเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ได้จดทะเบียนจัดต...