ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เตรียมเปิดให้มีการจองวัคซีนซิโนฟาร์มรอบประชาชนผ่านแอปพลิเคชัน CRA SINOP ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2564 เวลา 08.00 น. โดยเน้นกระจายให้กลุ่มเสี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดก่อน ราคาเบื้องต้นอยู่ที่ 777 บาทต่อเข็ม ซึ่งยังไม่รวมค่าบริการทางการแพทย์ และกำลังมีการต่อรองเพิ่มเติมเพื่อลดราคาซึ่งจะได้ทราบกันภายในสัปดาห์นี้
การจองซิโนฟาร์มรอบประชาชนจะเปิดให้ดาวน์โหลดแอปฯ CRA SINOP เร็ว ๆ นี้ โดยล็อตแรกเปิดให้จองแค่ 40,000 รายเพื่อทดสอบระบบ แล้วจึงจะเปิดให้จองเพิ่มอีก 4-5 วันหลังการจองครั้งแรก โดยการจัดระยะเวลาการจองเป็นช่วง ๆ เป็นผลมาจากระยะเวลาการขนส่งวัคซีน เพื่อรักษาคุณภาพตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บและขนส่ง เพราะโรงพยาบาลหลายแห่งไม่ได้มีที่เก็บวัคซีนมากเพียงพอ
ช่วงแรกเปิดจองจำนวน 40,000 ราย สำหรับประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและอาศัยอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา สำหรับรอบอื่น ๆ จะมีประกาศต่อไป
วัคซีนซินโนฟาร์ม 1,554 บาท เข็มละ 777 บาท รับวัคซีน 2 เข็มและได้ร่วมบริจาคครึ่งโดสให้กับผู้ด้อยโอกาส ซึ่งอัตราดังกล่าวรวมค่าประกันผลข้างเคียงแล้ว แต่ยังไม่รวมค่าบริการฉีด และค่าบริการทางการแพทย์
การจองจำกัด 1 สิทธิ์ต่อ 1 บัญชีหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือ เลขที่หนังสือเดินทาง
การจองในแอปพลิเคชันบนมือถือเครื่องเดียวกัน สามารถล็อคอินได้มากกว่า 1 บัญชีผู้ใช้งาน
ผู้ที่จองวัคซีนซิโนฟาร์ม จะต้องสละสิทธิ์การรับวัคซีนในภาวะฉุกเฉินตามรัฐธรรมนูญมาตรา 47
บุคคลอายุ 18 ปีที่ไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน
กรณีปกปิดข้อมูลการรับวัคซีนต่างชนิดหรือใช้วัคซีนเพื่อการกระตุ้นภูมิก่อนเวลาที่เหมาะสม ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะไม่รับผิดชอบผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม และการประกันไม่คุ้มครองการรักษาพยาบาลที่เกิดจากอาการข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน
ขอสงวนสิทธิ์ในการรับเปลี่ยนหรือคืนวัคซีนทุกกรณี ภายหลังจากที่ผู้จองสิทธิ์ได้ชำระเงินเรียบร้อยแล้ว
สำหรับประชาชนทั่วไป เมื่อจองวัคซีนผ่านแอปฯพร้อมชำระเงินเรียบร้อยแล้ว จะสามารถไปฉีดได้ที่โรงพยาบาลเอกชนหรือโรงพยาบาลรัฐ อย่างโรงพยาบาล IMH ที่ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในสถานพยาบาลฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มรอบประชาชนทั่วไปของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
สามารถเข้ารับวัคซีนในโรงพยาบาลที่กำหนดตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2564
วัคซีนทั้งสองยี่ห้อนี้เป็นวัคซีนสัญชาติจีน ผลิตจากเชื้อตาย โดยซิโนแวคผลิตโดยบริษัทเอกชนของจีน ส่วนซิโนฟาร์มผลิตโดยรัฐวิสาหกิจของจีน ซึ่งก่อนหน้านี้มีการพูดกันว่า สามารถฉีดซิโนแวคเข็มที่ 1 และ ฉีดซิโนฟาร์มเป็นเข็มที่ 2 ได้ แต่กลุ่มนักวิชาการต่างประเทศแนะนำให้ทำเฉพาะในสถานการณ์จำเป็น โดยแอชลีย์ เซนต์จอห์น นักภูมิคุ้มกันวิทยาในสิงคโปร์ ระบุว่า ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ยังอยู่ระหว่างการศึกษาว่าการฉีดเข็มที่1 และ 2 ต่างกัน แบบใดดีที่สุด และฉีดห่างกันมากน้อยแค่ไหนได้ผลดีที่สุด
นอกจากนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ยังเผยว่า ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการจองวัคซีนทางเลือกยี่ห้ออื่น ๆ เพื่อที่จะนำมาใช้เป็นวัคซีนกระตุ้นภูมิเพิ่มเติม
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด