Slingshot เปิดผลสำรวจ 50 ผู้บริหาร อะไรคือสิ่งที่ CEO คาดหวังในปี 2565 ? | Techsauce

Slingshot เปิดผลสำรวจ 50 ผู้บริหาร อะไรคือสิ่งที่ CEO คาดหวังในปี 2565 ?

อะไรคือสิ่งที่ CEO คาดหวังในปี 2565 ? ถือเป็นประเด็นสำคัญ จากการที่บริษัท สลิงชอท กรุ๊ป บริษัทที่ปรึกษาทางด้านการพัฒนาบุคลากรและองค์กรชั้นนำของประเทศไทย ได้จัดสัมภาษณ์กลุ่มพิเศษเจาะลึกผลสำรวจกลยุทธ์ด้านการบริหารคนและองค์กรจาก 50 CEOs ชั้นนำของประเทศไทย ประจำไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 ที่จะเผยข้อมูลเชิงลึกและมุมมองของผู้นำองค์กรชั้นนำต่อเทรนด์และรูปแบบการบริหารคนและองค์กรในยุคปัจจุบัน

Slingshot เปิดผลสำรวจ 50 ผู้บริหาร อะไรคือสิ่งที่ CEO คาดหวังในปี 2565 ?โดย ดร. สุทธิโสพรรณ ช่วยวงศ์ญาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มสลิงชอท
ได้เผยถึง ผลการสำรวจ “The Q1/2022 Slingshot Top 50 CEOs Survey : อะไรคือสิ่งที่ CEO คาดหวังในปี 2565” โดยมีใจความสำคัญดังนี้

ดร. สุทธิโสพรรณ ช่วยวงศ์ญาติกลยุทธ์เรื่องการบริหารคน และองค์กร ปี 2565 โดยบทเรียนจากปี 2564 ทำให้ CEO  หลายคน มองว่าการทรานส์ฟอร์มองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ โดย สิ่งที่ CEO ต้องเปลี่ยนคือ

1.เรื่องของ Mindset เรียนรู้ที่จะอยู่กับความไม่แน่นอน ทำยังไงที่จะรับมือกับความไม่แน่นอนได้ อีกทั้งการมองระยะสั้นเป็นเป้าหมายแรก ๆ 

2. มองมนุษย์เป็นศูนย์กลาง 

3. บทเรียนสุดท้ายคือ เทคโนโลยีดิจิทัลไม่ใช่เพียงเทรนด์ 

ทั้งนี้รายงานนี้ระบุ 7 เทรนด์ด้าน "กลยุทธ์เรื่องการบริหารคนและองค์กร" ที่ผู้นำและผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยที่ควรคำนึงถึงในปี 2565 

มี 7 เทรนด์ที่กลุ่มผู้นำองค์กรควรให้ความสนใจ ได้แก่

1.เศรษฐกิจจะเติบโต ด้วยกำลังและทักษะแรงงานที่จำกัด 

โดย 51% ของ CEO คาดว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2565 นี้จะดีขึ้นผ่านการมองปัจจัยบวกหลายด้าน ทั้งเรื่องของวัคซีน และการเปิดประเทศ และประเด็นสุดท้ายคือในแง่ของการท่องเที่ยว ธุรกิจท่องเที่ยวเริ่มที่จะกลับมารวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเพื่อการส่งออก อาทิ เสื้อผ้า ที่มีการจองกำลังการผลิตไปจนถึงสิ้นปี ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น 

แต่ทั้งนี้บทเรียนจากความไม่แน่นอน อาทิ การขาดแคลนแรงงาน ต้นทุนที่สูงขึ้น ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ให้คำนึงถึง แต่ทั้งนี้จึงสรุปได้ว่าแม้จะเติบโตแต่ไม่ง่าย เพราะยังเจอกับความท้าทายอยู่ 

ฉะนั้น 51% ของ CEO คาดว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2565 นี้จะดีขึ้นแต่จะเกิดการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะที่จำเป็นครั้งใหญ่ที่สุดที่เราเคยเห็นในศตวรรษที่ผ่านมา จึงอาจจะเกิดการแย่งชิงแรงงานข้ามอุตสาหกรรม

2. ยุทธศาสตร์ที่ผู้นำต้องโฟกัสจริงจัง คือ "ทรานส์ฟอร์มองค์กรให้สำเร็จเสียที" 

โดย 47% ของ CEO มองว่าสิ่งที่ขัดเจนกับเป้าหมายหลัก ในการนำเทคโนโลยีมาช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง โดยจุดโฟกัสในเรื่องของการทรานส์ฟอร์มต่อจากนี้ไป คือ 

ทั้งนี้ People Transformation Model แบ่งออกเป็น

1. ทรานส์ฟอร์มระดับองค์กร - ทั้งโครงสร้าง ลำดับชั้น SPAN OF CONTROL อัตรากำลัง และ SKILL ของพนักงาน

2.ทรานส์ฟอร์มกระบวนการทำงาน - ที่สอดคล้องกับโครงสร้างที่เปลี่ยนไป และมากกว่ากระบวนการผลิตในโคงงาน ซึ่งกระบวนการทำงานเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานที่อาจเป็น ROUTINE หรือ กระบวนการที่ต้องใช้ทักษะความชำนาญที่ซับซ้อนในการทำงาน

3.ทรานส์ฟอร์มเทคโนโลยี - ระบุโอกาสในการนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการทำงานที่เป็น ROUTINE 

4.ทรานส์ฟอร์มคน และวัฒนธรรมองค์กร - เพื่อช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าใจ มีทัศนคติ ทักษะและพฤติกรรมที่ลดแรงต้านที่เกิดขึ้น พร้อมสนับสนุนให้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและคงอยู่ในองค์กรในระยะยาวได้

แต่ทั้งนี้ 33% ของ CEO มองว่าการสรรหา และรักษาบุคลากรที่มีความสามารถและมีทักษะที่จำเป็นต่ออนาคตขององค์กร จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญที่จะช่วยทำให้การทรานส์ฟอร์มองค์กรประสบความสำเร็จ 

3. การทำงานแบบไฮบริดจะกลายเป็นวิธีการทำงานหลักขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานในสำนักงาน แต่ผู้นำหลายคนยังคงคาดหวังให้คนกลับมาทำงานที่สำนักงาน 

100% ของ CEO มองว่า ยังคงต้องการความคิดสร้างสรรค์ และการประสานการทำงานอย่างร่วมมือ ฉะนั้นเทรนด์ในเรื่องของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการทำงานแบบไฮบริดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นองค์กรต้องรีบอัพเดตตัวเอง เพื่อเตรียมความพร้อมและหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาช่วยในการทำงาน

แต่ทั้งนี้มีเพียง 10% ของ CEO ที่เห็นถึงผลกระทบอย่างมากของ Metaverse ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการบริหารคนในช่วงเวลาอันใกล้นี้ เพราะยังไม่เห็นการนำมาใช้งาน แต่ก็ไม่ควรที่จะตกเทรนด์

4. การสร้างประสบการณ์ให้พนักงาน (Employee Experience) จะเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงานแบบไฮบริดให้สำเร็จ 

โดย 33% ของ CEO มองว่า การเห็นคุณค่างานที่ทำ (Meaningful Work) เป็นสิ่งที่สร้างประสบการณ์ที่สำคัญให้กับพนักงาน เพราะฉะนั้นองค์กรในเมืองไทยมักพูด Purpose ขององค์กรค่อนข้างเยอะ เพื่อฉายภาพการสร้างประโยชน์ให้กับบุคคลรอบตัว และใช้ตัวนี้เป็นอุดมการณ์ร่วมให้พนักงานมีสิทธิ์ที่จะคิด และทำงานให้สร้างสรรค์และดำเนินสู่ปัจจัยเหล่านี้

และสิ่งที่ CEO ทั้ง 50 คนมองขาดคือ การสร้างประสบการณ์ให้พนักงาน เห็นว่างานที่จะมาร่วมทำว่ามีคุณค่าขนาดไหน ดังนั้นหากทำให้คนเห็นค่าของงานและตอบโจทย์คน GEN Z เห็นคุณค่าขององค์กร และเห็นว่าเป็นงานที่ทำเพื่อระยะยาวจะช่วยให้องค์กรแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้  

5. กลยุทธ์เรื่อง "คน" จะถูกทบทวนครั้งใหญ่อีกครั้ง และธุรกิจยังถูกขับเคลื่อนโดยคนเป็นหลัก 

จากนี้เป็นต้นไป ผู้นำองค์กรไทย ต้องเปลี่ยนจาก SAT หรือการนั่งเฉย ๆ เป็น ACT หรือการลงมือทำ ทักษะ ความสามารถ และพฤติกรรมที่มุ่งเน้นที่ "คน" มาเป็นอันดับแรก รับรองความสำเร็จของธุรกิจ 

จากการสำรวจพบว่า 60% ของ CEO มองว่า แนวทางการบริหารที่มุ่งเน้นที่ "คน" มาเป็นอันดับแรกเพื่อรับรองความสำเร็จของธุรกิจ คือ ความเป็น "ผู้นำ" ที่บริหารแบบร่วมมือกับ

นอกจากนี้เชื่อว่าในปี 2565 การมุ่งเน้น การพัฒนา PowerSkills จะทวีความสำคัญ และทุกองค์กรจะหันมาทบทวนรูปแบบความเป็นผู้นำเพื่อระบุว่า PowerSkills และทักษะความเป็นผู้นำแบบไหนที่เหมาะสมกับธุรกิจ

โดยผู้นำหลักโควิดต้องบริหารแบบมีส่วนร่วม ดังนี้

1.Articulate ผู้นำที่จะสื่อสารและอธิบายเป้าหมาย และกลยุทธ์ให้ทุกคนเข้าใจและเห็นภาพร่วมกัน คิดเป็น 20% ของความสำคัญของบทบาทผู้นำในปี 2565

 2. Connect แนวทางการบริหารที่เน้นการมีส่วนร่วม การร่วมมือ คิดเป็น 60% ของความสำคัญของบทบาทผู้นำในปี 2565

3.Trust วัฒนธรรมในการทำงาน เป็นแบบไว้เนื้อเชื่อใจ รวมทั้งการมอบหมายหน้าที่และอำนาจการตัดสินใจ คิดเป็น 20% ของความสำคัญของบทบาทผู้นำในปี 2565

6 ทักษะความเป็นผู้นำแห่งปี 2565 ที่น่าจับตามอง

1.ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 

2.กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และสื่อสารทีมให้เข้าใจตรงกัน

3.สื่อสารพูดคุยอย่างสร้างสรรค์ ตรงไปตรงมา 

4.ใช้ประโยชน์จากการเมืองภายในองค์กรอย่างถูกต้อง เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม

5.สร้างสัมพันธภาพทั้งภายในและนอกองค์กร

6.กระจายอำนาจการตัดสินใจและความเป็นผู้นำในทุกระดับ

6. People Analytics จะถูกนำมาใช้ในทุก ๆ แง่มุมทางธุรกิจ โดย CEO 100% บอกว่า

 โดย CEO 100% บอกว่า People Analytics จะถูกนำมาใช้ในทุก ๆ แง่มุมทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นแผนกฝ่ายขาย การตลาด การเงิน แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลด้านคนกลับถูกมองว่าล้าหลังในการใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์และตัดสินใจ ซึ่งภาพแห่งความสำเร็จที่ CEO อยากเห็นคือ เราควรรู้ทุกสิ่งที่เราควรรู้เกี่ยวกับพนักงานแต่ละคนเพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้น เช่น ฝ่ายทรัพยากรบุคคลควรตั้งสมมุติฐานให้ได้ 

7.Diversity and Inclusion ยังเป็นจุดบอดในองค์กร และสังคมไทย 

จากการทำสำรวจพบว่า CEO ถึง 50% เชื่อว่าองค์กรของเขาทำเรื่องความหลากหลาย เท่าเทียมและการมีส่วนร่วมในองค์กรได้เป็นอย่างดี

เมื่อสัมภาษณ์เจาะลึกพบว่าทำได้ดีระดับไหน จากระดับที่น้อยที่สุดคือ 1 ไปจนถึงมากที่สุดคือ 4 พบว่า 98% ของ CEO ตอบว่าองค์กรของตนทำเรื่องนี้อยู่เพียงระดับผิว ๆ คือ 1 หรือ 2 เท่านั้น 

โดยตามโมเดล 4 ระดับ การสร้างความหลากหลายและการมีส่วนร่วมในองค์กร คือ

ระดับ 1 เน้นเรื่องความหลากหลาย ผ่านการป้องกันการล่วงละเมิด ซึ่งงานนี้เป็นความรับผิดชอบของฝ่ายบุคคล 

ระดับ 2 จัดให้พนักงานได้พูดคุยอย่างเปิดเผยถึงปัญหาอุปสรรคในการทำงานใต้ทีมที่มีความหลากหลาย โดยมีทีมงานที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะทำงานร่วมกับฝ่ายบุคคลและ CEO 

ระดับ 3 นำเรื่องความหลากหลายและการมีส่วนร่วมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางธุรกิจ และมีการวัดผลอย่างชัดเจน รวมไปถึงการสื่อสารในเรื่องนี้ในองค์กรอย่างโปร่งใส

ระดับ 4 มีการนำนโยบายเรื่องของความหลากหลายและการมีส่วนร่วม เข้าไปใช้ในระบบนิเวศวิทยาทางธุรกิจทุกระดับและทุกกระบวนการ

จากการสำรวจ 50 CEOs ชั้นนำของประเทศไทย ประจำไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 สรุปได้ 3 ประเด็น คือ 

1. "คน" และ "เทคโนโลยี" เป็นสิ่งที่ต้องไปคู่กันสำหรับการทรานส์ฟอร์มองค์กร

2. ถึงเวลาครั้งสำคัญแล้วที่องค์กรต้องกลับมาดูในเรื่องของการใช้ "Data" มาทบทวน "กลยุทธ์เรื่องคน" ที่ใช่สำหรับอนาคต

3. ทักษะความเป็นผู้นำ และ PowerSkills จะยิ่งทวีความสำคัญ 

ทั้งนี้จากผลงานวิจัยที่สัมภาษณ์ CEO มาจากหลากหลายอุตสาหกรรม และค่อนข้างหลากหลายตั้งแต่ Banking, Finance, Startup, Food service โดยจะอยู่ใน Leader Ecosystem ของ สลิงชอท และหมวดธุรกิจที่มีความไม่มีมั่นใจที่เศรษฐกิจจะเติบโต คือ ธุรกิจที่เกี่ยวกับร้านอาหาร เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป 

ดังนั้นการใช้หรือทำงานกับคนเยอะ ๆ จะไม่มั่นใจ แต่ส่วนที่ทำเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพและเทคโนโลยีนั้นเติบโตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งบรรดา CEO มองว่าเศรษฐกิจประเทศไทยจะดีขึ้น 30% ในไตรมาส 3 ปี 65 และทุก ๆ อุตสาหกรรมเริ่มมองหาเทคโนโลยีที่จะทำให้สามารถบริหารจัดการคนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ Nike เผย 3 สิ่งที่ทำบริษัทพลาดมาตลอดจนทำให้ไนกี้ไม่เหมือนเดิม

ปลายปี 2024 ที่ผ่านมา Nike เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั่นคือ การลาออกของ John Donahole ในตำแหน่งซีอีโอ และได้ลูกหม้ออย่าง Elliott Hill ที่เริ่มทำงานกับ Nike มาอย่างยาวนานขึ้นมารับ...

Responsive image

กูเกิลปรับนิยาม "Googleyness" ใหม่ ซีอีโอเน้นกล้าคิด กล้าทำ มีเป้าหมาย เป็นคุณสมบัติที่มองหา

"Googleyness" คำที่เคยใช้อธิบายความเป็นกูเกิล ได้รับการปรับความหมายใหม่ในปี 2024 โดย Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลเอง เพราะที่ผ่านมาคำนี้ค่อนข้างกว้างและไม่ชัดเจน ในการประชุม Pich...

Responsive image

ญี่ปุ่นคิดค้น ‘เครื่องอาบน้ำมนุษย์’ อาบและเป่าแห้งเพียง 15 นาที

หมดข้ออ้างขี้เกียจอาบน้ำแล้ว บริษัท Science Co. ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตหัวฝักบัวจากญี่ปุ่น ได้เปิดตัว “เครื่องซักมนุษย์แห่งอนาคต” หรือ Mirai Ningen Sentakuki...