ภาคอุตสาหกรรมและวิชาการในเกาหลีใต้กำลังเสนอแผนการจัดตั้ง KSMC (Korea Semiconductor Manufacturing Company) บริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์แห่งใหม่ โดยนำรูปแบบจาก TSMC ของไต้หวันมาใช้ เพื่อแก้ปัญหาและความท้าทายที่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศกำลังเผชิญอยู่
แนวคิดนี้ถูกเปิดเผยในงานสัมมนาที่จัดโดย National Academy of Engineering of Korea (NAEK) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบนิเวศที่สมดุลระหว่าง บริษัทผู้รับจ้างผลิตชิป (foundry) และ บริษัทออกแบบชิป (fabless) ผ่านการกระจายกระบวนการผลิตที่หลากหลาย ทั้งเทคโนโลยีขั้นสูงและเทคโนโลยีรุ่นเก่า
ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าการลงทุนใน KSMC มูลค่า 20 ล้านล้านวอน หรือประมาณ หรือประมาณ 540,000 ล้านบาท อาจสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ถึง 300 ล้านล้านวอน หรือประมาณ 8.1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2045 ครงการนี้จะช่วยสนับสนุนบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ขนาดเล็ก ซึ่งปัจจุบันหลายแห่งยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงระดับต่ำกว่า 10 นาโนเมตรของ Samsung เป็นหลัก
ศาสตราจารย์ควอน ซอก-จุน (Kwon Seok-jun) จาก Sungkyunkwan University กล่าวว่า “ไต้หวันมีระบบนิเวศที่สมดุล โดยมีบริษัทอย่าง UMC และ PSMC ที่มุ่งเน้นการผลิตด้วยเทคโนโลยีรุ่นเก่าและระดับกลาง ซึ่งเป็นการเสริมทัพให้กับ TSMC ที่เชี่ยวชาญด้านการผลิตขั้นสูง ช่วยให้บริษัทออกแบบชิปกว่า 250 แห่งสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในเมืองซินจู” และเสริมว่า “KSMC ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ก็สามารถเข้ามามีบทบาทแบบเดียวกันในเกาหลีได้เช่นกัน”
อย่างไรก็ตามมีข้อกังวลว่า KSMC ซึ่งเป็นบริษัทของรัฐจะสามารถรับมือกับกระบวนการผลิตขั้นสูงได้หรือไม่ ซึ่งควัก โน-จุง (Kwak No-jung) ซีอีโอของ SK Hynix ได้เสนอแนวทางในการปรับปรุงโรงงานผลิตรุ่นเก่าของ Samsung มาใช้ในโครงการนี้
ในงานสัมมนาคณะกรรมการยังได้ระบุถึงความท้าทายสำคัญที่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เกาหลีใต้กำลังเผชิญอยู่ ได้แก่
แนวทางการแก้ไขที่เสนอคือ ต้องสร้างระบบนิเวศของเซมิคอนดักเตอร์ให้แข็งแกร่ง, เพิ่มการลงทุนในด้าน R&D และการดำเนินนโยบายเพื่อดึงดูดและรักษา Talent
และ อัน คี-ฮยอน (Ahn Ki-hyun) จากสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ได้เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนของการลงทุน พร้อมเสนอให้รัฐบาลสนับสนุนด้วยเงินลงทุน 300 ล้านล้านวอน ผ่านเงินอุดหนุนและสิทธิประโยชน์ทางภาษี ภายในปี 2047 เพื่อรักษาความเป็นผู้นำด้านเซมิคอนดักเตอร์ของเกาหลีใต้
นอกจากนี้ เขายังเรียกร้องให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในนโยบายการทำงาน 52 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ของเกาหลี โดยอ้างอิงจากความคิดเห็นของวิศวกร TSMC ที่กล่าวว่า การพัฒนาที่รวดเร็วบางครั้งจำเป็นต้องใช้เวลาทำงานที่นานมากขึ้น
Kwak ได้สรุปว่า ควรเปลี่ยนจากการสนับสนุนบริษัทขนาดใหญ่แบบ "trickle-down" ไปเป็นการสนับสนุนแบบ "fountain effect" ที่เน้นการลงทุนโดยตรงในบริษัทขนาดเล็กที่ผลิตวัสดุ ชิ้นส่วน และอุปกรณ์ ซึ่งจะช่วยขยายระบบนิเวศทั้งหมดให้เติบโตผ่านการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันด้าน R&D
โครงการนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเกาหลีใต้ในการรักษาตำแหน่งในเวทีการแข่งขันเซมิคอนดักเตอร์โลก พร้อมทั้งแก้ไขจุดอ่อนเชิงโครงสร้างในอุตสาหกรรมของประเทศ
อ้างอิง: koreabizwire
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด