SoftBank บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ผู้ก่อตั้งกองทุน Vision Fund ที่เน้นลงทุนในกิจการสตาร์ทอัพ ซึ่ง Masayoshi Son ผู้ก่อตั้งและ CEO ได้ออกมาแถลงรายงานผลประกอบการไตรมาส 1/2022 ซึ่งเป็นการปิดปีงบประมาณ FY 2021 ว่าได้ประสบปัญหาขาดทุนมากที่สุดในประวัติการณ์กว่า 2.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ สาเหตุหลักจากกองทุน Vision Fund โดยมีบริษัทในพอร์ทกว่า 450 บริษัท ซึ่งปัจจุบัน Vision Fund มีการลงทุนทั้งหมด 2 กองย่อย ได้แก่
โดยการลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 4/2021 SoftBank ยังได้ทำเครื่องหมายสินทรัพย์ที่เป็นของเอกชนบางส่วนในภาคส่วนต่างๆ เช่น ผู้บริโภค ฟินเทค และการขนส่ง ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียกว่า 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐสําหรับปีงบประมาณล่าสุด ขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลง จนมูลค่าต่ำกว่าครึ่งหนึ่งนับตั้งแต่เดือนมีนาคม และหุ้นในกลุ่มปิดตัวลง 8% ก่อนที่ผลประกอบการร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบสองเดือน
ผลการประกอบการของ SoftBank ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและกฎระเบียบการกำกับดูแลของประเทศจีนที่เข้มงวดสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี จนบริษัทสตาร์ทอัพขนาดใหญ่ได้พ่ายแพ้ไป อย่างเช่น Didi ยักษ์ใหญ่ด้านบริการเรียกรถของจีนที่ถูกไล่ออกจากร้านค้าอย่างเป็นทางการของจีน ซึ่งได้สูญเสียมูลค่าหุ้นไปครึ่งหนึ่ง และ KE บริษัทอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์ของจีน รวมถึง Coupang แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของเกาหลีใต้ ซึ่งมูลค่าตกลงไปประมาณ 40%
อย่างไรก็ตาม Masayoshi Son ได้สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนว่าภาระหนี้ของกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีนั้นสามารถจัดการได้ และเขากำลังใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างออกไปเพื่อปรับตัวให้เข้ากับตลาดที่ผันผวน เขาได้กล่าวว่าเป็นผลมาจากปัจจัยในการประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่มีการเติบโตสูง อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่คาดการณ์ไว้ ไปจนถึงการรุกรานยูเครนของรัสเซีย
ทั้งนี้ Son ยืนยันว่าฐานะทางการเงินของบริษัทยังแข็งแกร่ง มีมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด (NAV หรือ net asset value) ราว 18.5 ล้านล้านเยน (ประมาณ 5 ล้านล้านบาท) และมีอัตราส่วนหนี้ต่อมูลค่า (LTV หรือ loan to value) ที่ 20.4% ซึ่งบริษัทรักษาสัดส่วนหนี้ให้ไม่เกิน 25% มาโดยตลอดช่วง 3 ปีหลัง และรายได้ในปี FY 21 ก็เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วโดยมีมูลค่าประมาณ 4.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
โดยบริษัทจะปรับการดำเนินงานให้มีความอนุรักษ์นิยมมากขึ้น ปรับยุทธศาสตร์การลงทุนมาเป็น "เชิงรับ" (defense) และการลงทุนหลังจากนี้จะอยู่ใน "โหมดป้องกัน" ซึ่งหมายถึงจะลดการลงทุนเริ่มต้นมากกว่าครึ่งหนึ่งหรืออาจเหลือแค่ ¼ ในปีงบประมาณนี้ (FY 2023) และจะเข้มงวดในหารพิจารณาการลงทุนสำหรับธุรกิจในประเทศจีนมากขึ้น และหนึ่งในแผนปรับปรุงสถานะทางการเงินคือจะปรับใช้เงินลงทุนในสตาร์ทอัพในกลุ่มประเทศ Emerging Market มากขึ้น แต่จะลงทุนอย่างระมัดระวัง เช่น อินเดีย เพิ่มขึ้นจาก 3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้วเป็น 5 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้
SoftBank พยายามรับมือกับการขาดทุนครั้งนี้ โดยตั้งความหวังไว้กับข้อตกลงกับ Arm ผู้ผลิตชิปของสหราชอาณาจักร ซึ่ง SoftBank กำลังวางแผนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq หลังจากการล่มสลายของการขายให้กับผู้ผลิตชิป Nvidia ซึ่งมีมูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัญ แม้แผนจะล่าช้าเนื่องจากแรงกดดันจากหน่วยงานกํากับดูแลในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ทั้งนี้ SoftBank เคยบันทึกการขาดทุน 5.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากที่เลิกกิจการกองทุนป้องกันความเสี่ยงภายใน SB Northstar ซึ่งอยู่เบื้องหลังการซื้อขาย "Nasdaq whale" ที่มีชื่อเสียง ซึ่งวางเดิมพันอนุพันธ์ในหุ้นเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ทำให้ตลาดตกตะลึงมาแล้วในปี 2020
อย่างไรก็ตามไม่ใช่แค่เพียง SoftBank ที่กำลังประสบปัญหาในช่วงนี้แต่เพียงลำพัง เพราะ Tiger Global Management ก็เป็นอีกหนึ่งนักลงทุน VC ที่บาดเจ็บเช่นกันโดยมีความเสียหายมูลค่า กว่า1.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ จากการสนับธุรกิจกลุ่มสนุนสตาร์ทอัพเช่นกัน และยังมี VC อีกหลายรายที่ขาดทุนจากสภาพแวดล้อมทางสังคม เศษฐกิจ และการเมืองเช่นนี้ จึงเป็นที่น่าจับตามองว่าปัญหาการขาดทุนมูลค่ามหาศาลของ Softbank ผู้นำการลงทุนชั้นนำในเอเชียจะเป็นสัญญาณของสูญเสียของวงการ VC หรือไม่
อ้างอิง: SoftBank, pitchbook, Financial Times
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด